SHARE

คัดลอกแล้ว

พฤติกรรมผู้บริโภคในปัจจุบันที่ให้ความสนใจในการรักษาสุขภาพมากขึ้น การเข้าสู่สังคมสูงวัย และการที่ภาครัฐส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตยาเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของภาครัฐ (New S-curve) ทำให้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า หนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิตมนุษย์อย่าง ‘ยารักษาโรค’ กลายเป็นอุตสาหกรรมที่น่าจับตามองไม่น้อยเลยทีเดียว

ข้อมูลจากวิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุศรีอยุธยา ระบุว่า ในปี 2562 ตลาดยาในประเทศไทยมีมูลค่ารวม 1.84 แสนล้านบาท ขยายตัว 4.2% จากปีก่อนหน้า มีขนาดตลาดใหญ่เป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรองเพียงอินโดนีเซียเท่านั้น

หากมองลึกเข้าไปในภาคของการผลิตยา อุตสาหกรรมยาแผนปัจจุบันของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นปลาย คือ การผลิตยาสำเร็จรูป โดยยาที่ผลิตได้ในประเทศเป็นยาชื่อสามัญ (Generic drug) ซึ่งผู้ผลิตจะนำเข้าวัตถุดิบตัวยาสำคัญจากต่างประเทศมาผสมและผลิตเป็นยาสำเร็จรูปในรูปแบบต่างๆ

ที่น่าสนใจคือ ไทยนำเข้าวัตถุดิบยาสัดส่วนสูงประมาณ 90% ของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาสำเร็จรูปทั้งหมด โดยกลุ่มยาที่มีมูลค่าการผลิตสูงสุด ได้แก่ กลุ่มยาแก้ปวด/แก้ไข้

จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ระบุว่า ไทยมีโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันที่ได้การรับรองมาตรฐานการผลิต (Good Manufacturing Practice: GMP) จำนวน 144 แห่ง (ข้อมูล ณ กุมภาพันธ์ 2563) และในจำนวนนี้ไม่เกิน 5% สามารถผลิตวัตถุดิบตัวยาสำคัญได้เอง ซึ่งนำมาใช้ในการผลิตยาสำเร็จรูปของโรงงานตนเองเป็นหลัก

สำหรับการวิจัยค้นคว้าพัฒนายาตัวใหม่ในประเทศไทย มีเฉพาะการคิดค้นวัคซีน ที่สำคัญเช่น วัคซีน HIV วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดนก/ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

โดยผู้ผลิตยาในไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

1.หน่วยงานของรัฐ ได้แก่ องค์การเภสัชกรรม และโรงงานเภสัชกรรมทหาร เน้นเน้นผลิตยาชื่อสามัญ และจำหน่ายในประเทศ เพื่อทดแทนยานำเข้าจากต่างประเทศ

2.บริษัทยาเอกชน ซึ่งแบ่งออกเป็นบริษัทยาเอกชนของคนไทย เน้นผลิตยาชื่อสามัญทั่วไป และมีราคาไม่สูง ส่วนอีกกลุ่มคือบริษัทยาของต่างชาติ ถือหุ้นส่วนใหญ่โดยต่างชาติ เป็นตัวแทนนำเข้ายาต้นตำรับหรือยาจดสิทธิบัตรมาจำหน่ายในราคาที่ค่อนข้างสูง และมีบางรายเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยาสำเร็จรูป

การแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการผลิตยาในไทยนั้นรุนแรงมากขึ้น หลังจากที่ พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ส.ค.2560 ระบุให้องค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในฐานะเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น

ซึ่งส่งผลทำให้โรงพยาบาลรัฐไม่จำเป็นต้องซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมเป็นหลักเท่านั้น องค์การเภสัชกรรมจึงอยู่ในสถานะคู่แข่งกับภาคเอกชนซึ่งรวมถึงผู้ประกอบการจากต่างชาติที่ผลิตยาราคาถูกออกมาขาย เช่น อินเดียและจีน

โรงพยาบาลยังเป็นช่องทางขายหลัก

ยาที่ผลิตในประเทศส่วนใหญ่ถูกใช้บริโภคในประเทศเป็นสัดส่วนราว 90% ของปริมาณการผลิตทั้งหมด ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าของตลาดยาแล้ว โรงพยาบาลเป็นช่องทางจำหน่ายที่ยาที่มีมูลค่าเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% โดย 60% มาจากโรงพยาบาลรัฐ และ 20% มาจากโรงพยาบาลเอกชน สะท้อนถึงระบบสวัสดิการสาธารณสุขของรัฐที่ครอบคลุมข้าราชการและผู้ขอรับสวัสดิการส่วนใหญ่ ทำให้สัดส่วนมูลค่าจำหน่ายยาส่วนมากอยู่ที่โรงพยาบาลรัฐนั่นเอง

ขณะที่อีก 19-20% ของมูลค่าตลาดยารวมมาจากร้านขายยา โดย ณ ส.ค.2562 ประเทศไทยมีร้านขายยาอยู่ 20,516 แห่ง เป็นร้านในเขตกรุงเทพมหานคร 75% และต่างจังหวัด 25% ทั้งนี้ กว่า 80% ของจำนวนร้านขายยาทั้งหมด เป็นร้านขายยาของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ขณะที่อีก 20% เป็นร้ายขายยาของผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีสาขา

ส่วนในภาคของการส่งออก ยาที่ผลิตในประเทศมีการส่งออกประมาณ 10% ของปริมาณการผลิตยาทั้งหมด ในช่วงปี 2557-2561 การส่งออกยาของไทยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยราว 8% ต่อปี แต่ยังมีสัดส่วนน้อยเพียง 0.2% ของมูลค่าส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทย เนื่องจากยาที่ส่งออกจะเป็นยาชื่อสามัญทั่วไปที่มีมูลค่าต่ำ การส่งออกส่วนใหญ่จะไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เมียนมา เวียดนาม กัมพูชา และ สปป.ลาว

โควิด-19 ทำมูลค่าตลาดยาคึกคัก

สำหรับปี 2563 ที่มีการระบาดของโรคโควิด-19 มูลค่าการจำหน่ายยาในประเทศไตรมาสแรกขยายตัว 7.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน คิดเป็น 5.7 พันล้านบาท เนื่องจากการแพร่ระบาดทำให้ความต้องการยากลุ่มที่ใช้รักษาตามอาการ ได้แก่ แก้ไข้/แก้ปวด แก้ไอ และแก้อักเสบ รวมทั้งวัคซีนเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ กลุ่มยารักษาโรคความดัน เบาหวาน และลดไขมันก็มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น จากคำสั่งซื้อจากโรงพยาบาล ที่เปลี่ยนจำนวนการจ่ายยาให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า หรือจ่ายยาให้ผู้ป่วยล่วงหน้า 3-6 เดือน ตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

โดยมูลค่าการจำหน่ายยาเม็ดเพิ่มขึ้น 14.6% YoY รองลงมา ได้แก่ ยาแคปซูล ยาฉีด และยาน้ำ สอดคล้องกับมูลค่าการนำเข้ายาเพิ่มขึ้น 0.7% YoY คิดเป็น 1.3 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้ายาและส่วนประกอบตัวยาสำคัญจากจีนและอินเดีย

ในทางตรงข้าม การส่งออกหดตัวทั้งด้านปริมาณ (-4.4% YoY) และมูลค่า (-11.3% YoY) เนื่องจากในช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรง ทุกประเทศซึ่งรวมทั้งไทยชะลอการส่งออก และหันมาเน้นตอบสนองความต้องการใช้ในประเทศก่อน

ปี 2564 ยังคงท้าทาย

แม้โควิด-19 จะทำให้มีความต้องการใช้ยามากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการแพร่ระบาดที่รุนแรงได้ส่งผลให้คนไทยและชาวต่างชาติไปใช้บริการที่โรงพยาบาลซึ่งเป็นตลาดหลักน้อยลง ส่งผลต่อตลาดยาในประเทศ โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่าปี 2563 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศจะขยายตัวต่ำที่ 2.0-3.0% เท่านั้น กระทบต่อรายได้ของผู้ผลิตยาที่มีแนวโน้มทรงตัว

นอกจากนี้ ผู้ผลิตเองก็ยังอาจต้องเผชิญกับแรงกดดันอย่างรอบด้าน ทั้งการแข่งขันที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น ต้นทุนผู้ผลิตในประเทศแนวโน้มสูงขึ้นจากการปรับปรุงโรงงานให้ได้มาตรฐานและราคาวัตถุดิบยานำเข้าที่สูงขึ้น รวมถึงการควบคุมราคายาของภาครัฐในโรงพยาบาลเอกชน

ในปี 2564 ที่การระบาดในระลอกที่ 3 รุนแรงและหนักหน่วงกว่าครั้งก่อนๆ และอาจเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ที่อุตสาหกรรมยาในประเทศต้องเผชิญ

ความหวังในตอนนี้คงอยู่ที่การแก้ไขปัญหาสถานการณ์โควิด-19 ของรัฐบาล ที่หากยังไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ ก็คงไม่ใช่เพียงอุตสาหกรรมยาเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่คงสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับแทบทุกอุตสาหกรรมรวมถึงเศรษฐกิจไทย

 

ข้อมูลจาก วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า