SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงความคืบหน้าวันนี้ (23 ก.ค. 2565) กรณี ผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงชาวไนจีเรีย หลบหนีออกนอกประเทศตามเส้นทางธรรมชาติ ล่าสุดพบข้อมูลว่า นักท่องเที่ยวคนนี้ประวัติน่าจะไม่ธรรมดา มีคนช่วยเหลือหลบหนีในประเทศจนออกนอกประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ ตามข้อมูลที่พบจากตำรวจคือ ทราบว่าสัญญาณมือถืออยู่ในพื้นที่ จ.สระแก้ว ตามแนวชายแดน

จากการค้นหาประวัติข้อมูลของผู้ป่วยชาวไนจีเรีย พบว่าชายรายนี้มาจากเมืองอาบูจา ประเทศไนจีเรีย เดินทางมาไทยเพื่อเรียนภาษาที่ จ.เชียงใหม่ แต่ก็ไม่ปรากฏข้อมูลการทำกิจกรรมใดๆ

ขณะที่คณะผู้เชี่ยวชาญ องค์การอนามัยโลก ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข มีการประชุมครั้งที่ 2 เบื้องต้นระบุว่าโรคฝีดาษลิงยังไม่เป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ ซึ่งลักษณะโรคฝีดาษลิง มีความรุนแรงไม่มาก หลังระบาดมา 2 เดือน มีผู้ป่วยประมาณ 14,000 รายทั่วโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่หายเองได้ ผู้เสียชีวิตค่อนข้างน้อยมาก

กระทรวงสาธารณสุข ขอความร่วมมือกระทรวงต่างประเทศให้ประสานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา) เฝ้าระวังผู้ป่วยชาวไนจีเรียที่หลบหนีไป ในด้านสาธารณสุขให้ประชาชน รวมถึงได้ประสานหน่วยงานท้องถิ่น พื้นที่ จ.สระแก้ว ให้เฝ้าระวัง

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการเชิงรุกค้นหาผู้สัมผัสผู้ป่วยรายนี้ พบมีผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง 19 ราย ไม่มีอาการป่วย ส่งตรวจไปยังห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ทั้งหมดแล้ว ผลออกมาไม่พบเชื้อ 2 ราย อยู่ระหว่างการตรวจและรอผลอีก 17 ราย และมีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำอีก 14 ราย ส่วนการค้นหาเชิงรุกมีจำนวน 142 ราย ไม่พบอาการผื่น แต่มีอาการอื่นๆ คือ ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 6 ราย ส่งตรวจแล้ว 5 ราย ผลออกมาไม่พบเชื้อ ไปต่างประเทศ 1 ราย

ขณะเดียวกันยังได้ค้นหาผู้ค้นหาเชิงรุกสำหรับผู้ที่มีอาการผื่นขึ้น รวมถึงผู้ที่มารับการรักษาจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่โรงพยาบาลหรือคลินิก โดยการสุ่มตรวจและถามข้อมูลย้อนหลังว่าสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยชาวไนจีเรียหรือไม่ เบื้องต้นมี 183 ราย แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิด แค่เป็นการค้นหาเชิงรุกย้อนหลัง

“ฝีดาษลิง ความรุนแรงต่ำกว่าโควิด-19 มาตรการก็คือไม่ได้กักตัวเข้มข้น แต่จะใช้การสังเกตอาการผู้ที่สัมผัสหรือผู้ที่มีความเสี่ยงอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะพ้นระยะฟักตัวของโรคคือ 21 วัน พร้อมยกระดับเฝ้าระวังเพิ่มเติม โดยเฉพาะการส่งตรวจหาเชื้อชาวต่างชาติ ถ้ามีผู้ต้องสงสัยตุ่มผื่นขึ้น หรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อธิบายไม่ได้” นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส ตอบคำถามสื่อมวลชน

คำถาม : หากปัสสาวะกระเด็นใส่ติดเชื้อไหม

คำตอบ : คือไม่ติด เชื้ออยู่ตามตุ่มตามหนองและต้องสัมผัสใกล้ชิดจริง เดินเฉียดกันไม่ติดแน่นอน เปรียบเทียบให้เห็นภาพคือติดยากกว่าโรคเอส์ ความรุนแรงน้อยกว่าติดยากกว่า ตุ่มน่ากลัว 2 สัปดาห์ก็แห้งและหายไปไม่แพร่เชื้อ

คำถาม : ความเสี่ยงฝีดาษลิงในเด็กเล็ก

คำตอบ : โรคนี้สายพันธุ์ที่ระบาด ความรุนแรงค่อนข้างน้อย ผู้เสียชีวิตมีไม่มาก ทุกโรคติดต่อ กลุ่มเปราะบาง เวลาติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมผัสผู้ป่วย ส่วนใหญ่กลุ่มเสียงเป็นเป็นชาย อายุช่วงวัยรุ่น – วัยกลางคน เด็กเล็กโอกาสติดค่อนข้างน้อยไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า