SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. และ อว. ร่วมขับเคลื่อน “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ” ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ พร้อมแนวทางการดูแลสุขภาพใจให้นักศึกษาไทยทั่วประเทศ

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมแถลงผลการดำเนินงานความสำเร็จ “โครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจ ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ” เมื่อวันที่ 22 มี.ค. 66

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ยกระดับการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในทุกมิติ สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ได้อย่างถูกต้อง เป็นปัจจุบัน โดยร่วมมือกับเครือข่าย กระทรวงสาธารณสุขจึงสนับสนุนโครงการคู่เครือข่ายดูแลจิตใจฯ โดยกรมสุขภาพจิต ในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษา มีผลสำเร็จของการดำเนินงานตามโครงการ พบว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง มีโรงพยาบาลคู่เครือข่ายสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นคู่เครือข่าย จำนวน 51 แห่ง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ทั้ง 9 แห่ง มีโรงพยาบาลสังกัด สป. เป็นคู่เครือข่ายจำนวน 14 แห่ง ทั้งนี้มีแนวทางการส่งเสริมป้องกันและดูแลส่งต่อตามระบบสาธารณสุขที่สามารถเบิกจ่ายได้ตามสิทธิ์ พร้อมมีการจัดทำแผนเผชิญเหตุกรณี เหตุวิกฤตของนักศึกษาอีกด้วย

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า อว. มีภารกิจในการเตรียมคนไทย สู่ศตวรรษที่ 21 และนำองค์ความรู้และนวัตกรรมไปพัฒนาประเทศ โดยมีนักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศกว่า 2 ล้านคน การสร้างคน มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากที่มีคุณภาพ และการดูแลด้านสุขภาพจิตของนักศึกษาต้องควบคู่กันไป เพราะโรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงจะส่งผลกระทบไม่แพ้โรคทางกาย ภายหลังจากการดำเนินงานร่วมกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในการดูแลนักศึกษาอย่างใกล้ชิด จึงเกิดผลความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดยนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดูแลระดับเบื้องต้นและเชิงลึกให้คำปรึกษาเป็นรายกรณีเฉพาะบุคคล แบบกลุ่ม แบบออนไลน์ และการส่งต่อดูแลรักษาต่อเนื่องที่เหมาะสม

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากผลการประเมินสุขภาพจิตด้วย Mental Health Check In (MHCI) ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงปัจจุบันพบว่า เยาวชนกลุ่มมหาวิทยาลัย (อายุ 19 -24 ปี) จำนวน 26,887 ราย มีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 25.68 และมีความเครียดสูงร้อยละ 19.21 ซึ่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มเปราะบางที่มีความเฉพาะที่จะเกิดปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล และเครียด มีเพิ่มขึ้นตลอดช่วงวัยรุ่น และสูงสุดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ภายหลังดำเนินโครงการฯ

เมื่อวันที่ 11 ก.ค. 65 เป็นต้นมา ได้คัดกรองและดูแลสุขภาพจิตนักศึกษาไปแล้ว จำนวน 23,740 ราย ในจำนวนนี้ไม่พบความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 18,066 ราย แต่ทว่าพบผู้มีความเสี่ยงปัญหาสุขภาพจิต จำนวน 5,235 ราย ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาที่ต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต (กลุ่มสีเหลือง) จำนวน 1,630 ราย โดยขณะนี้มีจำนวนนักศึกษาที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตจนดีขึ้นแล้ว จำนวน 1,166 ราย อย่างไรก็ดีในกลุ่มนี้ พบจำนวนนักศึกษาความเสี่ยงที่จำเป็นต้องส่งต่อให้แพทย์ดูแล (กลุ่มสีแดง) ทั้งสิ้น 439 ราย ซึ่งขณะนี้สุขภาพจิตดีขึ้นแล้ว จำนวน 232 ราย กระบวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจะช่วยทำให้เกิดการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือที่ดีขึ้นคณาจารย์มีระบบในการช่วยเหลือเป็นที่พึ่ง ทำให้ครอบครัวนักศึกษาอุ่นใจยิ่งขึ้น

ผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา ประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ กล่าวว่า ในภาพรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ดำเนินการดูแลสุขภาพกายและใจของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยในลักษณะใกล้เคียงกัน วิเคราะห์ความต้องการและความเสี่ยงในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่นอย่างมีส่วนร่วมในมหาวิทยาลัย สร้างระบบและกลไกการดูแลนักศึกษาที่ชัดเจน โดยกำหนดแผนในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพจิตวัยรุ่น ส่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องเข้ารับการอบรมกับกรมสุขภาพจิต เปิดศูนย์ดูแลสุขภาพจิตนักศึกษา จัดโครงการอบรมที่หลากหลายในการเสริมสร้างสุขภาพจิต ภายหลังเข้าร่วมโครงการคู่เครือข่ายฯนี้ มีการใช้ MHCI ตรวจวัดทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ทำให้ทราบถึงขนาดปัญหาสุขภาพจิต และนำไปสู่การจัดตั้งระบบให้คำปรึกษาและคณะกรรมการดูแลให้ครอบคลุม มีการอบรมอาจารย์จากผู้เชี่ยงชาญสุขภาพจิต และจัดกิจกรรมนักศึกษาได้พูดคุยกันมากขึ้น

ผศ.ไพบูลย์  หาญมนต์  ผู้แทนคณะกรรมการอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี มีแนวทางการจัดบริการให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ ผ่านทางคลินิกกำลังใจหรือ Mind Counseling RMUTT กองทุนสุขภาพนักศึกษา ที่เปิดให้บริการแก่นักศึกษาและบุคลากรมานานกว่า 5 ปี ภายใต้แนวคิด “ปกปิด-ปลอดภัย-เปิดใจ”

ล่าสุดมีสถิติการเข้ารับบริการในปี 2565 และมีแนวทางการดูแลที่เน้นการป้องกัน โดยนำระบบ MHCI เข้ามาใช้ในการคัดกรองเบื้องต้น ให้คำปรึกษา และนำไปสู่การส่งต่อ อีกทั้งมทร.ตะวันออก จะมุ่งเน้นการประเมิน แบบเฉพาะของมทร.ตะวันออก เพื่อทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตและการประเมินพลังใจของนักศึกษา ในการจัดการปัญหาเบื้องต้น ก่อนจะส่งต่อเพื่อการดูแลเยียวยาขั้นถัดไป มทร.ธัญบุรี นำทีมและเป็นต้นแบบให้อีก 8 ราชมงคล มีการจัดการแข่งกีฬานักศึกษา จัดให้ระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาเป็นวาระเร่งด่วนและจัดช่องทางต่างๆ ให้นักศึกษาประเมินตนเองให้ทราบภาวะเครียดและสุขภาพจิต เรียก Biofeedback และเข้าสู่ระบบการรักษาสาธารณสุข

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า