SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงการเมืองคุกรุ่นอย่างนี้ ในคอนเสิร์ตและเฟสติวัลหลากหลายงานในช่วงเวลาที่ผ่านมาทั้งแคทเฟสติวัลที่วง t_047 มีการชวนมิตรสหายร่วมอุดมการณ์อย่างแอมมี่ เดอะบอทท่อมบลูส์, ไผ่ ดาวดิน, รุ้ง ปนัสยา และอีกหลากหลายคนมาร่วมร้องเพลง ‘หลังคา’ ของวง

หรือจะเป็นในงานบิ๊ก เมาน์เท่นที่เพิ่งจบไปหมาด ๆ ท่ามกลางกระแสดราม่าเรื่องปิดงาน ซึ่งก็มีวงที่มาแสดงสัญลักษณ์ทางการเมืองมากมายไม่ว่าจะเป็น TaitosmitH ที่พาเป็ดเหลืองสัญลักษณ์แห่งการต่อสู้ของคณะราษฎรที่เกียกกาย, Tilly Birds ที่ตะโกนว่า “ศักดินาจงพินาศ ประชาราษฎร์จงเจริญ”, และยังร้องเพลงฮิตของม็อบอย่าง ‘12345 I Love You’ และอีกหลายวง

เมื่อเราย้อนดูหน้าประวัติศาสตร์โลกแล้ว การต่อต้านผ่านเสียงเพลงนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่เลย ศิลปินมีการแสดงออกด้านการเมืองมาตลอดนับตั้งแต่โลกเข้าสู่ยุคดนตรีสมัยนิยมในแบบที่เราคุ้นหูกัน เราขอชวนมาย้อนดูเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่น่าสนใจกันซักหน่อย

The March on Washington (1963)

การประท้วงครั้งสำคัญของชาวแอฟริกันอเมริกันเพื่อเรียกร้องอาชีพและอิสรภาพ นี่เป็นหนึ่งบทสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งคือวันที่โลกได้ยินสุนทรพจน์อมตะ I Have a Dream ของ Martin Luther King Jr. โดยนอกจากนั้น ก็ยังมีการแสดงจากศิลปินมากมายบนโพเดียมหลักของการประท้วง

เริ่มจาก Mahalia Jackson เจ้าแม่แห่งวงการกอสเปล ซึ่งเป็นคนผลักดันให้ King เปลี่ยนสุนทรพจน์จากที่เตรียมมาชื่อ Normalcy, Never Again, กลายมาเป็น I Have a Dream ที่เขาด้นสดขึ้นมาจากส่วนที่เขียนไม่จบ มี Joan Baez หญิงเหล็กเจ้าของเพลงโฟล์กประท้วงการเมืองมากมายซึ่งตอนนั้นอายุเพียง 22 ปี ที่นำมวลชนร้องเพลง ‘We Shall Overcome’ ซึ่งกลายเป็นภาพจำของเธอต่อมาอีกหลายปี นอกจากนี้ก็ยังมี Marian Anderson, Peter, Paul and Mary, Bob Dylan โดยวง Freedom Singers ก็ได้ชวนศิลปินคนอื่น ๆ มาร่วมร้องเพลง ‘We Shall Overcome’ กันอีกรอบด้วย

ซึ่งหลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ 7 เดือนต่อมาประธานาธิบดี Lyndon Johnson ยอมเซ็นรับรองรัฐบัญญัติสิทธิพลเมือง ปี 1964 โดยนี่ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากไม่ได้เหล่านักเคลื่อนไหว ประชาชนกว่า 250,000 และเหล่าศิลปินมาร่วมกดดัน

Woodstock (1969)

ท่ามกลางไฟสงครามเวียดนาม กลุ่มหนุ่มสาวยุคฮิปปี้กว่าครึ่งล้านก็มาร่วมกันสร้างบรรยากาศแห่งความรักและสันติภาพในงาน Woodstock ซึ่งถึงแม้จะเป็นการจัดงานที่ออกมาเละเทะ ฝนตก ผู้คนมามากเกินจำนวน อาหารไม่พอ และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย แต่งานครั้งนั้นก็เป็นหมุดหมายที่สำคัญของวงการดนตรีโลก ทำให้ทุกคนเห็นว่าดนตรีป็อบนั้นสำคัญเพียงไหน เพราะดนตรีสามารถรวบรวมผู้คนสามารถเป็นไปได้ในห้วงยามแห่งความยุ่งเหยิง

ซึ่งในปี 1969 ก่อนที่จะเดินทางไปถึงงาน Woodstock รัฐบาลสหรัฐก็เริ่มใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการจัดการกับเหล่าฮิปปี้ที่ออกมาประท้วงสงคราม แต่หลังจากผู้คนจากทั่วทุกสารทิศมารวมตัวกันในงาน เหล่าวัยรุ่นที่เดิมไม่อินเรื่องการเมือง ก็ร่วมออกไปประท้วงสงครามเวียดนามกันมากขึ้น เพราะการได้สนทนากัน ก็ทำให้ทุกคนรู้สึกว่า เสียงของตัวเองมีความหมายมากขึ้นในเรื่องที่ถูกกดทับไว้ ทุกคนสามารถสร้างแรงกระเพื่อมดี ๆ ให้กันและกันได้ ทำให้หลังจากงานในปี 1970 ก็เริ่มมีการประนีประนอมกันระหว่างรัฐบาลและฮิปปี้ฝั่งต่อต้านมากขึ้น

Rage Against The Machine (2000)

ถึงแม้พวกเขาจะออกอัลบั้มมาแค่ 4 อัลบั้มในช่วงยุค 90s แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลาย ๆ เพลงของพวกเขายังคงทรงคุณค่าในด้านการต่อต้านอำนาจที่ไม่ถูกต้อง และเมื่อเปิดที่ไหนทุกคนก็เป็นต้องโยกหัวและร้องตามไปกับเนื้อหาสุดมัน โดยพวกเขาถือเป็นวงที่ร่วมสนับสนุนสิทธิแรงงานและสหภาพแรงงานมาตลอด

Tom Morello มือกีตาร์ของวงก็เคยโดนจับขณะร่วมประท้วงกับสหภาพแรงงานของแบรนด์เสื้อผ้า Guess โดยในปี 2000 วงก็ได้จัดคอนเสิร์ตประท้วงตรงข้ามสถานที่จัดงานเลือกผู้ชิงประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครต เพื่อประท้วงระบบ 2 พรรคการเมืองของสหรัฐอเมริกา ทำให้เกิดจลาจลและผู้ร่วมชุมนุมถูกจับ โดยพวกเขาก็ทำเช่นเดิมในปี 2008 แต่เปลี่ยนเป็นงานของฝั่งรีพับลิกัน และก็มีผู้ถูกจับกุมเช่นเดิม

Björk (2008)

นักร้องสาวชาวไอซ์แลนด์ เจ้าของเพลงสุดล้ำถูกแบนจากประเทศจีน หลังจากที่เธอตะโกนคำว่า Tibet, Tibet! และ Raise your flag! หลังร้องเพลง ‘Declare Independence’ ในช่วงท้ายของคอนเสิร์ตเพื่อประท้วงให้จีนปลดปล่อยให้ทิเบตเป็นอิสระจากการยึดครอง

รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมจีนถึงกับออกแถลงการณ์ต่อว่าเธอและห้ามเธอมาแสดงในประเทศอีกเลย (รวมถึงแบนศิลปินที่สนับสนุนการกระทำเช่นนี้ด้วย) ซึ่งนอกจาก Bjork ก็ยังมี Oasis ที่ถูกห้ามแสดงในประเทศจีน เพราะมือกีตาร์ของวงอย่าง Noel Gallagher ได้ไปร่วมคอนเสิร์ต Free Tibet ในปี 1997

Pussy Riot (2012)

สาว ๆ พังก์ร็อกสุดเปรี้ยวซ่าที่ปิดบังใบหน้าด้วย Ski Mask ผู้ลุกขึ้นมาประท้วงประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้ปกครองประเทศมาหลายสมัย พวกเธอโดนจับในคดี ‘การกระทำรุนแรงจากความชังศาสนา’ หลังจากทำการแสดงร้องเต้นในโบสถ์รัสเซียออร์ทอดอกซ์ในหัวข้อ “Virgin Mary, chase Putin away!” โดยสองสมาชิกถูกตัดสินให้จำคุก 3 ปี และอีกคนหนึ่งถูกตัดสินให้รอลงอาญา นั่นทำพวกเธอกลายเป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงต่อต้านระบบอัตตาธิปไตยของปูตินผู้ครองอำนาจมายาวนาน และเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยที่แท้จริงให้กับรัสเซีย

การกระทำของพวกเธอในครั้งนี้ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้หญิงทั้งในรัสเซียและทั่วโลก ซึ่งแม้แต่นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี Angela Merkel ยังทวงถามถึงอิสรภาพของพวกเธอเมื่อได้โอกาสสนทนากับปูติน และ Paul McCartney, Madonna, Sting ฯลฯ ก็ร่วมส่งเสียงทวงถามถึงเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

Madonna (2012)

นักร้องสายแดนซ์รุ่นอมตะ ที่ใคร ๆ หลาย ๆ คนยกให้เป็นคุณแม่ เธอได้ใช้ช่วงเวลาระหว่างโชว์ที่รัสเซีย พูดถึงสาว ๆ Pussy Riot “…ฉันคิดว่าสาวทั้งสามคน Masha, Katya, Nadya ได้กระทำสิ่งที่กล้าหาญมาก ๆ ฉันคิดว่าพวกเธอได้รับผลจากการกระทำของพวกเธอแล้ว และฉันสวดภาวนาให้กับอิสรภาพของพวกเธอ” ซึ่งเธอไม่ได้แค่พูดเท่านั้น หลังจากนั้น Madonna ยังได้สวมเสื้อในสีดำที่มีคำว่า Pussy Riot เขียนอยู่ด้านหลัง รวมถึงสวมหน้ากากแบบเดียวกับวงขึ้นมาบนเวทีอีกด้วย

เธอกับรัสเซียก็เหมือนจะเป็นไม้เบื่อไม้เมากัน เพราะในปี 2014 เธอก็ถูกขู่ว่าจะถูกจับถ้า ‘สนับสนุนพฤติกรรมเกย์’ ด้วยกฎหมาย Gay Propaganda ของรัสเซียที่สั่งห้ามการแสดงออกเกี่ยวกับการเป็นเกย์ (ห้ามแม้กระทั่งติดเข็มกลัดธง pride) แต่เธอก็เดินหน้าแสดงคอนเสิร์ตต่อ โดยทำให้แฟนเพลงที่เป็นเกย์ 87 คนโดนจับในข้อหาข้างต้น

I Will Vote Concert (2020)

ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าดนตรีเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ในทุกจังหวะของชีวิตเรา การเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดก็เช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากศิลปินระดับโลกมากมายจะออกมาสนับสนุนผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างสุดตัวแล้ว ก็ยังมีเฟสติวัลแบบออนไลน์ที่รวบรวมศิลปินหลากหลายแนวซึ่งสนับสนุน Joe Biden (ที่ต่อมาก็ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี) เช่น Foo Fighters, Black Eyed Peas, P!NK, Jon Bon Jovi, Ne-Yo และอีกมากมาย โดยตั๋วเข้างานก็จะร่วมสนับสนุนแคมเปญหาเสียงเลือกตั้งของเขา

ศิลปินป็อบอมตะอย่าง Cher ก็ได้ร่วมคอนเสิร์ตนี้ด้วยเพลงอเมริกันคลาสสิก ‘Happiness Is a Thing Called Joe’ แต่เปลี่ยนเนื้อเพื่อสนับสนุนเขาอย่างเต็มที่ “But when Joe is president, hope is everywhere. Troubles fly away, and life is easy go. Joe will keep us safe, that’s all we need to know.”

นอกจากคอนเสิร์ตที่สนับสนุนไบเดนแล้ว ในสหรัฐฯก็ยังมีองค์กร HeadCount ที่สนับสนุนให้ประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาลงทะเบียนเพื่อเลือกตั้ง โดยพวกเขาจะไปตั้งบูธที่คอนเสิร์ตนับพันงานต่อปี เช่นงานของ Ariana Grande, Beyoncé และเฟสติวัลอย่าง Lollapalooza, Bonnaroo ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ก็ได้ทำให้คนกว่าล้านคนลงทะเบียนเรียบร้อย

แม้หลาย ๆ การกระทำของศิลปิน (ที่บางครั้งก็ทำให้พวกเขาโดนเตือน โดนแบนหรือโดนจับ) อาจจะไม่สามารถส่งแรงกดดันไปถึงผู้มีอำนาจรับผิดชอบ หรือเปลี่ยนแปลงปัญหาได้ 100% แต่ทุกครั้งที่พวกเขาออกมาพูด ออกมาทำ ออกมาประท้วง แฟนคลับและคนจำนวนมากก็ล้วนได้มองเห็นปัญหาที่เคยถูกซุกไว้ใต้พรม ซึ่งทำให้มั่นใจได้เลยว่า การรับรู้ของผู้คนต่อเรื่องนั้น ๆ ก็จะเปลี่ยนไปตลอดกาล และอาจนำไปถึงการกดดันโดยภาคประชาชน ที่นำไปสู่แก้ปัญหาอย่างแท้จริงได้ในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า