SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ. เผย โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย ยังไม่มีการกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงจนกว่าจะเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วย ด้าน นพ.ยง ระบุความยุ่งยากในการควบคุมโรค 5 ข้อ

วันที่ 31 พ.ค. 2565 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความยุ่งยากในการควบคุมโรคฝีดาษลิง 2022 โดยระบุว่า ฝีดาษลิงที่ระบาดในปีนี้ ในยุโรปและอเมริกา มีผู้ป่วยร่วม 500 ราย ส่วนใหญ่ เพศชายถึง 98% และอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20 ถึง 50 ปี

ความยุ่งยากในการควบคุมโรค คือ
1. อาการของโรคไม่ได้รุนแรงแบบไข้ทรพิษ ยังไม่มีใครเสียชีวิตเลย เมื่อมีอาการน้อยบางรายก็ไม่ได้รับการวินิจฉัย
2. ตุ่มที่ขึ้นก็ไม่ได้มาก 30% เกิดในที่ลับ บริเวณอวัยวะเพศ และถ้าไม่มีอาการมาก หรือตุ่มขึ้นน้อยก็จะไม่ได้พบแพทย์
3. โรคนี้ติดต่อเกี่ยวข้องกับเพศสัมพันธ์ เพราะมีการสัมผัสกันอย่างใกล้ชิด
4. ไม่มีหลักฐานในการติดต่อจากสัตว์ หรือเดินทางมาจากแอฟริกา เป็นการติดต่อระหว่างคนสู่คน
5. ถ้าเชื้อฝีดาษลิงที่ระบาดอยู่ขณะนี้ เข้าไปติดยังสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสัตว์ฟันแทะ ในตระกูล หนู กระต่าย กระรอก สัตว์เหล่านี้จะมีอาการน้อยมาก และเป็นพาหะที่จะกระจายโรคได้ จะยากต่อการควบคุมขึ้นอีก และนำไปสู่การเกิดโรคประจำถิ่น

ขณะนี้โรคประจำถิ่นอยู่แอฟริกา มีความกังวลว่า ถ้าติดในสัตว์เลี้ยงที่กำลังระบาดอยู่นี้ ก็อาจประจำถิ่นอยู่ยุโรปต่อไป

⚫ กระทรวงสาธารณสุขยืนยันยังไม่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงในไทย

เมื่อวานนี้กระทรวงสาธารณสุขออกมายืนยันว่าผู้ป่วย 1 รายที่พบนั้นเป็นผู้มาต่อเครื่องในไทย 2 ชั่วโมง บินมาจากประเทศยุโรป เพื่อไปออสเตรเลียเมื่อเดินทางถึงประเทศปลายทางแล้วจึงพบว่าเป็นผู้ป่วยยืนยัน ระหว่างต่อเครื่องผู้ป่วยรายนี้ยังไม่มีอาการป่วย จึงถือว่าผู้สัมผัสใกล้ชิด ไม่ใช่กลุ่มสัมผัสเสี่ยงสูง เพราะตอนใกล้ชิดยังไม่ได้ป่วย จึงไม่เข้าเกณฑ์ผู้ป่วยสงสัย
กรมควบคุมโรคได้ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด คือ ผู้โดยสารเครื่องบิน ลูกเรือ รวม 12 คน ยังไม่พบว่ามีอาการ และจะติดตามให้ครบ 21 วัน

ในส่วนของผู้ป่วยสงสัยฝีดาษลิงที่พบในประเทศไทย จำนวน 5 รายนั้น 3 รายแรกชาวไอร์แลนด์ ที่บินตรงไปที่ จ.ภูเก็ต และอีก 2 ราย ในเที่ยวบินเดียวกัน ผลตรวจยืนยันตรงกันว่าไม่ใช่ฝีดาษลิง แต่เป็นผู้ป่วยโรคเริม

ทั้งนี้ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เคร่งครัด รัดกุมในการทำงานเพื่อปกป้องประชาชนชาวไทยให้ปลอดภัย ขอให้ประชาชนร่วมกันสอดส่องดูแล โดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดนิยามผู้ป่วยสงสัย ดังนี้

1. มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส ร่วมกับอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง หรือต่อมน้ำเหลืองโต ไม่ว่าจะที่คอ ศอก ขาหนีบ
2. มีผื่นตามลำตัว ใบหน้า แขนขา ลักษณะเริ่มจากผื่น ตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง และตุ่มตกสะเก็ด
ดังนั้น แม้จะไม่มีไข้ แต่มีผื่นเหล่านี้ ก็นับเข้านิยาม โดยทั้งหมดนี้จะร่วมกับประวัติเชื่อมโยงระบาดวิทยา ภายใน 21 วัน หรือก่อนมีอาการ คือ
1. มาจากหรืออาศัยในประเทศที่รายงานการระบาดฝีดาษลิง เช่น แอฟริกา แคนาดา สเปน โปรตุเกส และอังกฤษ
2. ร่วมกิจกรรมในงานที่พบผู้ป่วยฝีดาษลิง หรือมีอาชีพสัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ
3. สัมผัสใกล้ชิดสัตว์ป่า

กระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง ไม่ใช่โรคติดต่ออันตราย จึงยังไม่มีการเริ่มกักตัวจนกว่าจะเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยก่อน ซึ่งกรมควบคุมโรคเตรียมทีมสอบสวนโรคทุกจังหวัด หากพบผู้ป่วยเข้ามาต้องสอบสวนให้ทันภายใน 24 ชั่วโมงแรก รวมถึงติดตามเตรียมเวชภัณฑ์ ยา และวัคซีนด้วย

ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า