SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้อนกลับไปในยุค 90 หากพูดถึงกีฬาบาสเกตบอลแล้วล่ะก็ ชื่อของนักบาสคนหนึ่งที่โด่งดังไปทั่วโลกจนแทบไม่มีใครในยุคนั้นไม่รู้จักก็คือ ไมเคิล จอร์แดน ที่ทำผลงานพาทีมชิคาโก บูลส์ คว้าแชมป์ NBA ได้ถึง 6 สมัยในรอบ 8 ปี

โดย 2 ปีที่ว่างเว้นจากตำแหน่งแชมป์ ก็เกิดจากการที่เขาตัดสินใจอำลาวงการยัดห่วงชั่วคราว และหันไปเล่นเบสบอลอาชีพแทนในฤดูกาล 1993-94 ก่อนจะตัดสินใจกลับมาเล่นบาสอีกครั้งในช่วงท้ายของฤดูกาล 1994-95

เรียกได้ว่าในช่วงนั้น ยามที่จอร์แดนลงเล่นเต็มฤดูกาล บทสรุปมีเพียงอย่างเดียวคือ การเป็นแชมป์เท่านั้น

แม้ว่าจอร์แดนจะเลิกเล่นบาสมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ผลงานที่เขาทำไว้ทั้งในและนอกสนามยังสามารถโกยเงินได้มากกว่านักกีฬาระดับซูเปอร์สตาร์ทุกคนบนโลกใบนี้ซะอีก

2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 66,150 ล้านบาท) คือมูลค่าทรัพย์สินของจอร์แดนจากการจัดอันดับโดยนิตยสาร Forbes และปัจจุบันเขาคือมหาเศรษฐีอันดับ 1,001 และขึ้นแท่นเป็นอดีตนักกีฬาที่รวยที่สุดอันดับ 1 ของโลกไปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน

ปัจจุบันจอร์แดนในวัย 56 ปีเป็นเจ้าของทีมชาร์ลอตต์ ฮอร์เนตส์ ใน NBA ซึ่งเป็นหนึ่งในการลงทุนที่คุ้มค่าในแง่ของตัวเงิน จากที่เขาเคยลงทุนไป 175 ล้านดอลลาร์เมื่อปี 2010 เพื่อก้าวมาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ปัจจุบันเดอะฮอร์เนตส์มีมูลค่าราว 1.5 พันล้านดอลลาร์ไปแล้ว แต่ไม่มีการรายงานว่าจอร์แดนมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของอยู่เท่าใด

และหากคุณคิดว่าจอร์แดนและเพื่อนร่วมทีมชิคาโก บูลส์ ในยุค 90 คือเหล่านักบาสเกตบอลที่หาใครมาเทียบฝีมือได้ยากในยุคนั้นแล้วล่ะก็ แบรนด์ Jordan ในยุคนี้คือสุดยอด MVP ที่ไม่มีใครสามารถต่อกรได้เลย  

Jordan เป็นแบรนด์ที่อยู่ภายใต้ Nike ผู้ผลิตอุปกรณ์กีฬาที่เซ็นสัญญาเป็นสปอนเซอร์ให้กับ ไมเคิล จอร์แดน ตั้งแต่ปีที่เขาเล่นบาสเกตบอลอาชีพเป็นปีแรก 

เจ้าตัวเคยออกมายอมรับว่าเขาไม่อยากเซ็นสัญญากับ Nike ด้วยซ้ำ แบรนด์ที่เขาอยากจะร่วมงานด้วยคือ Adidas มากกว่า แต่สุดท้ายก็เป็น Nike ที่เสนอสัญญาที่ดีกว่ามาให้ และการยื่นข้อเสนอในครั้งนั้น ก็นับเป็นการเซ็นสัญญาที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของ Nike เลยก็ว่าได้

ส่วนแบรนด์ Jordan นั้น แม้จะใช้นามสกุลของเขาเป็นชื่อแบรนด์ แต่เขาไม่ได้เป็นซีอีโอหรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่อย่างใด เป็นทางแบรนด์ที่เป็นผู้จ่ายเงินให้จอร์แดนเป็นค่าพรีเซนเตอร์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

ในช่วงแรกของการเซ็นสัญญา รองเท้า Air Jordan ยังมีการขายผ่านทาง Nike อยู่ จนกระทั่งในปี 1997 ซึ่งปีที่รายได้ของเขาพีคที่สุดในช่วงที่กำลังเล่นบาสอยู่ Nike ก็ตัดสินใจตั้งแบรนด์ย่อย Jordan ขึ้นมาซะเลย

จวบจนมาถึงในปี 2019 ค่าลิขสิทธิ์ที่แบรนด์ Jordan จ่ายให้จอร์แดนพุ่งสูงไปถึง 130 ล้านดอลลาร์ใน 1 ปีแล้ว ซึ่งถือเป็นค่าพรีเซนเตอร์ที่แพงที่สุดในโลก โดยมีอันดับ 2 อย่าง เลอบรอน เจมส์ ตามมาห่าง ๆ ที่ 32 ล้านดอลลาร์

และจนถึงตอนนี้ ทั้ง Nike และ Jordan ได้จ่ายเงินให้กับจอร์แดนรวมกันไปแล้วทั้งสิ้น 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตลอดระยะเวลา 36 ปี ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยกับการที่คนคนนึงจะยืนระยะทั้งในด้านชื่อเสียงและความนิยมมาเป็นระยะเวลานานขนาดนี้ 

อีก 1 กรณีศึกษาที่ทำให้เราเห็นว่าการก่อตั้งแบรนด์ Jordan ขึ้นมาเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง คือการพยายาม ‘เชื่อมต่อ’ ความรู้สึกกับผู้คน ที่ทำให้เข้าถึงในบางประเด็นได้ง่ายกว่าการสื่อสารในฐานะแบรนด์ใหญ่

ในขณะที่กำลังมีเคลื่อนไหวของกระแส Black Lives Matter ทั่วอเมริกา ตัวจอร์แดนเองและแบรนด์ Jordan ก็ได้ตัดสินใจประกาศว่าจะมอบเงิน 100 ล้านดอลลาร์ตลอดช่วง 10 ปีข้างหน้า ให้กับองค์กรที่ต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นการบริจาคสูงที่สุดในตอนนี้ แม้ก่อนหน้านี้ทางบริษัทแม่อย่าง Nike จะเพิ่งออกมาประกาศมอบเงิน 40 ล้านดอลลาร์ก็ตาม

สิ่งที่เขาทำตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนี้เอง ทำให้ ‘เรื่องราว’ และ ‘ภาพลักษณ์’ กลายเป็นสองสมบัติชิ้นสำคัญที่ทำให้เขาทำเงินได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แม้จะไม่ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักและลงแข่งขันเหมือนเมื่อก่อน

แม้แต่ในช่วงที่โลกกีฬากำลังหยุดพัก เจ้าของฉายา MJ ก็ได้คัมแบ็กกลับมาอีกครั้งในสารคดีความยาว 10 ตอนที่ชื่อว่า The Last Dance ซึ่งออกฉายทาง ESPN และ Netflix ช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค.ที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้สารคดีชุดดังกล่าวมีแผนที่จะออกฉายในเดือนมิ.ย. หลังจากรอบชิงชนะเลิศของ NBA เสร็จสิ้นลง แต่จากภาวะโควิด-19 ระบาดทำให้การแข่งขันถูกเลื่อนออกไป ทางช่องเองก็ไม่มีรายการระดับแม่เหล็กในผัง ส่วนแฟน ๆ ก็ไม่มีกีฬาดู จนทำให้ต้องมีการเลื่อนเข้ามาฉายให้เร็วขึ้น

The Last Dance ได้รับเสียงตอบรับดีมาก ขึ้นแท่นเป็นสารคดีของ ESPN ที่มีผู้ชมมากที่สุดตลอดกาล เฉลี่ยแล้วมีคนรับชมสดตอนละ 5.6 ล้านคน ยังไม่รวมยอดผู้ชมนอกสหรัฐที่ดูผ่าน Netflix อีก 23.8 ล้านครัวเรือน

ความนิยมของสารคดีที่พูดถึงชีวิตจอร์แดนในช่วงที่เขาเล่นบาสเกตบอลอาชีพให้กับบูลส์นั้น นอกจากจะประสบความสำเร็จในจอแล้ว ยังได้ส่งผลไปยังยอดขายสินค้าทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาอีกด้วย

คำว่า Michael Jordan ถูกค้นหาบนเว็บไซต์ eBay เป็นจำนวนเฉลี่ย 821 ครั้งต่อนาที และเว็บไซต์อื่น ๆ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าผู้คนไขว่คว้าหาสินค้าที่เกี่ยวกับจอร์แดนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในวันที่สารคดีออนแอร์

จอร์แดนได้รับส่วนแบ่งจากสารคดีชิ้นนี้ประมาณ 3-4 ล้านดอลลาร์ และเขาประกาศมอบเงินทั้งหมดให้องค์กรการกุศล

เราอาจจะต้องรออีกอย่างน้อย 2 เดือนเพื่อจะได้รู้ข้อมูลอย่างเป็นทางการว่าแบรนด์ Jordan จะได้รับอานิสงค์จาก The Last Dance ไปมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าดูจากข้อมูลอื่นที่มีอยู่ตอนนี้ เราคงพอจะอนุมานได้ว่า ต้องมีสถิติอย่างใดอย่างหนึ่งถูกทำลายแน่นอน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า