SHARE

คัดลอกแล้ว

ข้อความสนทนาระหว่างผู้เล่นเกมกับ Momo

Momo Challenge ชาเลนจ์สุดสยองที่ชักนำผู้เล่นไปสู่ความตาย กำลังระบาดอย่างหนักในหลายประเทศของอเมริกาใต้ ด้านทางการเร่งเตือนผู้ปกครองช่วยดูแลเด็กๆ อย่างใกล้ชิด

นับตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฏาคมที่ผ่านมา มีไวรัลหนึ่งกำลังระบาดในหลายประเทศของทวีปอเมริกาใต้ เช่น เม็กซิโก, โคลอมเบีย และอาร์เจนตินา นอกจากนี้ ชาเลนจ์ดังกล่าวยังแพร่กระจายไปยังประเทศในทวีปอื่นทั้งในอินเดีย, สหรัฐอเมริกา, ฝรั่งเศส และเยอรมนี ซึ่งไวรัลนี้มีชื่อว่า “Momo Challenge”

แอคเคาท์สยองดังกล่าวใช้ชื่อว่า “Momo” และจะทำการติดต่อกับกลุ่มวัยรุ่นอายุ 12-16 ปี ผ่านแอปพลิเคชัน Whats App ซึ่งผู้เล่นเกมจะถูกท้าทายให้ทักไปยังบัญชีผู้ใช้ที่ชื่อ Momo ซึ่งเมื่อทักไปแล้วทางแอคเคาท์ดังกล่าวก็จะส่งรูปภาพหญิงสาวที่น่าสยอดสยอง พร้อมข้อความข่มขู่ผู้เล่นเกมให้ทำตามชาเลนจ์ของ Momo จนครบทุกข้อ โดยข้อสุดท้ายคือการฆ่าตัวตาย ซึ่งมีรูปแบบคล้ายกับ Blue Whale Challenge ที่เคยระบาดในโลกอินเทอร์เน็ตของรัสเซียก่อนหน้านี้

รูปปั้น “อูบุเมะ” ปั้นโดยไคซุเกะ ไอซาวา

โดยรูปภาพหญิงสาวที่น่าสยดสยองนั้นมาจากรูปปั้นโยไค (ปิศาจในตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น) ชื่อ “อูบุเมะ” ของไคซุเกะ ไอซาวา ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทีมสเปเชียลเอฟเฟกต์ของบริษัท Link Factory ทั้งนี้ทางบริษัท Link Factory และไคซุเกะ ไอซาวา ไม่ได้มีส่วนร่วมกับ Momo Challenge แต่อย่างใด

ที่ผ่านมามีรายงานว่ามีเด็กหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อของ Momo Challenge ฆ่าตัวตายไปแล้ว 4 คน เป็นเด็กหญิงวัย 12 ปี จากอาร์เจนตินา 1 คน, เยาวชน 2 คน ในเมืองบาร์โบซ่าประเทศโคลอมเบีย และเยาวชนชายวัย 18 ปี อีก 1 คน ที่อินเดีย

ด้านทางการของประเทศต่างๆ ต้องออกมาประกาศเตือนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและผู้ปกครอง ให้ระมัดระวังการติดต่อสื่อสารทางโซเชียลมีเดียกับคนแปลกหน้า อีกทั้งยังเตือนให้ผู้ปกครองดูแลการใช้โซเชียลมีเดียของบุตรหลาน และคอยดูแลให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ของเด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อคลายความกดดันรวมถึงเข้าใจความคิดและอารมณ์เด็กมากขึ้น เนื่องจากวัยรุ่นตอนต้นมีความอ่อนไหวทางอารมณ์และเป็นเหยื่อของแรงกดดัน หรือการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต (cyber bullying) ได้ง่ายกว่าวัยอื่น

ผู้เล่นเกมกรีดแขนตัวเองเป็นรูปปลาวาฬ ในเกมวาฬสีน้ำเงินหรือ Blue whale challenge

ก่อนหน้านี้ เกมวาฬสีน้ำเงิน “Blue Whale Challenge” เกมมรณะที่เคยเป็นข่าวโด่งดังอยู่บนโซเชียลมีเดียของรัสเซีย โดยใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นหลัก มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กวัยรุ่นที่ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก ซึ่งอัตราการเสียชีวิตของวัยรุ่นจากการเล่นเกม Blue whale challenge ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่จากสถิติของรัสเซียระบุว่า ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 – เมษายน 2016 มีวัยรุ่นจำนวนกว่า 130 คน เสียชีวิต

โดยกฎกติกาของเกมวาฬสีน้ำเงินคือ ทางผู้ดูแลเกมจะมอบภารกิจให้คนเล่นวันละ 1 ภารกิจ จนครบ 50 วัน  และทุกครั้งๆ เมื่อผู้เล่นทำภารกิจที่ได้รับมอบหมายเสร็จ ก็ต้องถ่ายรูปรายงานผลให้พวกผู้ดูแลเกมดู จนถึงภาระกิจสุดท้ายคือการฆ่าตัวตาย ซึ่งในปี 2016 ทางตำรวจรัสเซียได้จับกุมผู้ต้องสงสัยรายหนึ่ง ชื่อนาย Philip Budeikin  วัย 21 ปี ด้วยข้อหาสนับสนุนการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นจำนวน 15 คน ภายหลังนาย Budeikin ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “จริงๆ แล้ว 17 คนต่างหาก ไม่ใช่ 15 พวกเขาทั้งหมดต่างตายอย่างมีความสุข ผมก็แค่มอบสิ่งที่พวกเขาไม่เคยมีในชีวิตจริง นั่นก็คือ ความอบอุ่น, ความเข้าใจ และเพื่อนฝูง”

นาย Philip Budeikin ผู้ดูแลเกม Blue whale challenge

ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานเรื่องของ Momo Challenge ในไทย แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่มิอาจละเลยได้ เนื่องจากในยุคที่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลก ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องที่ง่ายดาย อีกทั้งเยาวชนไทยแทบทุกคนต่างก็ใช้สื่อโซเชียลมีเดียตลอดเวลา จึงย่อมมีโอกาสที่เด็กบางคนจะถูกชักนำหรือกลั่นแกล้งจากผู้ไม่หวังดีในโลกโซเชียล การสอดส่องดูแลพฤติกรรมการใช้งานสื่อโซเชียลมีเดียจึงมีความสำคัญ

นอกจากนี้ผู้ปกครองยังควรทำความเข้าใจและให้คำปรึกษาแก่เด็กๆ อย่างใกล้ชิด เพราะความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างผู้ปกครองกับเด็ก จะเป็นหนทางในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า