SHARE

คัดลอกแล้ว

สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ เตือนนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิด ระวังผลต่อสุขภาพ เสี่ยงเกิดอาการทางจิต แนะผู้ปกครองหมั่นสังเกตพฤติกรรมบุตรหลานหรือคนใกล้ชิด

วันนี้ (14 มิ.ย. 65) นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 9 มิ.ย. 2565 กัญชาและกัญชง ถูกปลดล็อก ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 อีกต่อไป แต่สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชา หรือกัญชง ยังเป็นยาเสพติดในประเภท 5 ยกเว้นสารสกัดที่ได้รับอนุญาตให้ผลิตในประเทศ และมีสาร THC ไม่เกิน 0.2 % เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชา หรือกัญชงที่ปลูกภายในประเทศ เนื่องจากสาร THC เป็นสารเสพติด หากใช้ขนาดสูงเป็นประจำจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่อสาร ทำให้ต้องมีการเพิ่มขนาดเพื่อจะให้ได้ผลเท่าเดิมและเกิดการติดได้ นอกจากนี้ ยังห้ามนำเข้าพืชกัญชาและกัญชง ยกเว้นเมล็ดพันธุ์ ซึ่งอาจทำให้กลุ่มวัยรุ่นรวมถึงประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ บางกลุ่มอาจมีการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิดเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง

การออกฤทธิ์ของกัญชาในระยะแรกจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ผู้ใช้ตื่นตัว ตื่นเต้น ร่าเริง หัวเราะง่าย ช่างพูด พูดคนเดียว ยิ้มคนเดียว ไม่หลับไม่นอนเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ชั่วโมง จะเริ่มออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้มีอาการคล้ายกับเมาเหล้า หน้าแดง ลิ้นไก่พันกัน พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง เซื่องซึม ง่วงนอนตลอดเวลา ถ้าใช้ในปริมาณมาก จะทำให้เกิดภาพลวงตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ เมื่อหมดฤทธิ์จะทำให้ผู้ใช้ มีอารมณ์อ่อนไหว เลื่อนลอย สมองสั่งงานช้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ใจสั่น หูแว่ว ดังนั้นผู้ใช้กัญชา จึงไม่ควรขับขี่ยานพาหนะอาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ กลุ่มเยาวชนอายุน้อยกว่า 25 ปี กลุ่มผู้สูงอายุควรใช้กัญชาด้วยความระมัดระวัง และห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดขั้นรุนแรงหรือไม่สามารถควบคุมอาการได้ ผู้ที่มีประวัติความผิดปกติทางจิตเวช รวมถึง สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร

ขณะที่ นพ.สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่ากัญชาจะมีประโยชน์ทั้งในทางการแพทย์ รวมไปถึงการนำสาระสำคัญในกัญชาไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ ทั้งอาหาร ยา เครื่องสำอาง สมุนไพรและอื่น ๆ หรือแม้กระทั่งปลูก เพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือน เหมือนพืชสมุนไพรประจำบ้าน นำมารักษาสุขภาพตนเองและครอบครัว สร้างรายได้กับผู้ปลูก แต่หากมีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อาจทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทำให้อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลง เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย ร่างกายเสื่อมโทรม ไม่สามารถทำงานได้ ความคิดและการตัดสินใจเสื่อมถอย นอกจากนี้ยังทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ผู้ที่ใช้กัญชาในปริมาณมาก อาจจะทำให้เป็นโรคจิต เกิดอาการ วิตกกังวล หวาดระแวง เลื่อนลอย สับสน ฟั่นเฟือน ประสาทหลอน ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ เตือนพ่อแม่ ผู้ปกครอง

ผอ.สบยช. แนะนำหมั่นสังเกตุพฤติกรรมของบุตรหลาน และคนในครอบครัว หากพบมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการนำกัญชาไปใช้ในทางที่ผิดให้รีบพูดคุย บอกกล่าวถึงผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายที่จะตามมา รวมถึงปัญหาการเสพติด ให้รีบพาไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรือเข้ารับการบำบัดรักษาได้ที่ สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี (สบยช.) กรมการแพทย์ จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน โรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานีโรงพยาบาลธัญญารักษ์สงขลา และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี หรือขอรับคำปรึกษาเรื่องยาและสารเสพติดได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทางด้าน พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า แนะนำต้องไม่จำหน่ายแก่บุคคล 3 กลุ่ม ได้แก่ เด็กและเยาวชน สตรีมีครรภ์ มารดาที่ให้นมบุตร นอกจากนี้ยังต้องระมัดระวังการใช้ในผู้มีโรคเรื้อรังและผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มโรครุนแรง เช่น จิตเภท ซึมเศร้า อารมณ์สองขั้ว เพื่อคุ้มครองไม่ให้กลุ่มเปราะบางเหล่านี้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้กัญชาทางการแพทย์ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีโอกาสเสพติดมากกว่าผู้ใหญ่ และยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของสมอง ระดับสติปัญญา การคิดแบบมีเหตุผลและการยับยั้งชั่งใจ ทั้งในขณะเสพและหลังเสพ จนเกิดอาการทางจิตเวชตามมาได้ ส่วนในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร สารสกัดจากกัญชาอาจส่งผลต่อเด็กในครรภ์หรือทารกได้

พญ.บุญศิริ จันศิริมงคล ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต เสริมว่า ฤทธิ์ของสารสกัดจากกัญชาที่มีต่อระบบประสาทสามารถแบ่งได้ 3 กลุ่มอาการ ได้แก่

1. กดประสาท ผลเบื้องต้นทำให้รู้สึกสงบ สุขคนเดียวได้ ง่วง อยากนอน แต่ทำให้ไม่มีแรงจูงใจทำอะไร หากเสพเกินขนาดจะหลับลึก ไม่ค่อยรู้ตัว

2. กระตุ้นประสาท ผลเบื้องต้นทำให้รู้สึกกระชุ่มกระชวย ไม่หิว ไม่เหนื่อย แต่ถ้าได้รับสาร THC มากขึ้นจะกระสับกระส่าย กลัว ตื่นตระหนก หากเสพเกินขนาดหัวใจจะเต้นเร็วมากขึ้นและอุณภูมิร่างกายสูงขึ้น

3. หลอนประสาท ทำให้มีอาการเคลิ้มฝันกลางวัน วิตกกังวล กลัว ไม่อยากออกไปไหน หากเสพเกินขนาดจะทำให้เกิดอาการทางจิต เช่น ยิ้มพูดคนเดียว หูแว่ว หวาดระแวง

ทั้งนี้กรมสุขภาพจิตได้เปิด สายด่วน “ปรึกษากัญ 1667” เพื่อให้คำปรึกษาในการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากกัญชาและกัญชงอย่างถูกต้อง ตลอด 24 ชั่วโมง โดยกรมสุขภาพจิตเชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจที่จะใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพจากกัญชาและกัญชง แต่ยังไม่มั่นใจหรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ สามารถโทรขอรับการปรึกษาได้ฟรี หรือ สามารถปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยและเกิดประสิทธิภาพในการรักษาอย่างแท้จริง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า