SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้หรือไม่ว่าเวลาโรงงานผลิตตัดเย็บเสื้อผ้า แทบทุกล็อตจะมี ‘ผ้าเหลือ’ เกิดขึ้น

.ผ้าเหลือที่ว่าไม่ใช่ ‘เศษผ้า’ ชิ้นเล็กชิ้นน้อยอย่างที่หลายคนคิด แต่เป็นผ้าที่ยาวหลายสิบเมตร หนักหลายสิบกิโลกรัม จนบางครั้งก็เอามาตัดเสื้อได้อีก 50-60 ตัว

ตัวเลขนั้นอาจดูไม่เยอะ แต่ถ้ารวมทุกโรงงานในประเทศไทยแล้ว แต่ละปีมีผ้าเหลือเกิดขึ้นมากถึง 350 ล้านกิโลกรัม ผลิตเสื้อได้มากถึง 700 ล้านตัวเลยทีเดียว

ซึ่งโดยปกติ โรงงานจะขายผ้าเหลือเหล่านี้ไปในราคาถูกมากจนเรียกได้ว่า ‘ขายทิ้ง’ ทั้งที่จริงๆ แล้วมีมูลค่าสูงกว่านั้นมาก ขณะที่โรงงานบางแห่งเก็บไว้ในโกดังจนผ้าเก่าเสื่อมสภาพไปอย่างน่าเสียดาย

และจะดีแค่ไหน หากเราได้นำผ้าเหลือเหล่านั้นกลับมาใช้ผลิตเสื้อผ้าต่อ ลดการใช้ผ้าผืนใหม่ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิตผ้าได้

นั่นทำให้ ‘พล’ และ ‘แอ๋ม’ เข้ามาปลุกปั้นแพลตฟอร์มอย่าง ‘moreloop’ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการชุบชีวิตผ้าเหลือเหล่านี้ให้ได้นำมาใช้งานอย่างมีคุณค่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

แล้ว moreloop เข้ามาแก้ปัญหาผ้าเหลือจากโรงงานอย่างไรบ้าง TODAY Bizview ชวนพูดคุยกับสองผู้ก่อตั้งแห่ง moreloop กัน

[ moreloop เกิดจาก Passion ผสม Painpoint ]

จุดเริ่มต้นของ moreloop เรียกได้ว่ามาจาก Passion และ Painpoint ผสมกัน

Passion ที่ว่ามาจาก ‘พล-อมรพล หุวะนันทน์’ อดีตนักการเงินที่ไปประกวดสตาร์ทอัพเกี่ยวกับตลาดออนไลน์และได้รางวัลกลับมา

เขาไม่ได้ทำธุรกิจสตาร์ทอัพนั้นต่อ เพราะตอนนั้นเขาเริ่มเห็นถึงปัญหาของเหลือและขยะจากโรงงานต่างๆ และมองว่า waste เหล่านี้น่าจะเป็นทรัพยากรที่นำมาหมุนเวียนได้ผ่านตลาดออนไลน์ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มไปที่ของเหลือจากอุตสาหกรรมไหนดี

จังหวะความบังเอิญของชีวิต ‘แอ๋ม-ธมลวรรณ วิโรจน์ชัยยันต์’ ที่สานต่อกิจการโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกของที่บ้าน และเกิด Painpoint ว่าเสียดายผ้าเหลือที่จะต้องชั่งกิโลขายไปในราคาถูก เธอลองเอามาผลิตเสื้อผ้าขายเอง แต่ก็ไม่ใช่ทางที่ถนัดสักเท่าไหร่

ความที่แอ๋มรู้จักกับพลอยู่แล้ว และเห็นพลโพสต์ว่าไปประกวดสตาร์ทอัพมาเลยโทรมาคุยด้วย แอ๋มเล่าให้พลฟังถึงปัญหาที่เธอพบเจอ ทั้งคู่เลยเกิดไอเดียทำ moreloop ขึ้น บนเป้าหมายที่ว่า “อยากจะลดขยะที่เกิดขึ้นจากการผลิตเชิงอุตสาหกรรม หรือ mass production”

ทั้งคู่อธิบายว่า ‘ผ้าเหลือ’ หรือ ‘ผ้าส่วนเกิน’ ที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก ‘กลไกการผลิต’ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ที่เวลาจะตัดเย็บเสื้อผ้าแต่ละล็อต โรงงานมักจะสั่งผ้ามาเผื่อเหลือประมาณ 3-5% อยู่แล้ว

เพราะถ้าหากสั่งมาพอดีเกินไป แต่สุดท้ายเกิดความผิดพลาด-ไม่พอใช้ โรงงานจะต้องสั่งผ้าผืนใหม่ที่อาจต้องใช้เวลารอผ้านานถึง 60 วัน หรืออาจมากกว่านั้นด้วยซ้ำ

ยังไม่รวมว่าการสั่งผ้าผืนใหม่ ก็อาจต้องสั่งทีละ 100 กิโลกรัม ดังนั้น การสั่งผ้าเผื่อเหลือสัก 10-20 กิโลกรัมตั้งแต่ครั้งแรก ก็เป็นสิ่งที่ป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียที่มากกว่าเดิมนั่นเอง

ทั้งคู่มองว่าผ้าเหลือเหล่านี้มีมูลค่ามากกว่าจะชั่งกิโลขายไปในราคาถูก น่าจะยังมีคนต้องการใช้ เช่น ดีไซเนอร์มือใหม่ที่อยากได้วัสดุที่ไม่มีในท้องตลาดทั่วไปในราคาน่ารัก หรือคนที่อยากผลิตเสื้อผ้าในปริมาณน้อยๆ

ผ้าเหลือ หรือผ้าส่วนเกินที่เหลือจากการผลิตเสื้อผ้า

ซึ่ง moreloop เป็นแพลตฟอร์มตัวกลางเชื่อมระหว่างโรงงานที่ต้องการขายผ้าเหลือ และคนที่ต้องการผ้าเหล่านี้ โดยทำหน้าที่เป็นตลาดออนไลน์ให้โรงงานมาวางขายผ้าเหลือ

โดยที่ moreloop จะนำข้อมูลผ้าจากแต่ละโรงงานมาอยู่บนเว็บไซต์ ช่วยตอบคำถามลูกค้าที่สนใจซื้อผ้าผ่านทางออนไลน์ และมีตัวอย่างผ้าไว้ที่ออฟฟิศให้ลูกค้ามาดูได้

โดยโรงงานก็จะมีรายได้จากการขายผ้าเหลือที่โรงงานสามารถกำหนดราคาขายได้เอง (ซึ่ง moreloop จะช่วยแนะนำให้) ขณะที่ moreloop จะมีรายได้จากค่า GP จากโรงงานนั่นเอง

ที่ออฟฟิศของ moreloop จะมีตัวอย่างผ้าจากโรงงาน ซึ่งจะมีข้อมูลของผ้าบอกอย่างละเอียด ลูกค้าสามารถติดต่อเข้ามาขอจับดูเนื้อผ้าก่อนได้

พลและแอ๋มเริ่มพูดคุยกันตั้งแต่ปี 2017 กระทั่งพัฒนา moreloop จนสามารถให้บริการเป็นครั้งแรกได้ในช่วงไตรมาส 4/2018 โดยในช่วง pilot แพลตฟอร์ม มีเพียงผ้าเหลือจากโรงงานแอ๋ม และโรงงานอื่นๆ อีก 5 แห่งที่แอ๋มรู้จักจากสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย (Thai Garment Manufacturets Association) เท่านั้น

[ สู่โมเดลรับผลิตเสื้อผ้า จากผ้าเหลือๆ ]

หนทางช่วงแรกไม่ต่างจากสตาร์ทอัพรายอื่นๆ ที่ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ 3 เดือนแรกหลังจากเปิดตัว moreloop สามารถหมุนเวียนผ้าไปได้ 600 กิโลกรัม

จุดเปลี่ยนมาอยู่ที่หลังจากไปออกบูธในงานหนึ่ง ซึ่ง moreloop ทำเสื้อไปขายด้วย เพื่ออยากจะสื่อสารกับคนการใช้ผ้าเหลือมาทำเสื้อนั้นทำให้ช่วยลดการผลิตผ้าใหม่ ซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้

ปรากฏว่าเสื้อที่ moreloop ทำขายในงานนั้นขายหมด ไม่เพียงเท่านั้น แต่ลูกค้าหลายคนยังสนใจและติดต่อเข้ามาให้ moreloop ผลิตเสื้อให้

เกิดเป็นโมเดลธุรกิจที่ 2 ของ moreloop คือธุรกิจรับผลิตเสื้อผ้าจากผ้าเหลือให้กับลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา หรือเรียกได้ว่าเป็นการ Upcycle โดยมีโรงงานของแอ๋มรับผลิตสินค้าให้กับ moreloop อีกทอด เนื่องจากสามารถควบคุมการผลิตได้ง่ายกว่านั่นเอง

ภายในโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกของแอ๋ม ซึ่งรับงานให้กับ moreloop ด้วย

แอ๋มอธิบายว่า ที่ต้องอาศัยโรงงานที่ควบคุมการผลิตง่ายๆ เนื่องจากการรับงานผลิตเสื้อผ้าจากผ้าเหลือนั้นมีความท้าทายไม่ใช่เล่น

เพราะบางครั้งผ้าที่มีไม่ตรงกับสีองค์กรลูกค้า สีที่ลูกค้าต้องการมีไม่พอ ทำให้ต้องขอเปลี่ยนสีบ้าง หรือบางทีขอเปลี่ยนสีตรงแขนเสื้อบ้าง เป็นต้น

แต่ถ้าเป็นสินค้าที่มีวัสดุหรือรูปแบบเฉพาะ เช่น กระเป๋า moreloop ก็สามารถแนะนำให้หรือส่งต่อไปให้โรงงานนั้นๆ ได้เช่นกัน

moreloop เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากมีสื่อสัมภาษณ์ ประกอบกับเทรนด์เศรษฐกิจหมุนเวียนก็เริ่มเป็นที่พูดถึงในประเทศไทยมากขึ้น องค์กรเอกชนหลายๆ แห่งให้ความสนใจกับเทรนด์นี้ นั่นทำให้ moreloop ได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน

จากปี 2018 ที่หมุนเวียนผ้าได้ไม่เยอะเท่าไหร่ กลายเป็นว่าปี 2019 moreloop หมุนเวียนผ้าได้มากถึง 10,000 กิโลกรัม

“ลูกค้าหลายคนอยากมีส่วนร่วมกับวิชั่นของ moreloop รวมถึงเรื่อง sustainable ก็เริ่มเป็นสิ่งที่คนเริ่มเห็นคุณค่า รวมถึงภาคธุรกิจเองก็เริ่มเห็น และเปลี่ยนความคิดขึ้นมาจริงๆ” พลระบุ

และจนถึงเดือน ก.ค. 2022 สตาร์ทอัพเล็กหัวใจใหญ่อย่าง moreloop สามารถหมุนเวียนผ้าไปแล้วถึง 42,124 กิโลกรัม เทียบเท่ากับการป้องกันการปล่อยก๊าซคาร์บอน 631,857 กิโลกรัม

[ ก้าวต่อไปของ moreloop ]

นอกจากเป็นแพลตฟอร์มตัวกลางขายผ้าเหลือ และรับผลิตเสื้อผ้าตามที่ลูกค้าต้องการแล้ว moreloop ยังมีการ collaboration ร่วมกับแบรนด์สินค้าอื่นด้วย

ตัวอย่างคือการคอลแล็บร่วมกับน้ำอบ ‘นางลอย’ ออกคอลเล็กชั่นสินค้าด้วยกัน มีเสื้อและกระเป๋า เพื่อให้เห็นว่าวัตถุดิบมีนั้นสามารถเอาไปทำเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่เสื้อผ้าเท่านั้น ซึ่งในช่วงปลายปีนี้ ก็จะมีการคอลแล็บร่วมกับแบรนด์อื่นเพิ่มเติม

ส่วนเป้าหมายถัดไปของ moreloop พวกเขาตั้งเป้าว่าอยากขยายจำนวนโรงงานที่มาอยู่บนแพลตฟอร์มของ moreloop ให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่มีอยู่ประมาณ 70 โรง และเพิ่มจำนวนผ้าบนระบบให้มากขึ้นด้วย

นอกจากนี้ ก็อยากจะพัฒนาข้อมูลบนระบบให้สามารถ match กับลูกค้าได้เร็วขึ้น อยากขยายธุรกิจ B2B หรือรับผลิตเสื้อผ้าให้กับลูกค้าต่างประเทศ

ส่วนอนาคตไกลๆ พวกเขาก็อยากจะขยายโมเดลนี้ไปในอุตสาหกรรมอื่น โดยอาจเริ่มจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งทอก่อน

เพราะท้ายที่สุด พวกเขาหวังว่าอยากจะให้เศรษฐกิจหมุนเวียนเกิดขึ้นจริงได้ และสามารถสเกลได้ในระดับที่ใหญ่นั่นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า