SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เตรียมยกระดับ ‘แล็บเอกชน’ ปลดล็อกให้ตรวจหา ‘ฝีดาษลิง’ รองรับสถานการณ์ หลังพบชายต้องสงสัยติดเชื้อถูกส่งต่อไปหลายโรงพยาบาล ยืนยัน ไทยยังไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (รมช.สาธารณสุข) ยืนยันว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงอย่างเป็นทางการเพียงรายเดียว คือ ชายชาวไนจีเรียที่ออกจากไทยไปแล้ว ส่วนชายชาวไทยต้องสงสัยที่ปรากฏเป็นข่าวนั้นจะต้องรอผลตรวจจากห้องปฏิบัติการก่อน

และจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จัดทำประกาศเพื่อเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามปลดล็อกให้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (Lab) ระดับ 2 หรือแล็บทั่วไป สามารถตรวจหาเชื้อโรคฝีดาษลิงได้ว่า จะต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัยเป็นระดับ 2+ โดยเหตุผลที่แล็บทั่วไปยังไม่สามารถตรวจเชื้อฝีดาษลิงได้เป็นไปเพื่อคงให้อยู่ในมาตรฐาน เพราะเชื้อฝีดาษลิงมีความเฉพาะเจาะจง และต้องใช้เทคนิคมากขึ้น

“วันนี้จะมีการลงนามยกระดับให้แล็บระดับ 2 สามารถตรวจหาเชื้อฝีดาษวานรได้ เนื่องจากที่ผ่านมาแล็บที่ตรวจเชื้อฝีดาษลิงได้นั้นจะมีเฉพาะในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และแล็บของกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์เท่านั้น และเมื่อสามารถรับรองให้เอกชนสามารถตรวจหาเชื้อฝีดาษลิงได้ ก็จะสามารถตรวจหาเชื้อได้มากขึ้น พบเชื้อได้เร็วขึ้น” รมช.สาธารณสุข กล่าว

  • เกณฑ์อาการคนป่วยฝีดาษลิง พร้อมวางแนวทางการรักษาให้กับโรงพยาบาล-คลินิก

พญ.นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงแนวทางการคัดกรองโรคฝีดาษลิง ตามแนวทางของกรมควบคุมโรค แบ่งกลุ่มผู้ป่วย ออกเป็น 3 กลุ่ม

  1. ผู้ป่วยเข้าข่าย หมายถึงมีอาการเข้าได้กับโรคฝีดาษลิง มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยัน
  2. ผู้ป่วยสงสัย คือ คนที่อยู่ระหว่างการรอผลตรวจโรค
  3. ผู้ป่วยยืนยัน คือ ผลจากห้องปฏิบัติการพบว่าติดเชื้อ

เกณฑ์การรักษาผู้ป่วยรุนแรง (ทุกคนต้องแอดมิทเพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายโรคและเพื่อติดตามอาการ) ระยะเวลากักตัวจนสะเก็ดแผลแห้งประมาณ 14-21 วัน

  1. รักษาแบบประคับประคอง ให้การรักษาตามอาการ
  2. รักษาแบบเฉพาะ การใช้ยาต้านไวรัสคล้ายกับไข้ทรพิษ และสุกใส ยาต้านไวรัส Tecovirimat (TPOXX) ในกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรง

สำหรับอาการโรคฝีดาษลิง จะมีไข้ ปวดเมื่อยศีรษะตามร่างกาย ปวดหลัง อาการเด่นชัด ต่อมน้ำเหลืองโต รักษาเน้นประคับประคอง จัดอยู่ในกลุ่มโรคที่มีลักษณะของตุ่มน้ำ ตามผิวหนัง ใกล้เคียงหลายโรค ซึ่งแนวทางการแยกโรค จะมีการประชุมของกรมการแพทย์ และสรุปส่งให้ทาง EOC กระทรวงสาธารณสุขพิจารณา

อาการฝีดาษลิงมีลักษณะตุ่มไหน

ระยะที่ 1 มีตุ่มแดงขึ้น

ระยะที่ 2 ตุ่มพัฒนากลายเป็น ตุ่มนูน

ระยะที่ 3 ตุ่มกลายเป็นหนอง

ระยะที่ 4 ตุ่มแตก ซึ่งการแพร่เชื้อและติดต่อจะเกิดในระยะที่ 3 และ 4

ผื่น หรือตุ่มที่ผิวหนัง หรือเคยมีผื่นหรือตุ่มกระจายตามใบหน้า ศีรษะ ลำตัว อวัยวะเพศ และรอบทวารหนัก แขน ขา หรือฝ่ามือฝ่าเท้า เป็นผื่นหรือตุ่มลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด มีประวัติเชื่อมโยงทางระบาดวิทยา ภายใน 21 วัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า