Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรคเผยเกณฑ์สอบสวน ‘โรคฝีดาษลิง’ ผู้เดินทางจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดเข้าไทยต้องแยกตัวไปพบแพทย์ ยืนยันไทยยังไม่พบผู้ป่วยโรคนี้

วันที่ 25 พ.ค. 2565  กรมควบคุมโรค เปิดเผยคำนิยมผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคฝีดาษลิง สำหรับด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ โดยผู้เดินทางที่มีอาการดังต่อไปนี้ คือ

  1. ไข้ (ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส) หรือประวัติมีไข้ ร่วมกับมีอาการหนึ่งอาการ ดังต่อไปนี้ ได้แก่ เจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง และต่อมน้ำเหลืองโต
  2. มีผื่นกระจายตามลำตัว มีลักษณะเป็นตุ่มนูน ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนอง หรือตุ่มตกสะเก็ด

สำหรับอาการของผู้ป่วยจะมีระยะฟักตัว (วันที่สัมผัส ถึงวันเริ่มป่วย) 5-21 วัน โดยผู้ป่วยจะมีอาการป่วยไม่รุนแรง ถึงรุนแรงปานกลาง แบ่งเป็น 2 ช่วง คือ

ช่วงอาการนำ (วันที่ 0-5) มีไข้ ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อและหมดแรง ผู้ป่วยสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่อาการแรกที่มี มักจะเป็นอาการไข้ แต่ระยะออกผื่นมักจะเป็นช่วงที่สามารถแพร่เชื้อได้มาก

ช่วงออกผื่น (ภายใน 1-3 วันหลังมีไข้) มีลักษณะการกระจาย เริ่มจากบริเวณหน้า และกระจายไปส่วนต่างๆ ของร่างกาย (Centrifugal pattern)
ทั้งนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายเองได้ แต่สามารถพบผู้ป่วยมีอาการรุนแรงได้ ในเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพส่วนบุคคล เช่น มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น หรือในผู้ที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อซ้ำซ้อน ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ การติดเชื้อเข้ากระแสเลือด และการติดเชื้อที่กระจกตา อาจนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็น

กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่าขณะนี้มีประเทศที่พบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง 22 ประเทศ 309 คน ได้แก่ อังกฤษ สเปน โปรตุเกส อิตาลี เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี สวีเดน สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย อิสราเอล เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรีย โมร็อกโก สกอตแลนด์ นอเวย์ และสโลวาเกีย ยังไม่พบผู้ติดเชื้อในไทย

  • กทม. ติดตามสถานการณ์พร้อมเฝ้าระวังโรคฝีดาษลิงใกล้ชิด

นางวันทนีย์  วัฒนะ รองปลัดกทม. กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงที่พบในหลายประเทศว่า โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิง พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้

สำนักการแพทย์ กรุงเทพฯ ได้เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฝีดาษลิงตามแนวทางกระทรวงสาธารณสุข แม้ในพื้นที่กรุงเทพฯ จะยังไม่ตรวจพบผู้ติดเชื้อ แต่เพื่อป้องกันการระบาดที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากในระยะนี้เป็นช่วงที่เริ่มเปิดให้มีการเดินทางเข้าประเทศได้มากขึ้น อาจมีความเสี่ยงจากผู้เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด การเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำธุรกิจ ในประเทศกลุ่มเสี่ยง อาจมีโอกาสติดเชื้อและนำกลับมายังประเทศได้ โดยมีกลุ่มเสี่ยงคือ แรงงานต่างชาติ หรือคนไทยที่ไปทำงานในประเทศที่มีการติดเชื้อ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการท่องเที่ยว

รองปลัด กทม. กล่าวว่า โรคฝีดาษลิง เป็นโรควินิจฉัยได้ยาก อาการของโรคจะแสดงหลังจากติดเชื้อไปแล้วประมาณ 7-14 วัน โดยมีอาการคล้ายโรคฝีดาษ ผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย บางกรณีอาจมีอาการไอหรือปวดหลังร่วมด้วย หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้นโดยเริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง และสุดท้ายตุ่มหนองจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา อาการป่วยดังกล่าวจะเป็นอยู่ประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ แต่ในกรณีผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิต

วิธีการป้องกันให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยเฉพาะลิง และหนู หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงและสิ่งของของผู้ป่วย รวมถึงลมหายใจของผู้ป่วย หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลทำความสะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสสัตว์ หรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะ ใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อไปในสถานที่เสี่ยงมีโรคระบาด ถ้าพบผู้ป่วยให้แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้อื่น การฉีดวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษ แม้วัคซีนป้องกันไข้ทรพิษจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อดังกล่าวได้ แต่การฉีดควรทำเฉพาะในบุคคลที่ต้องทำงานมีความเสี่ยงหรือใกล้ชิดกับคนหรือสัตว์ที่ติดเชื้อเท่านั้น และวัคซีนยังสามารถรับได้ภายหลังการได้รับเชื้อไม่เกิน 14 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า