SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยเพิ่งจะมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมาไม่กี่เดือนแต่ในอีกมุมหนึ่งของโลกประเทศที่มีกฎหมายยอมรับความหลากหลายทางเพศเป็นประเทศแรกๆอย่างแอฟริกาใต้เพิ่งเกิดเหตุสลดขึ้น

เมื่อมูห์ชิน เฮนดริกส์’ (Muhsin Hendricks) อิหม่ามที่เคยออกมาเปิดเผยตัวตนว่าเป็นชายรักชาย และพยายามต่อสู้เพื่อความเปิดกว้างทางเพศในสังคมอิสลาม ถูกคนร้ายใช้ปืนจ่อยิงเสียชีวิตอย่างโหดเหี้ยม จนนำไปสู่การตั้งคำถามว่า นี่อาจเป็นอาชญากรรมที่มาจากความเกลียดชังทางเพศหรือไม่ 

Explainer จะพาไปหาคำตอบเรื่องนี้ พร้อมทำความรู้จักเรื่องราวชีวิต และเส้นทางการต่อสู้ของผู้ที่กล้าออกมายอมรับว่าตัวเองเป็นอิหม่ามเกย์คนแรกของโลกแบบสรุปจบในโพสต์เดียว

1) เหตุการณ์สลดนี้ เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 15 .. ตำรวจเมืองเกเบอร์ฮาเมืองเล็กๆจังหวัดอีสเทิร์นเคปของแอฟริกาใต้ได้รับแจ้งเหตุมีคนถูกยิงเสียชีวิตในรถยนต์เลยรีบไปที่เกิดเหตุทันที

2) เมื่อไปถึง ตำรวจพบรถยนต์ที่มีร่องรอยถูกกระหน่ำด้วยกระสุนปืนจอดอยู่ ในรถมีร่างของผู้ชายคนหนึ่งนอนจมกองเลือด

3) ฟังดูเผินๆ นี่อาจเป็นการก่ออาชญากรรมทั่วไป แต่หลังจากที่ตำรวจตรวจสอบแล้ว เจ้าของร่างดังกล่าวคือ มูห์ชิน เฮนดริกส์ วัย 57 ปีทำให้คดีนี้เป็นคดีที่ไม่ธรรมดาขึ้นมาทันที

4) เพราะมูห์ชินเฮนดริกส์ผู้ตายเป็นถึงอิหม่ามหรือครูสอนศาสนาอิสลามที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะอิหม่ามคนแรกในประวัติศาสตร์โลกที่กล้าเปิดเผยตัวตนว่าเป็นชายรักชาย

5) การเปิดเผยรสนิยมทางเพศของเฮนดริกส์เมื่อปี 1996 สร้างความฮือฮาอย่างมากในเวลานั้นเนื่องจากในมุมมองของชาวมุสลิมส่วนใหญ่การรักร่วมเพศเป็นเรื่องผิด

6) แม้แต่ตัวของเฮนดริกส์เอง เขาก็เคยดำเนินชีวิตตามครรลองของศาสนา ก่อนที่จะเปิดเผยว่าเป็นเกย์ เขาเคยแต่งงานกับผู้หญิงมาก่อน และใช้ชีวิตคู่กับภรรยานานถึง 5 ปีโดยทั้งคู่มีลูกด้วยกัน

  

7) จนต่อมาเฮนดริกส์ตัดสินใจหย่ากับภรรยา เพื่อไปใช้ชีวิตในแบบที่เขาต้องการ แต่หลังจากประกาศให้ชาวโลกรู้ว่าตัวเองเป็นเกย์ เขาก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านอย่างหนัก

8) เฮนดริกส์ถูกไล่ออกจากการเป็นอิหม่ามในมัสยิดแห่งหนึ่ง และทะเลาะกับแม่อย่างรุนแรงเพราะเรื่องนี้ แม้ว่าพ่อของเขาจะเข้าใจ แต่ช่วงนั้นก็ถือเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากที่สุดในชีวิตของเขา

9) ไม่ใช่แค่นั้นเฮนดริกส์ถูกมองว่าเขาเป็นพวกนอกศาสนาเนื่องจากเขาตีความคัมภีร์อัลกุรอานแตกต่างออกไปจากความเชื่อกระแสหลัก

10) ในมุมมองของเฮนดริกส์ เขาตีความว่า ในคัมภีร์อัลกุรอานไม่มีบทบัญญัติใดที่ประณามการรักร่วมเพศ

11) หรือแม้แต่ตำนานเรื่องเมืองซะดูม ในคัมภีร์อัลกุรอาน (หรือเมืองโซดอม ในคัมภีร์ไบเบิล) ซึ่งเป็นเมืองที่เชื่อกันว่าถูกพระเจ้าลงโทษเพราะคนในเมืองมีพฤติกรรมรักร่วมเพศเฮนดริกส์ตีความว่าจริงๆแล้วที่เมืองนี้ถูกพระเจ้าลงโทษเป็นเพราะมีเรื่องการข่มขืนในเมืองมากกว่า

12) การตีความที่ขัดต่อความเชื่อกระแสหลักของเขาหลายๆเรื่องทำให้เฮนดริกส์ถูกคณะกรรมการตุลาการมุสลิมลงมติประณามและเจอกระแสต่อต้านมากขึ้นไปอีก

13) แต่เฮนดริกส์ไม่ยอมแพ้ เขาอุทิศตนต่อสู้เพื่อความหลากหลายทางเพศ ภายใต้กรอบศาสนาอิสลามมาตลอด โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือ ทำให้ชุมชน LGBTQ+ มีที่ยืนในสังคมมุสลิม

14) ฮนดริกส์ก่อตั้งองค์กรที่มีชื่อว่า The Inner Circle ขึ้นมาเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้กับชาวมุสลิมที่เป็นกลุ่มคนรักร่วมเพศ

15) ก่อนที่ต่อมา เขาจะสร้างมัสยิดมาสจีดัล กูร์บาห์’ (Masjidul Ghurbaah) เพื่อให้ชาวมุสลิมที่เป็น LGBTQ+ และผู้หญิงที่ถูกกดขี่มีสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

16) การเสียชีวิตของเฮนดริกส์เลยทำให้เกิดคำถามตามมามากมายถึงมูลเหตุจูงใจของคนร้ายจนลามไปถึงหรือนี่จะเป็นการสังหารที่มาจากความเกลียดชังทางเพศ

17) คำถามเหล่านี้ยิ่งกลายเป็นประเด็นหนักขึ้นไปอีกเมื่อมีข่าวลือที่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทางการว่าเฮนดริกส์ถูกสังหารหลังจากที่เขาเพิ่งไปจัดงานแต่งงานให้กับคู่รักเลสเบี้ยนคู่หนึ่ง

18) แต่ทั้งหมดนี้ยังคงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบเพราะตอนนี้ตำรวจยังจับกุมคนร้ายไม่ได้

19) โดยตำรวจมีหลักฐานเป็นคลิปวิดีโอ เห็นภาพคนร้ายขับรถยนต์มาดักหน้ารถที่เฮนดริกส์นั่งมา ก่อนที่ชาย 2 คนที่สวมผ้าคลุมใบหน้ามิดชิดจะเดินลงมาจากรถยนต์และกระหน่ำยิงไปที่รถของเฮนดริกส์หลายนัด

20) หลังจากที่ข่าวการเสียชีวิตของเฮนดริกส์ถูกแพร่กระจายออกไปทำให้องค์กรเคลื่อนไหวเรื่องความเท่าเทียมทางเพศหลายองค์กรออกมาเรียกร้องให้แอฟริกาใต้สืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด

21) เรียกได้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่แค่การสังหารนักเคลื่อนไหวเพื่อความเท่าเทียมทางเพศแต่ถือเป็นเหตุการณ์ที่สร้างความท้าทายให้กับรัฐบาลแอฟริกาใต้อย่างหนัก

22) แม้ว่าแอฟริกาใต้จะเป็นประเทศแรกในโลกมีรัฐธรรมนูญเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเพศ และคุ้มครองประชาชนจากการเลือกปฏิบัติอันมีที่มาจากรสนิยมทางเพศ และเป็นประเทศแรกในทวีปแอฟริกาที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมมาตั้งแต่ปี 2006

23) แต่ทุกวันนี้แอฟริกาใต้ยังคงประสบปัญหาการเลือกปฏิบัติและความรุนแรงต่อกลุ่มบุคคลที่มีรสนิยมหลากหลายทางเพศและก็ยังเป็นประเทศที่มีอัตราการฆาตกรรมสูงสุดเป็นอันดับต้นๆของโลก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า