SHARE

คัดลอกแล้ว

“นี่คือช่วงเวลาที่เทคโนโลยีเบ่งบานครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงชีวิตที่ผมทำงานด้านนี้มาประมาณ 30 ปี”

เสียงสะท้อนที่เต็มไปด้วยความรู้สึกยินดีหลังจากเทคโนโลยีได้ก้าวเข้ามามีส่วนสำคัญต่อมนุษยชาติเพราะผลกระทบจากโควิด-19 ของ  ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย)

คำถามที่เรามีต่อเทคโนโลยีของมนุษย์ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาต่อเรื่องเทคโนโลยี  ที่มักถกเถียงกันในชั้นเรียนที่ว่าเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดชี้นำให้สังคมเปลี่ยนแปลงไป” หรือ สังคมที่เต็มไปด้วยความคาดหวังต่างหากที่ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง 

จนมาถึงยุคที่เกิดโรคระบาดที่ทำให้เกิดปุจฉาใหม่ๆ ขึ้นมาอีกมากมายท้าทายแนวคิด “Technological Determinism” จนหมดสิ้น  ทุกอย่างมันเกี่ยวพันกันไปหมด จนถึงตอนนี้ผมเองก็หาสูตรตายตัวไม่ได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในเรื่องเทคโนโลยีช่วงที่ผ่านมามันสร้างแต่เรื่องบวกเป็นส่วนใหญ่ นี่คือสิ่งที่เราอยากให้มันเกิดขึ้น 

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไมโครซอฟท์

5 เรื่องใหม่ด้านเทคโนโลยีจากโควิด-19

มุมมองนายใหญ่แห่งไมโครซอฟท์ไทยในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาได้กำเนิดวิถีและปรากฏการณ์ใหม่ประกอบด้วย 5 เรื่องด้วยกัน 

  1. New way of work ปรากฏการณ์ที่คนทำงานอยู่ที่บ้าน ไม่ต้องเข้ามาทำงานในสำนักงานหรือบริษัท เพื่อไม่ให้เป็นการรวมตัวกันมากจนนำไปสู่การแพร่เชื้อ กระทั่งสถาการณ์โรคระบาดบรรเทาลงบริษัทจะเริ่มให้พนักงานกลับเข้ามาทำงาน แต่ทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิมเสียแล้ว
    การรักษาระยะห่างระหว่างกัน การระวังเรื่องปฏิสัมพันธ์ การดูแลความสะอาด ฯลฯ ถูกฝังเข้าไปในสำนึกภายในบุคคลว่านี้คือสิ่งที่ต้องทำ ขณะที่สถานที่ขององค์กรบริษัทเองก็ถูกปรับขนาดความจุลงมา บางที่จุได้ 1,000 เหลือ 500 หรือ จาก 100 เหลือ 50 ดังนั้นจึงเกิดความจำเป็นที่ต้องหาเครื่องมือ (Tools) ที่เข้ามาเชื่อมโยงการทำงานของคนโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสถานที่ของบริษัทเช่นแต่ก่อน นำไปสู่การเป็น “Hybrid Workplace”  หรือการทำงานที่ไหนก็ได้
    โดยใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์รวมของการ Brainstorming มากกว่าห้องประชุม เป็นสิ่งที่ตอบสนองออกมาจากเรื่องดังกล่าว
  2. New Way of Learning รูปแบบการเรียนรู้และการศึกษาที่ไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน  นั่นก็เพราะความรู้คือโอกาส ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและทุกเรื่องผ่านแหล่งเรียนรู้ดิจิทัลและโลกออนไลน์ เป็นยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการใช้ชีวิต  แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าไปแทนที่การเรียนในห้องเรียนแบบเดิม
    เทคโนโลยีจะเข้ามาช่วยเสริมในสิ่งที่ห้องเรียนทำไม่ได้หรือมาเติมเต็มสิ่งที่ขาด รวมไปถึงสร้างให้ผู้ศึกษาและผู้สอนรู้เท่าทันเทคโนโลยี จึงถือเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดีที่สุดเพื่อโอกาสสำหรับการต่อยอดในวันหน้า
  3. Virtual Century โลกเสมือนที่ใกล้ความจริงเข้ามาทุกที การซื้อของ ดูหนัง พูดคุย การทำธุรกรรมทางการเงิน  ฯลฯ ผ่านช่องทางออนไลน์ กลายเป็นเทรนด์ในปัจจุบัน
    ที่สำคัญเทคโนโลยีที่เข้ามารองรับก็ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อรองรับพฤติกรรมดังกล่าวยิ่งทำให้สิ่งที่เคยถูกมองว่าเป็นโลกเสมือนในช่วงทศวรรษก่อนกลายเป็นเรื่องจริงมากขึ้นเรื่อยๆ
  4. Hyper Automation ซึ่งเป็นเรื่องที่บรรดาองค์กรรบริษัทกำลังให้ความสำคัญ คือการหาวิธีที่จะลดต้นทุน (Cost) ลดกระบวนการการทำงาน (process) โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ตัวอย่างที่ชัดเจนคือธุรกิจโรงพยาบาล ในช่วงโควิด-19 ระบาดหนักทำให้คนไม่กล้ามาโรงพยาบาล
    แต่อย่างไรเสียหากเจ็บไข้ได้ป่วยมากๆ การรักษาจากวินิจฉัยของแพทย์ย่อมดีกว่าการพยายามหายามากินเอง เมื่อผู้ป่วยยังไม่กล้ามาหาหมอ โรงพยาบาลจึงใช้ระบบ “แชทบอท” (Chatbot) ระบบที่ผู้ป่วยสามารถแชทกับทาง รพ. ถึงอาการ เรื่องที่อยากรู้ จากนั้นจะทำการประเมินและจัดตารางพบแพทย์ผ่านทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จากนั้นจัดยาและส่งให้ถึงบ้าน
    นี่คือเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นกับองค์กรบริษัทอื่นที่ต้องการลีน (Lean) องค์กรให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นกับหลายธุรกิจในอนาคต
  5. Digital Transformation เรื่องดังกล่าวถูกพูดถึงมาตลอดหลายปีที่ผ่านมา การใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายองค์กรมากที่สุดถูกเร่งให้เกิดเร็วขึ้นในหลายแห่งจากผลกระทบของโรคระบาด
    การเปลี่ยนโฉมองค์กร (Digital Transformation) ที่ก่อนหน้านี้เป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปจะไม่แบบนั้นอีกแล้ว มีความเป็นไปได้ว่าองค์กรจะเปลี่ยนโฉมแบบที่รวดเร็วชนิดที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ธนวัฒน์ กล่าว

หยุดเพื่อ Re-skill เพิ่มศักยภาพตัวเอง
เมื่อกระแสเทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยมีโรคระบาดเป็นตัวเร่งชั้นดี มันได้กลายเป็นกระแสคลื่นที่พัดกระหน่ำเข้าสู่ชายฝั่งแห่งวิถีชีวิตของมนุษย์เข้ามาถาโถมกระทบต่อการทำงานอย่างชัดเจน ความกังวลเกิดขึ้นอย่างช่วยไม่ได้ว่าเทคโนโลยีหรือเอไอทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้จะก้าวขึ้นมาแทนที่มนุษย์ เข้ามาแย่งงานจากคนทำงานต้องตกงาน คนที่ตกงานอยู่แล้วก็หมดความจำเป็นจนไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้อีกเลย

หยุด คือสิ่งที่ธนวัฒน์แนะนำ
หยุดเพื่อพิจารณาตัวเองว่ามีความสามารถอะไรที่เป็นจุดแข็ง
หยุดเพื่อสะท้อนตัวเองว่าต้องการอะไร
จากนั้นพิจารณาตัวเองอย่างถี่ถ้วนปรับกรอบความคิดเพื่อเปิดกว้างรับสิ่งใหม่ๆ เข้ามา
หากเปรียบความกลัวและความกังวลต่อเรื่องเทคโนโลยีเป็นภูเขาน้ำแข็งที่ยากจะฝ่าไป
ปีนเท่าไหร่ก็ข้ามไม่พ้นซะที
อาจจะเพราะเคยชินกับการปีนเขาทั่วไปมาตลอด
ดังนั้นจะใช้วิธีแบบเดิมๆไม่ได้ต้องทำการ Re-skill ตัวเอง

เปิดใจรับโดยฝึกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมบวกกับทักษะในการปีนเขาที่มีอยู่แล้วยิ่งทำให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น
เฉกเช่นเดียวกับการทำงานหรือทำธุรกิจ ยิ่งใครมีความเข้าใจ Business Model ที่ตัวเองทำดีอยู่แล้วยิ่งมีความได้เปรียบหากเพิ่ม Skill ด้านเทคโนโลยีเข้าไป

“หลายคนไม่เคยหยุด ทำอย่างเดิมมาโดยตลอด ซึ่งความจริงแล้วยังมีเส้นทางมีโอกาสให้เลือกอีกมาก อยู่ที่ว่าจะเลือกไปทางไหน เลือกที่จะกลัวว่าจะตกงาน จะถูกเทคโนโลยีเข้ามา disrupt หรือจะหยุดเพื่อเปิดรับสิ่งใหม่เป็น New Normal ด้วยตัวเอง ไม่ต้องรอให้ปัจจัยอะไรมาเปลี่ยนเรา”

หาคนดูแลข้อมูลส่วนตัวดั่งพาร์ทเนอร์ร่วมชีวิต

เทคโนโลยีที่พัฒนาและเข้าถึงได้มากขึ้นมาในช่วงโควิด-19 ทำให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบาย
เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสก็แทบจะสนองความต้องการทุกอย่าง
แต่ในขณะเดียวกันความเสี่ยงที่ตามมาอาจต้องแลกมาด้วย ข้อมูลส่วนตัว ที่เลื่อนไหลอยู่ในโลกออนไลน์
จนเกิดปัญหาการล่วงล้ำสิทธิด้านข้อมูลหรือเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพนำไปใช้ทำประโยชน์ที่มิชอบอยู่บ่อยครั้ง

ผมคงไม่สามารถพูดให้รู้สึกมั่นใจได้ว่าโลกของดิจิทัลการทำงานของเอไอจะปลอดภัยในเรื่องข้อมูลส่วนตัวได้ 100% แต่คุณต้องเลือกพาร์ทเนอร์ที่คุณเชื่อมั่น (Trust) ที่สุด 

ธนวัฒน์เปรียบเทียบถึงตึกที่ต้องจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ต้องมีกล้องจรปิด มีบุคลากรและตู้เซฟเพื่อดูแลเอกสารลับ ในโลกของดิจิทัลก็เช่นเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยด้านไซเบอร์ (Cyber security) คนที่จะมาดูแลเรื่องนี้ต้องเป็นคนที่เราสามารถเชื่อมั่นได้จริงๆ สำหรับการป้องกันข้อมูล

ดังนั้นการเลือกใครที่จะเข้ามาดูแลควรเป็นผู้ดำนเนิการด้านเทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับ มีการพัฒนาระบบการรักษาข้อมูลอยู่ต่อเนื่องเปรียบเสมือน พาร์ทเนอร์ร่วมชีวิต
เพราะข้อมูลส่วนตัวก็ไม่ต่างจากทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต การที่จะให้ใครมาดูเรื่องสำคัญของชีวิตก็ต้องไว้ใจได้ มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน หากเกิดความผิดพลาดรั่วไหล ยังสร้างความเสียหายไปยังพาร์ทเนอรที่ด้วย ทั้งภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในด้านธุรกิจ
“ผมยกตัวอย่างไมโครซอฟท์เราชัดเจนว่าเราจะไม่ขายไม่ใช้ข้อมูลของลูกค้า เราไม่เห็นไม่ดูข้อมูลเลย ลูกค้าจะเป็นคนถือกุญแจส่วนตัวสำหรับดูข้อมูลตัวเอง ไมโครซอฟท์ทำโอเปอร์เรตให้ ส่วนในเรื่อง Cyber security ที่จะมีคนมาโจมตีข้อมูลนั้น ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทที่ลงทุนระดับพันล้านดอลลาร์ย่อมไม่ต้องการให้เกิดความเสียหายหรือเสียชื่อเพราะจะกระทบธุรกิจทั้งหมดของบริษัท” 

เมื่อโลกดิจิทัลกำลังขยับคืบคลานเข้ามาซ้อนทับโลกแห่งความจริงเข้ามาเรื่อยๆ
อย่างมัวแต่หลงระเริงไปกับความสะดวกสบายกับโลกใหม่นี้
อย่างที่ธนวัฒน์ได้แนะนำต้องหยุดตรวจสอบตัวเอง ระมัดระวังในการใช้เทคโนโลยีและ “Re-skill” อยู่เสมอ
ปัจเจกชนใดที่ไม่ฝึกปรือวิธีคิดและวิธีดำเนินชีวิตให้ตนเองมีความปราดเปรียวและความรอบคอบมากพอ
อาจต้องเตรียมเผชิญกับหายนะที่มาอย่างแบบไม่ทันตั้งตัวก็ได้

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า