SHARE

คัดลอกแล้ว

เคยได้ยินประโยคที่ว่า ‘เงินซื้อได้ทุกอย่าง’ หรือไม่ อยากได้อะไรไม่ว่าจะราคาเท่าไหร่ก็ซื้อได้ตามใจต้องการ คงเป็นชีวิตที่หลายๆ คนใฝ่ฝัน

แต่สำหรับบางคนมีเงินก็ไม่ได้มีความสุขเสมอไป เหมือนกับอีกหนึ่งประโยคที่ได้ยินบ่อยๆ ว่า ‘เงินซื้อความสุขไม่ได้’ แล้วแบบนี้ประโยคไหนล่ะที่ถูกต้อง

คำถามคือเงินส่งผลต่อความสุขอย่างไร ซึ่งก็ดูเหมือนเป็นเรื่องปกติที่คนส่วนใหญ่จะคิดว่าคนรวยจะมีความสุขมากกว่าคนอื่นๆ

นักจิตวิทยา ‘Ed Diener’ และ ‘Robert Biswas-Diener’ เขียนเรื่อง Happiness (Blackwell Publishing, 2008) ไว้ว่าเงินเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งทางจิตใจ จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะซับซ้อน และยังสังเกตเห็นว่าผลกระทบของเงินต่อความสุขนั้นไม่ได้ใหญ่เท่าที่คิด

ส่วน ‘Sarah Whitmire’ LPC-S, ATR-BC ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพและผู้ก่อตั้ง Whitmire Counseling ได้อธิบายว่า เงินสามารถนำมาซึ่งความสุขหรือความรู้สึกพึงพอใจที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นความสุขได้ เพราะมันช่วยสร้างความมั่นคงและลดความวิตกกังวลและความกลัวทางการเงินได้อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ การศึกษาที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งเมื่อเดือนกันยายน 2010 ระบุว่าความสุขเพิ่มขึ้นตามรายได้จนกระทั่งรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนดที่ประมาณ 75,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราวๆ 2,575,837 บาท หลังจากนั้นความสุขก็ค่อยๆ หายไป

แต่จากการวิเคราะห์งานวิจัยดังกล่าวอีกครั้งในปี 2023 ร่วมกับการศึกษาชิ้นที่สองที่ตีพิมพ์ในเดือนมกราคม 2021 พบว่า ความสุขที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคนที่ไม่มีความสุขอยู่แล้ว ไม่ว่าพวกเขาจะมีรายได้เพิ่มขี้นแค่ไหนก็ตาม

ที่สำคัญส่วนใหญ่แล้วความสุขจากการมีเงินมากมายและความสุขจากการซื้อสิ่งของใหม่ๆ จะหายไปอย่างรวดเร็ว แต่ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นเองบางครั้งกลับให้ความสุขที่ยั่งยืนมากกว่าการมีเงิน

ดังนั้น ถึงแม้คนที่มีเงินมากจะดูมีความสุขมากตามไปด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคนที่มีฐานะทางการเงินไม่ดีจะไม่มีความสุขหรือไม่สามารถมีความสุขได้ แต่การรู้สึกมีความสุขอาจเป็นเรื่องที่ท้าทายกว่าเมื่อเทียบกับคนที่มีฐานะดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอีกหลายคนชี้ให้เห็นว่าการมีเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะรับประกันความสุขได้เลย

การวิจัยใน PNAS Nexus ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2022 พบว่าคนที่หาเงินได้มากกว่ามักจะมีความสุขมากกว่าคนที่หาเงินได้น้อย แต่วิธีที่เงินส่งผลต่อความสุขนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งหมายความว่าความสุขมีความเหลื่อมล้ำกันในหมู่คนที่มีรายได้ต่างกัน

และถึงแม้ว่าความเชื่อมโยงระหว่างเงินกับความสุขจะมีอยู่จริง แต่ยังคงต้องคอยระวังไม่ให้ความสำคัญกับเงินมากเกินไปจนเป็นทุกข์ เพราะความสุขเป็นเรื่องที่ซับซ้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายอย่างมากและเงินเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งเท่านั้น

ดังนั้น ไม่ว่าจะฐานะทางการเงินเป็นอย่างไร จะมีเงินมากหรือน้อยนั้นไม่สำคัญเท่ากับการมีวินัยในการใช้เงิน และอย่าลืมที่จะแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุน เพื่อให้เงินที่มีเติบโตกลายเป็นเงินออมและเงินเกษียณในอนาคต แค่นี้เงินก็ทำให้มีความสุขได้แล้ว

เพราะเงินหามาได้ก็มีวันหมดลงไป และก็อย่าลืมหาความสุขให้ตัวเองง่ายๆ จากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เพราะความสุขอยู่รอบๆ ตัวเรานั่นเอง

ที่มา

https://www.verywellmind.com/can-money-buy-happiness-8679686

https://www.forbes.com/sites/johnjennings/2024/02/12/money-buys-happiness-after-all/

https://edition.cnn.com/2024/07/28/health/happiness-money-wellness/index.html

https://www.oreilly.com/library/view/your-money-the/9780596809430/ch01.html

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า