Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสุขภาพจิตพร้อมจัดทำ “แนวทางปฏิบัติของแพทย์ พยาบาล และสหวิชาชีพ เกี่ยวกับสุขภาพจิต สำหรับผู้รับบริการอายุต่ำกว่า 18 ปี” โดยจะอ้างอิงจากแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับ HIV พ.ศ.2557 ที่เปิดให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าถึงการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ HIV ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง

       เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์กับข่าวเวิร์คพอยท์กรณีที่ตัวแทนเด็กและเยาวชนเรียกร้องให้ “เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าพบจิตแพทย์ได้ โดยไม่มีผู้ปกครอง” ระบุว่า ตนรับฟังปัญหาดังกล่าวมาพอสมควร ทั้งจากสภาเด็กฯ และสถาบันยุวทัศน์ พบว่าบางทีพ่อแม่ก็เป็นปัญหาเสียเอง เช่น ลูกบอกว่าอยากปรึกษาแต่พ่อแม่ไม่มีเวลา หรือพ่อแม่ไม่เข้าใจว่าสุขภาพจิตคืออะไร เป็นคนบ้าหรือไม่ เพราะฉะนั้นปัญหานี้จึงทำให้เด็กและเยาวชนไม่สามารถไปแก้ไขสถานการณ์สุขภาพจิตของตนเองได้

       “ถ้าประเมินปัญหาตรงนี้ เราคิดว่าเด็กในช่วงที่เจอปัญหาเขาต้องการคนที่ไว้ใจที่สุด ถ้าสมมติว่าเขาพึ่งคนในครอบครัวไม่ได้ เขาต้องหันไปหาครู หรือว่าเพื่อน หรือต้องไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ซึ่งถ้าเขาทราบ แล้วไปพบแพทย์ได้ ก็จะแก้ไขให้ปัญหามันลดลง” นายสาธิตกล่าว

       รมช.สาธารณสุข ยืนยันว่า ปัจจุบันได้พูดคุยกับอธิบดีกรมสุขภาพจิตไปกว่า 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว เหลือเพียงแค่ฟังความคิดเห็นรอบๆ อีกเล็กน้อย โดยจะต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมา ปรึกษากับนักกฎหมายและจิตแพทย์ผู้ให้การรักษา เพื่อหาข้อสรุปและกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อาจอ้างอิงจากแนวทางปฏิบัติของแพทย์เกี่ยวกับ HIV พ.ศ.2557 ที่เปิดให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าถึงการตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อ HIV ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตผู้ปกครอง

       “พูดง่ายๆ จะไม่ลักลั่น ไม่ใช้การตีความที่ต่างกัน อย่างเช่นว่า ให้คำปรึกษาแต่ยังไม่รักษานะครับ อันนี้ก็ต้องทำเป็นนโยบายเลยว่า เป็นช่วงอายุที่ชัดเจน แต่อย่างน้อยที่สุดกรมสุขภาพจิตจะเป็นผู้เริ่มต้นในการให้คำปรึกษา ในแง่ของสายด่วน 1323 ที่จะต้องเพิ่มคู่สายให้มากขึ้นหนึ่งเท่าตัว”

 

เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ปรึกษาจิตแพทย์ได้ ไม่ขัด พ.ร.บ.สุขภาพจิต

       ต่อมาทีมข่าวเวิร์คพอยท์ติดต่อสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เกี่ยวกับมาตรา 21 ของพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ซึ่งระบุในวรรค 3 ว่า “ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ … ให้ผู้ปกครองเป็นผู้ให้ความยินยอมตามวรรคสองแทน”

ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

       ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา อธิบายว่า การให้ผู้ปกครองยินยอมนั้นใช้เฉพาะกรณีที่โรงพยาบาลต้องรับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เข้าแอดมิทในสถานพยาบาลเท่านั้น แต่ถ้าเด็กหรือเยาวชนมีปัญหาทางสุขภาพจิตแล้ว walk-in เข้าไปขอรับคำปรึกษา (counselling) จากจิตแพทย์ จิตแพทย์สามารถให้คำปรึกษากับเด็กได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ปกครอง และไม่ขัดกับ พ.ร.บ.สุขภาพจิต อย่างแน่นอน

       อย่างไรก็ตาม หากจิตแพทย์ต้องจ่ายยาให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ตนเห็นว่ายังจำเป็นต้องมีผู้ปกครองให้ความยินยอมก่อน เพราะยาที่หมอสั่งจ่ายนั้นอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า