SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพผู้ชมปาดน้ำตาด้วยความซาบซึ้งใจ กลายเป็นภาพจำของหนังไทยเรื่อง ‘หลานม่า’ หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า ‘How To Make Millions Before Grandma Dies’ ที่กำลังเดินหน้าสร้างปรากฏการณ์ครั้งใหม่

โดยค่ายหนัง GDH เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ‘หลานม่า’ ขึ้นแท่นหนังไทยทำรายได้สูงสุดตลอดกาลในอินโดนีเซีย ฉาย 2 สัปดาห์ คว้ารายได้ไปถึง 200 ล้านบาท ขณะที่มาเลเซีย เข้าฉายเพียง 3 วัน ทำรายได้ไปถึง 14.6 ล้านบาท (1.8 ล้านริงกิต) และยังทำสถิติเป็นหนังไทยที่ทำรายได้เปิดตัวสูงสุดในสิงคโปร์ นับจาก ‘พี่มาก..พระโขนง’ เมื่อปี 2556

นอกจาก 3 ประเทศดังกล่าว ‘หลานม่า’ ยังมีคิวเข้าฉายอีกหลายที่ อย่างเช่น ฟิลิปปินส์, สปป.ลาว, บรูไน, เวียดนาม, กัมพูชา, ไต้หวัน, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ฮ่องกง, จีน, เกาหลีใต้ ส่วนยุโรปและสหรัฐอเมริกา ก็มีรายงานว่าเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาซื้อขายแล้ว

เปลี่ยนวิธีคิด ทำ “หนังไทย” ให้สำเร็จมากกว่า แค่ “ในประเทศ”

ภาณุ อารี ประธานฝ่ายจัดจำหน่าย บริษัทเนรมิตรหนัง ฟิล์ม จำกัด เชื่อว่า ‘หลานม่า’ น่าจะทำให้บริษัทในเมืองไทยเปลี่ยนวิธีคิด เรื่อง box office จากแค่ domestic box office ไปเป็น regional box office เพื่อลดความเสี่ยง…

เราคุยกับคุณภาณุ เรื่องความสำเร็จของ ‘หลานม่า’ ในต่างประเทศ โดยคุณภาณุ บอกว่า “ตัวหนังค่อนข้างไปได้ไกล ผมเดาเอาว่าเป้าหมายของผู้สร้างไม่ได้จำกัดความนิยมในประเทศไทยอย่างเดียว สังเกตจากการเลือกประเด็น เป็นประเด็นที่สามารถจับต้องได้กับคนที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะพูดถึงความสัมพันธ์ของครอบครัว และที่สำคัญพูดถึงครอบครัวคนจีน ซึ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีโครงสร้างของครอบครัวแบบนี้อยู่ด้วย เมื่อผสมผสานกับเนื้อเรื่องที่กินใจ เวลาหนังเรื่องนี้ไปฉายในทุกที่ที่คนยังให้ความสำคัญกับสถาบันครอบครัว หรือสถาบันครอบครัวกำลังถูกความเปลี่ยนแปลงเข้ามามีผลกระทบ จึงทำให้หนังประสบความสำเร็จ”

ลดท้องถิ่นนิยม-สื่อสารแบบไร้พรมแดนมากขึ้น

คุณภาณุ เล่าว่า จากการที่ได้คุยกับคนในภาคธุรกิจหนังไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่าย ผู้ผลิต โปรดิวเซอร์ต่างๆ ตอนนี้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุกคนมองว่า คอนเทนต์ของไทย มีความแข็งแรงที่สุดและมีคุณภาพที่สุด ความแข็งแรงที่ว่านั้นทั้งในแง่ของบุคลากรเวลาทำงาน รวมถึงดารา-นักแสดง ทุกอย่างไปด้วยกันหมด จึงมีความคิดว่า เราน่าจะเอาจุดนี้เป็นจุดได้เปรียบ

แทนที่เมื่อก่อนเราอาจคิดว่าตลาดในประเทศไทยอาจจะมากเพียงพออยู่แล้ว หนังส่วนใหญ่จึงออกมาในรูปของหนังที่มีลักษณะเฉพาะตัว แล้วถ้าเราเปลี่ยนแนวทาง เลือกเรื่องที่ข้ามพรมแดนด้านวัฒนธรรม ซึ่งโลกปัจจุบันมีแนวโน้มเช่นนี้อยู่แล้ว เล่าเรื่องในรูปแบบที่เราถนัด หานักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบของคนในบ้านเราและภูมิภาค แทนที่เราจะหวัง box office แค่ในประเทศอย่างเดียว ถ้าสามารถเพิ่มกำไรหรือรายได้ในประเทศเพื่อนบ้านได้ด้วย จะลดความเสี่ยงและความกดดันของเราเอง จากการคาดหวังรายได้จากแค่แหล่งเดียว อีกทั้งตัวเนื้อหาของหนังไทย ก็จะมีความเป็นสากลมากขึ้น

หลังโควิด วงการหนังไทยคึกคักขึ้นแต่อย่าประมาท 

ในมุมของคุณภาณุ แม้ตอนนี้เป็นภาวะขาขึ้นของหนังไทยก็จริง แต่ในระยะยาวเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

“และที่สำคัญที่สุดคือ ผมว่าในภาวะขาขึ้นก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าอุตสาหกรรมเราจะกลับมาเหมือนเดิม มันก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่ทุกอย่างมันดูดีแต่สุดท้ายมันอาจจะล้มเหลวได้อีก ผมว่าเราจะต้องเปลี่ยนมุมมองด้วย คือเราต้องยอมรับก่อนว่าโลกไม่มีพรมแดน การทำหนังที่สื่อสารได้มันพร้อมจะให้คนจากที่ต่างๆ ได้เข้าหา ข้อดีอีกอย่างคือคนไม่ได้สนใจแล้วว่าความเป็นสากลจะต้องเป็นหนังที่พูดภาษาอังกฤษ แต่ทุกคนพร้อมที่จะสนใจหนังที่ไม่จำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษก็ได้ เพียงแต่ขอให้เนื้อหา มันมีความเข้าถึงได้ คนพร้อมที่จะยอมรับอยู่แล้ว”

ผู้คร่ำหวอดในตลาดหนังต่างประเทศ บอกอีกว่า เมื่อ 20 ปีก่อน ถ้าจะทำหนังให้เป็นที่เข้าถึงของคนต่างประเทศได้ คนไทยต้องพูดภาษาอังกฤษ นั่นเป็นวิธีคิดแบบเก่า รู้สึกว่าเทรนด์มันเปลี่ยนแล้ว คืออะไรก็ได้ที่สามารถยึดพื้นที่สนใจในโลกใบนี้ได้ คนพร้อมจะหาเครื่องมือเข้าใจอยู่ดี เช่น subtitle (คำบรรยาย) เป็นหนังแนวอะไรก็ได้ พูดภาษาอะไรก็ได้ แต่ต้องหาคอนเซ็ปต์ที่คนทั้งโลกสนใจ เช่นปัญหาสถาบันครอบครัว สิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล้ำ พลิกมุมเอาประเด็นที่คนทั่วโลกกำลังสนใจมาฉาบอยู่ในหนัง เชื่อว่าหนังแบบนี้จะขยายกลุ่มคนดูได้มากขึ้นเรื่อยๆ อย่าง ‘หลานม่า’ ไม่น่าจบแค่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูจากตอนนี้จะขยายตัวไปเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน แล้วสุดท้ายกระแสจะดันให้หนังเรื่องนี้กลายเป็นกระแสของโลกได้

นอกจากนี้ เห็นว่า นักแสดงนำอย่าง บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล ที่มีฐานแฟนคลับมากในหลายๆ ประเทศ ก็มีส่วนสำคัญ เพราะแฟนคลับของเขาจะเป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ถูกดึงดูดให้เข้ามาชมหนัง แต่จากโปสเตอร์ และการโปรโมทในประเทศต่างๆ “หนังไม่ได้ขายบิวกิ้น หนังขาย tear jerking ไวรัลที่คนเข้ามาดูต้องร้องไห้ แล้วมันก็ได้ผล”

คุณภาณุ ยืนยันในเรื่องที่โซเชียลมีเดีย มีส่วนสำคัญต่อการจุดกระแสหนังให้เกิดได้ โดยบอกว่า เพราะในโลกยุคโซเชียลมีเดีย ใครที่ตกเทรนด์จะเท่ากับพ่ายแพ้ ดังนั้นเครื่องมือสำคัญ คือทำให้หนังเป็นไวรัล จากนั้นกระแสจะตามมา แต่สุดท้ายอยู่ที่เราทำหนังออกมาสื่อสารได้แค่ไหน

ปัจจุบัน ‘หลานม่า’ ยังยืนโรงฉายในไทย ครบ 2 เดือนเต็มในวันนี้ หลังจากเปิดตัวครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 เม.ย. 67

ขอบคุณภาพ : GDH, เฟซบุ๊ก Panu Aree

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า