SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ลิงเก็บมะพร้าว’ กลายเป็นประเด็นที่สังคมไทยเป็นห่วงและวิตกกังวลว่า จะกระทบภาพรวมการส่งออกสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะทิและมะพร้าวแปรรูปของไทยหรือไม่ นับตั้งแต่ พีต้า (PETA) องค์กรพิทักษ์สัตว์ของอังกฤษ ออกมาเรียกร้องให้แบนผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของไทย โดยกล่าวหาว่า ไทยมีการใช้แรงงานลิงเพื่อเก็บมะพร้าว เป็นการทรมานสัตว์ จนทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งในสหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ) เก็บผลิตภัณฑ์กะทิและมะพร้าวของไทย ออกจากชั้นวางขายสินค้าทันที

หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการขายสินค้ากับต่างประเทศต้องรีบออกมาชี้แจง โดย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยืนยันว่า การใช้ลิงเก็บมะพร้าว ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางวัฒนธรรม วิถีชีวิต และการท่องเที่ยวมากกว่า ในภาคอุตสาหกรรมเรียกได้ว่า “ไม่มีปรากฏแล้ว” แต่ภาพที่ใช้ลิงเก็บมะพร้าวในทางการท่องเที่ยวและวิถีชีวิต อาจจะยังไปปรากฏในคลิป แล้วอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน

โดยวันพุธที่ 8 กรกฎาคม มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เชิญผู้ประกอบการ ผู้ลิตที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์กะทิและมะพร้าวเข้าหารือที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อหาแนวทางชี้แจงกับต่างประเทศ พร้อมจับมือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมเชิญทูตที่ประจำอยู่ในประเทศลงพื้นที่ดูของจริงว่า ไทยไม่มีการทรมานลิงเก็บมะพร้าว

(ขอบคุณภาพ FB จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ Aoodda)

ขณะที่ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ที่ต้องทำความเข้าใจกับต่างประเทศ โดยมีการส่งทูตพาณิชย์ในอังกฤษ เข้าพบผู้นำเข้ากะทิและผลิตภัณฑ์แปรรูปมะพร้าวจากไทยทุกราย พร้อมประสานทำความเข้าใจกับองค์กรพิทักษ์สัตว์พีต้าด้วย ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นในตลาดกะทิไทยที่อังกฤษมีอยู่ราว 30% ในร้านอาหาร ร้านขายของชำ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่เจ้าของเป็นคนยุโรป ส่วนอีก 70% ที่เจ้าของเป็นคนเอเชียยังไม่ได้รับผลกระทบ

ส่วนตัวเลขมะพร้าวที่ใช้ลิงเก็บในภาคอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ไม่มีตัวเลขชัดเจน เพราะว่าภาคอุตสาหกรรมแทบจะไม่มี เพราะมะพร้าวที่ใช้ลิงเก็บจะเป็นมะพร้าวขูด กินน้ำ แต่มะพร้าวที่นำไปทำกะทิเป็นมะพร้าวนำเข้าจากต่างประเทศ เพราะปริมาณมะพร้าวในประเทศเราไม่เพียงพอและสม่ำเสมอ

ไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกกะทิอันดับ 1 ของโลก

แม้ไทยจะไม่ใช่ผู้ผลิตมะพร้าวรายใหญ่ของโลก แต่ถ้าในฐานะผู้ผลิตและผู้ส่งออกกะทิ แบรนด์กะทิไทย คืออันดับ 1 ของโลก โดยจากข้อมูลในปี 2562 ไทยผลิตมะพร้าวได้เอง 7.88 แสนตัน ผลิตกะทิ 1.13 แสนตัน แต่ส่งออกกว่า 2.63 แสนตัน ส่วนที่ส่งออกไทยต้องนำเข้ามะพร้าวจากประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 1.7 แสนตัน โดยแหล่งที่นำเข้าส่วนใหญ่ คือ อินโดนีเซีย

ปีที่แล้วไทยส่งออกกะทิไปทั้งหมด 119 ประเทศทั่วโลก มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 412.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท โดย อังกฤษ เป็นตลาดใหญ่อันดับ 3 ที่รับซื้อกะทิจากไทย ที่สัดส่วน 8% ประมาณ 26,686,511 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 32,915,794 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1 พันล้านบาท รองจากสหรัฐอเมริกา (35%) ออสเตรเลีย (9%)

กระแสในโลกโซเชียลมีฟีดแบคอย่างกว้าง

แฮชแท็ก #ลิงเก็บมะพร้าว ขึ้นเทรนด์อันดับต้นๆ ของทวิตเตอร์ไทยและยังปรากฏต่อเนื่องสะท้อนให้เห็นว่าคนในสังคมสนใจและแสดงความห่วงใยต่อประเด็นนี้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของนายนิติพล ผิวเหมาะ ส.ส.พรรคก้าวไกล ทนายความด้านสัตว์และสิ่งแวดล้อม ที่ออกมาระบุว่า ประเทศคู่ค้าหลายประเทศได้ตั้งคำถามเรื่องการใช้ลิงเก็บมะพร้าวมาตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2558 แล้ว ซึ่งตรงกับที่นายจุรินทร์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่า เคยมีการชี้แจงเรื่องลิงเก็บมะพร้าวกับต่างชาติไปแล้วก่อนหน้านี้ด้วย

ขณะเดียวกัน นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นอีกคนที่ออกแสดงความเห็นว่า การจะต่อสู้เรื่องลิงเก็บมะพร้าวแบบถูกวิธี จะใช้การกล่าวหาว่า อังกฤษก็มีการใช้สัตว์ทำงานเหมือนกัน หรือทรมานสัตว์โดยบังคับให้ห่านกินอาการเพื่อให้ตับห่านฟัวส์กรามีขนาดใหญ่ ราคาแรง หรือการล่าสัตว์ แบบที่ในโซเชียลเคลื่อนไหวอยู่ไม่ได้เป็นการต่อสู้ที่ผิดทาง อีกทั้งประเด็นที่องค์กรของอังกฤษไม่ใช่การต่อต้านลิงทำงานเก็บมะพร้าว แต่ต่อต้านการฉกตัวลิงออกจากฝูง เลี้ยงดูโดยขนาดความเมตตา และใช้กรงขังขนาดเล็ก ดังนั้นวิธีสู้ที่ถูกต้อง รัฐบาลต้องยอมรับว่าจำเป็นต้องปรับปรุงวิธีการเลี้ยงลิง และเลี้ยงอย่างไรให้ลิงอยู่กับคนได้อย่างมีมนุษยธรรมโดยปรึกษาองค์กรระดับสากลหาทางออกสายกลาง

ที่สุดแล้วทางออกที่จะการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ซึ่งส่งผลต่อภาพลักษณ์สินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงปีละนับหมื่นล้าน ที่ประเทศจำเป็นต้องพึ่งพาในช่วงวิกฤติทางการค้าที่สินค้าอาหารและเกษตรเป็นรายได้หลักของประเทศจะรอดพ้นข้อครหาได้หรือไม่ต้องติดตาม.

ขอบคุณข้อมูล : สำนักปลัดกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร  /  Thirachai Phuvanatnaranubala – – ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล  / Nitipon Piwmow – นิติพล ผิวเหมาะ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า