SHARE

คัดลอกแล้ว

อนุสาวรีย์ถูกสร้างเพื่อจดจำเชิดชูความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ให้สถิตสถาพร แต่เกิดอะไรขึ้นเมื่อเรื่องเล่าของอนุสาวรีย์ไม่สอดรับกับค่านิยมในสังคมปัจจุบันแล้ว มีการ “รื้อ” เกิดขึ้นจริง ๆ และส่วนที่เหลือก็มีความพยายามในการรื้อสร้างความหมายใหม่ขึ้นมา

หลังความเคลื่อนไหวแบล็กไลฟส์แมทเทอร์กระจายไปทั่วโลก มีคนออกมาทำลายอนุสาวรีย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ติด ๆ กันในประเทศต่าง ๆ ท่ามกลางการถกเถียงว่าสัญลักษณ์แห่งบาดแผลในอดีตควรถูกลบออกไปโดยสิ้นเชิงเพื่อฝังกลบ หรือควรเป็นเครื่องย้ำความทรงจำไม่พึงประสงให้เป็นที่จดจำตลอดไป

รูปปั้นของเอ็ดเวิร์ค คอลสตัน พ่อค้าทาสชาวอังกฤษเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรก ๆ ที่ถูกทำลาย หลังการประท้วง Black Lives Metter แพร่ขยายไปถึงสหราชอาณาจักร

เอ็ดเวิร์ค คอลสตันเป็นพ่อค้าทาสในศตวรรษที่ 17 ระหว่างปี 1672-1689 เรือของเขาขนส่งคนแอฟริกากว่า 80,000 คนสู่ทวีปอเมริกาจนร่ำรวยมหาศาล พอเสียชีวิตเขาอุทิศเงินให้การกุศาลทำให้ชื่อของงเขาถูกจารึกตามที่ต่าง ๆ ในเมืองบริสทอล ไม่ว่าจะเป็นถนนหรืออาคารต่าง ๆ

อนุสาวรีย์ของเขาตั้งอยู่ที่ถนนคอลสตันกลางเมือง ก่อนหน้านี้มีกระแสเรียกร้องให้นำอนุสาวรีย์ของเขาออกมาหลายสิบปี สภาเมืองเสนอให้ทำแผ่นจารึกที่ปลายรูปปั้นว่าเขาเคยทำการค้าทาส มีการเสนอให้ทำสถาบันที่ศึกษาการค้าทาสของเขาโดยเฉพาะเพื่อจดจำความโหดร้ายทารุณ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีบางอาคารสถานที่ประกาศการเลิกใช้ชื่อของเขาเพื่อเลิกเชิดชูการค้าทาส

วันที่ 7 มิถุนายน 2563 ผู้ประท้วงในเมืองบริสทอลของอังกฤษโค่นรูปหล่อของเขาลงมาลงมา กลิ้งไปตามถนนและโยนลงทะเล ล่าสุดทางการเอารูปปั้นกลับขึ้นมาแล้ว

อนุสาวรีย์สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียก็ไม่พ้น ตกเป็นเป้าโจมตีของผู้ประท้วง

ภาพนี้เห็นนี้คืออนุสาวรีย์บริเวณสวนวูดเฮ้าส์ มอร์ในเมืองลีดส์ ประเทศอังกฤษ เป็นรูปหล่อบรอนซ์ สร้างขึ้นโดยจอร์จ แฟรมตันตั้งแต่ปีค.ศ. 1905 ตอนแรกตั้งอยู่ที่หน้าศาลากลางจังหวัดก่อนย้ายมาที่สวนแห่งนี้ปีค.สง 1937 รูปปั้นในตำแหน่งนี้ถูกทำลายใบหน้าและพ่นคำว่า “ฆาตกร” และ “นายทาส”

สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียขึ้นครองราช 4 ปีหลังอังกฤษออกกฎหมายเลิกทาส แต่ตลอดรชสมัยมีการขยายจักรวรรดิอังกฤษออกไปอย่างกว้างขวางโดยดำรงนโยบายแบบจักรวรรดินิยม นโยบายแบบนี้ทำให้อังกฤษกลายเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก แต่ในสายตาผู้ถูกกดทับมองว่าเธอเป็นสัญลักษณ์ของการล่าอาณานิคมที่แสวงหาประโยชน์จากดินแดนอื่น

อนุสาวรีย์แห่งนี้ทางการเอาลงเอง ไม่ต้องรอให้ผู้ประท้วงมาก่อน

โรเบิร์ต มิลลิแกน เป็นชาวสก๊อตที่เป็นเจ้าของไร่อ้อยในจาไมกา ในยุคศตวรรษที่ 18 การมีไร่อ้อยในสมัยนั้นก็หมายความว่ามีส่วนร่วมในการซื้อขายทาสมาใช้แรงงานอย่างหนักเพื่อให้ได้มาเพื่อผลผลิต แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนส่งเงินกลับมาสร้างท่าเทียบเรือเวสอินเดียในกรุงลอนดอน นี่เองคือสาเหตุที่ทำให้เขามีอนุสาวรีย์ของตัวเองตั้งอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ลอนดอนดอกแลนด์ ซึ่งอยู่ในย่านที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์มาอยู่รวมกัน

พอกระแสการทำลายรูปปั้นมาพร้อมกับขบวนการเรียกร้องความเท่าเทียมทางชาติพันธุ์ นายจอห์น บิกส์ ผู้ว่าการเขตทาวเวอร์แฮมเล็ตก็รู้สึกว่าไม่เหมาะที่จะให้รูปปั้นตั้งอยู่ตรงนั้นอีกต่อไปแล้ว จึงพูดคุยกับองค์กรที่ชื่อ the Canal and River Trust ที่เป็นเจ้าของพื้นที่ที่รูปปั้นตั้งอยู่ สุดท้ายตัดสินใจนำรูปปั้นลงเอง

อนุสาวรีย์แห่งนี้ถูกถอนออกจากแท่นเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (9 มิถุนายน 2563) ระหว่างที่มีการรื้อถอนประชาชนที่มาดูส่งเสียงโห่ร้อง แต่ไม่เกิดความวุ่นวายดังที่ปรากฎในเหตุการณ์ถอนรูปปั้นพ่อค้าทาสอีกคนที่เมืองบริสทอล

อนุสาวรีย์ของฮีโรสมัยสงครามโลกครั้งที่สองอย่างวินสตันเชอร์ชิลที่ตั้งอยู่จตุรัสรัฐสภาก็หนีไม่พ้นเช่นเดียวกัน ถูกพ่นสีว่า “เชอร์ชิลเป็นพวกเหยียดผิว” ไว้ที่ฐาน

แม้ด้านหนึ่งเชอร์ชิลจะเป็นฮีโรสงครามที่นำอังกฤษรอดพ้นจากเงื้อมมือของนาซี แต่เชอร์ชิลก็พูดเหยียดไว้หลายชนชาติด้วยกัน ไม่ว่าจะเคยบอกว่าเขาเกลียดคนตาตี่ไว้ของเปีย ว่าคนอินเดียว่าเป็นคคนป่าเถื่อนอันดับสองรองจากคนเยอรมัน หรือกล่าวว่าเขาเชื่อว่าคนดำมีความสามารถด้อยกว่าคนขาวรองประธานาธิบดีอเมริกาในสมัยนั้นบันทึกไว้ว่าเชอร์ชิลเคยบอกเขาว่าไม่เสียใจเลยที่คิดว่าคนแองโกลแซกซอน (คนเชื้อสายอังกฤษ-อเมริกา) ดีที่สุดในโลกเพราะเราเหนื่อว่าจริง ๆ เพราะมีมรดกอันยาวนานสั่งสมมาหลายร้อยปี

ความคิดเห็นของเชอร์ชิลในสมัยนั้นถือว่าไม่แปลก เพราะเขาเติบโตมาในช่วงที่จักรวรรดิอังกฤษเกรียงไกร แต่เมื่อเวลาผ่านไปอังกฤษมีความหลากหลายมากขึ้น มีการรื้อสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ตลอดเวลา เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ส่วนตัวของเชอร์ชิลก็ย่อมหนีไม่พ้นถูกรื้อสร้างใหม่โดยสังคมปัจจุบันเช่นเดียวกัน

อนุสาวรีย์ของโรเบิร์ต ดันแดสต่างจากคนอื่นที่ไม่ได้ถูกทำลายจากผลของการกระทำของเขาโดยตรง แต่คนเกลียดชังพ่อของเขาต่างหาก

พ่อของโรเบิร์ด ดัสแดนคือเฮนรี ดันแดส เป็นนักกฎหมายและนักการเมืองชาวสก๊อตที่ใช้อิทธิพลของตัวเองขัดขวางการเลิกทาสทำให้การเลิกทาสในสหราชอาณาจักร เกิดขึ้นช้ากว่าที่ควรจะเป็น 15 ปี ทำให้ทาสกว่า 6 แสนคนต้องรอคอยยาวนานขึ้นก่อนจะเป็นอิสระในที่สุดในปี 1807

เฮนรี ดันแดส มีรูปปั้นของตัวเองอยู่ที่เอดินเบิร์กเช่นเดียวกัน ซึ่งรูปปั้นของเขาก็ถูกพ่นกราฟฟิตี้ใส่

ทายาทในปัจจุบันของตระกูลดันแดสร้องขอให้ทางการเอารูปปั้นบรรพบุรุษออกไปเพราะเชื่อเหมือนกันว่าหากไม่มีบรรพบุรุษของตนคนก็คงจะเป็นอิสระเร็วขึ้น และเชื่อว่าญาติคนอื่น ๆ ก็คงเห็นด้วยกับความคิดนี้

โรเบิร์ต ดันแดสไม่ได้ถูกเกลียดชังมากเท่าพ่อ แต่คนก็มองว่าเขาได้รับมรดกตกทอดจากความรุนแรง ระหว่างการประท้วง Black Lives Matter นี้รูปปั้นคนก็ถูกพ่นคำว่า “ลูกชายคนค้าทาส” และ “คนได้ประโยชน์จากการล่าอาณานิคม”

ส่วนเบลเยี่ยมก็มีกรณีการทำลายอนุสาวรีย์เหมือนกัน อนุสาวรีย์ที่เป็นเป้าคือรูปปั้นของกษัตริย์ลีโอโปลด์ที่สอง

ก่อนหน้านี้ชาวเบลเยี่ยมถูกสอนที่โรงเรียนว่าประเทศของตนนำเอาอารยธรรมไปมอบให้ทวีปแอฟริกาโดยมีกษัตริย์ลีโอโปลด์ที่ 2 เป็นไอคอนแห่งเรื่องเล่านี้ มีชื่อและสวนสาธารณะต่าง ๆ ตั้งชื่อตามพระเจ้าลีโอโปลด์ที่ 2 ไปทั่วประเทศ

ไม่กี่สิบปีมานี้เองที่ประชาชนกลับมาทบทวนเรื่องเล่าใหม่ก่อนพบว่าสิ่งที่ถูกเล่าจริง ๆ แล้วคือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวคองโกครั้งใหญ่ มีการเข่นฆ่ากระทำความรุนแรงต่อชาวคองโก

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างที่มีการเดินขบวน Black Lives Matter ในเบลเยี่ยมผู้ประท้วงส่วนหนึ่งขึ้นไปป่ายปีนบนรูปปั้น พ่นสี และตะโกนคำว่าฆาตกร

เมื่อวันอังคารที่ 9 มิถุนายน 2563 ประชชาชนชาวเบลเยี่ยมกว่า 65,000 ร่วมลงชื่อให้ถอนรูปปั้นของกษัตริย์องค์นี้ออกจากสถานที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ค้นพบทวีปอเมริกาตกเป็นเป้าการทำลายอยู่แล้วในการประท้วงของกลุ่มสีผิวต่าง ๆ เพราะเป็นสัญลักษณ์แห่งการเข่นฆ่าชนพื้นเมืองและการล่าอาณานิคม ครั้งนี้อนุสาวรีย์ของโคลัมบัสในพื้นที่ต่าง ๆ ก็ถูกทำลายด้วยเหมือนกัน

ในเวอร์จิเนีย (ภาพซ้าย) ผู้ประท้วงโค่นอนุสาวรีย์ลงมา ราดเชื้อเพลิงแล้วจุดไฟ ก่อนลากไปตามถนนแล้วโยนลงในบ่อน้ำใกล้ๆ

ขณะที่อนุสาวรีย์โคลัมบัสในเมืองบอสตันถูกตัดหัวไปเลย ทั้งที่เป็นอนุสาวรีย์ใหม่ที่เพิ่งมาตั้งแทนอนุสาวรีย์โคลัมบัสรูปเก่าที่เพิ่งถูกทำลายไป

นอกจากอนุสาวรีย์ของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส อนุสาวรีย์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงครามกลางเมืองฝ่ายใต้ในสหรัฐอเมริกาถูกถอนออกตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาทั้งโดยช่องทางการเรียกร้องต่อสภาเมืองให้อนุมัติถอนออกไปและจากการที่ประชาชนที่ไม่พอใจแอบทำลายเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า