Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ความเครียด’ เป็นปัญหาเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต (Mental Health) ที่รุนแรงได้ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าที่คนไทยป่วยสะสมแล้วมากกว่า 1 ล้านคน

ข้อมูลสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2564-2566)

โดยเฉพาะผู้ป่วยภาวะซึมเศร้า ที่มีจํานวนสะสมเพิ่มขึ้นจาก 1,156,734 คน ในปี 2564 มาเป็น 1,240,729 คนในปี 2566

รวมๆ แล้วประเทศไทยมีผู้ป่วยด้านสุขภาพจิตทั้งหมดจำนวน 4.4 ล้านคน คิดเป็น 6.44% ของประชากรทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจาก 2.5 ล้านคนในปี 2565

ที่สำคัญข้อมูลจาก Mental Health Check-in ของกรมสุขภาพจิต จากผู้ตอบแบบประเมินทั้งหมด 5.28 ล้านคนทุกช่วงอายุในปี 2563-2567

พบคนไทยมีความเครียดสูง 7.87% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 9.25% และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 5.26%

ดังนั้นเรื่องการดูแลสุขภาพจิตไม่ใช่เรื่องไกลตัว โดยเฉพาะในองค์กรการทำงานยิ่งต้องให้ความสำคัญกับพนักงาน เพราะการทำงานที่หนักเกินไปย่อมส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมได้

‘ดวงพร พรหมอ่อน’ กรรมการผู้จัดการ Jobsdb by SEEK เผยผลรายงานการจ้างงาน ผลตอบแทนและสวัสดิการปี 2567 ในเรื่องสุขภาพจิตในสถานที่ทํางาน โดยรวบรวมข้อมูลจาก 685 บริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรมและตําแหน่งงานในประเทศไทย .

จากรายงาน พบว่า สถานประกอบการ 69% ให้คะแนนองค์กรของตนเป็นสถานที่ทำงานที่มีความเครียดในระดับปานกลาง (ระหว่าง 3-7) โดยระดับความเครียดเฉลี่ยอยู่ที่ 4.9 ระดับความเครียดสูงสุดคือระดับ 5 หรือคิดเป็น 26%

แสดงให้เห็นว่าที่ทำงานส่วนใหญ่มีระดับความเครียดประมาณค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม 14% ของบริษัทอยู่ในกลุ่มที่มีความเครียดระดับสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทในธุรกิจบริการ

โดยรวมแล้วผู้ประกอบการรู้สึกว่าสาเหตุหลักของความเครียดในองค์กร คือ ภาระงานหนัก (43%) ตามมาด้วยทรัพยากรไม่เพียงพอ (26%) และความกดดันสูงจากฝ่ายบริหารหรือการทำงาน ที่รวดเร็ว (24%)

อีกทั้งสาเหตุเหล่านี้ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มบริษัทที่อยู่ในช่วงความเครียดสูงซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น การลาออกสูง (33%) อคติหรือการเลือกปฏิบัติ (31%) ขาดการชื่นชมและยอมรับในผลงาน (26%) ค่าตอบแทนต่ำ (27%) และลำดับชั้นที่มากเกินไป (27%)

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจแนวโน้มในอนาคตของสวัสดิการด้านความสมดุลของชีวิตและการงาน ชี้ให้เห็นว่า มีองค์กรถึง 43% เริ่มหันมาให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพจิตใจของพนักงานมากขึ้น

โดยริเริ่มกิจกรรมต่างๆ ในวันหยุดเพื่อสุขภาพจิตและมีการให้คำปรึกษาด้านการดูแลสุขภาพจิตกับพนักงานที่มีความเครียด ซึ่งมีการพูดคุยกันโดยเฉลี่ย 4.6 ครั้งต่อปี

ปัญหาสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับคนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการจึงควรมีการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือพนักงานให้มากขึ้น ให้สอดคล้องกับรายงานจากกรมสุขภาพจิตที่พบว่าแนวโน้มของความเครียดของพนักงานมีอัตราที่สูงขึ้นในทุกปี

ดังนั้นการสนับสนุนและสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงาน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่มีความเครียดในองค์กร จึงเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรละเลยเช่นกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า