Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากเมื่อ วันที่ 1 พ.ค. 67 วันแรงงานแห่งชาติ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ประกาศว่า จะมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ ค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ ทุกอาชีพ ในวันที่ 1 ต.ค. นี้

มีความเคลื่อนไหว ทั้งจากฝั่งลูกจ้าง และนายจ้าง ที่วันนี้ (13 พ.ค. 67) พากันมาเข้ายื่นหนังสือกับนายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน ที่กระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงจุดยืน ก่อนการประชุมของคณะกรรมการค่าจ้าง หรือ ไตรภาคี ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (14 พ.ค. 67)

ตัวแทนฝั่งลูกจ้าง นำโดย สมาพันธ์สมานฉันท์แรงงานไทย และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ แสดงจุดยืนสนับสนุนการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ พร้อมแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ของอุปโภคบริโภค ติดป้ายราคามาตั้งหน้ากระทรวงแรงงาน สะท้อนราคาสินค้าในปัจจุบันที่แพงขึ้น พร้อมเตรียมครกและสากกระเบือ มาด้วย ซึ่งนายพิพัฒน์ รมว.แรงงาน ได้ใช้สากกระเบือตำลงไปในครก ที่ติดป้าย 400 บาท เพื่อยืนยันการเดินหน้าเรื่องนี้

ขณะเดียวกัน ตัวแทนฝั่งนายจ้าง นำโดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ก็ได้เข้ายื่นหนังสือ และประชุมร่วมกับผู้บริหารของกระทรวงแรงงาน โดยมีการเสนอผลกระทบการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวัน

เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้ประกอบการ กลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ มีความเห็นร่วมกันว่า เอกชนไม่เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ทั่วประเทศ 400 บาท พร้อมมีความเห็นว่า การปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะเป็นปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังมีปัญหาจากปัจจัยหลายประการที่มีความผันผวน อาทิ ค่าเงินบาท ราคาพลังงาน มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ และสงครามการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจในประเทศไทย

โดย กกร. เห็นด้วยกับการยกระดับรายได้ของแรงงานไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เห็นด้วยกับการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ แต่ควรใช้กลไกจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายจังหวัด และไตรภาคี เป็นผู้พิจารณาให้สอดคล้องกับปัจจัยทางเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ อัตราเงินเฟ้อ อัตราการเจริญ เติบโตของจีดีพี (GDP) ความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง และประสิทธิภาพของแรงงาน

ภาพ : กระทรวงแรงงาน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า