SHARE

คัดลอกแล้ว

การพัฒนาของ ‘Music Festival ไทย’ ในวันที่คนฟังเพลงเปลี่ยนไป จากมุมมอของนักออกแบบคอนเสิร์ต ‘พล หุยประเสริฐ’ 

หลังจากที่เงียบเหงาไปสองสามปีในช่วงโควิด คอนเสิร์ตฮออล์ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพก็กลับมาคึกคักกันอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้กับงานบันเทิงที่อัดแน่นจนเรียกได้ว่ากรุงเทพฯ (และปริมลฑล) คือเมืองคอนเสิร์ตอย่างแท้จริง มีทั้งคอนเสิร์ตเดี่ยว รวม ไปจนถึง มิวสิคเฟสติวัล โดยพักหลัง ๆ มิวสิคเฟสติวัลที่เคยเชื่อมโยงกับการไปเที่ยวต่างจังหวัด ไม่ว่าจะภูเขาหรือทะเล ก็เริ่มเดินทางเข้าเมืองมาอยู่ใจกลางกรุง แต่ในเมื่อเข้ามาอยู่ในเมือง ในคอนเสิร์ตฮออล์  แล้วอะไรคือข้อแตกต่างของมิวสิคเฟสติวัลกับคอนเสิร์ตแบบที่เรารู้จักกันดี ทำไมรูปแบบการจัดมิวสิคเฟสติวัลจึงเป็นที่นิยมมากขึ้นในช่วงหลังมานี้ และผู้ชมชาวไทยมีการพัฒนาการเสพย์คอนเสิร์ตอย่างไรบ้าง การได้คุยกับคุณพล หุยประเสริฐ นักออกแบบคอนเสิร์ต และ Director ของ HUI Co.,Ltd. บริษัทที่มีผลงานการออกแบบคอนเสิร์ต เฟสติวัล และ exhibition ต่าง ๆ มากมาย ก็สามารถไขข้อข้องใจนี้ได้เป็นอย่างดี

“จริง ๆ พี่ไม่ใช่คนดูคอนเสิร์ตมากเท่าไหร่ แต่ว่าตั้งแต่เด็ก ๆ เราก็รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ถึงช่วงที่เริ่มทำงานจนถึงทุกวันนี้” คุณพลเปิดด้วยการออกตัว แต่จากนั้นก็ค่อย ๆ เล่าความทรงจำออกมากยาว ๆ โดยไล่จากยุคแรกที่การแข่งขันของสองค่ายใหญ่ยังครองหูของคุณผู้ฟัง

“ถ้าย้อนกลับไปประวัติเรื่องของเฟสติวัลมันอาจจะต้องพาดพิงไปถึงเรื่องของค่ายเพลงด้วย มิวสิคเฟสมันที่ทุกวันนี้มันหลากหลายเพราะว่ามีการมันเปลี่ยนแปลงเยอะมาก เพราะสมัยก่อนช่วงรุ่งเรืองของวงการดนตรีเราจะมีค่ายเพลงอยู่หลัก ๆ แค่ประมาณ 2 ค่าย เท่านั้นมันจะเหมือนกับแบบคู่ต่อสู้ที่ต้องชนกันตลอดเวลา ดังนั้นโอกาสการร่วมมือกันมันก็จะยากนิดหนึ่ง ดังนั้นยุคนั้นมันจะไม่ใช่เชิงมีเฟสติวัลจริง ๆ เพราะว่ามันจะเป็นคอนเสิร์ตเดี่ยวเสียส่วนใหญ่ แล้วก็ถ้าไม่ใช่คอนเสิร์ตเดี่ยวก็จะเป็นคอนเสิร์ตรวม ที่ถูกทำเป็นโปรเจกต์ที่ทำให้เกิดการรวมตัวแล้วมันมีความคล้ายมีเฟสติวัล แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่ มันเป็นมันเป็นธีมคอนเสิร์ต ซึ่งมันเกิดมาจากความแตกต่างกันของการฟังเพลง สมัยโน้นฟังเพลงเป็นอัลบั้มใช่ไหม เราฟังอัลบั้มเราก็จะได้ฟังสิบเพลงเพราะมี 10 เพลง สมมติทำ 2 อัลบั้ม เสร็จปุ๊บเราก็มี 20 เพลงแล้ว จำนวนเพียงพอที่ทำคอนเสิร์ตได้ง่าย ๆ เลยอาจจะทำให้แต่ก่อนอาจจะมีมิวสิคเฟสติวัลน้อย คอนเสิร์ตเดี่ยวเยอะ”

แต่พอเลยขึ้นมาจากยุค 2000 มันก็เริ่มมีพื้นที่ให้ค่ายเล็ก ๆ เกิดขึ้นมา แล้วนอกจากนั้นมีเลเบลเล็ก ๆ ทุกวันนี้เพราะมันมีโลกของอินเทอร์เน็ตเข้ามาวิธีเสพสื่อของคนมันเปลี่ยนไปหมดเลย มียูทูป มีสตรีมมิ่งเข้ามา เราไม่สามารถบังคับให้เพลงดังจากวิทยุอะไรได้อีกแล้ว เพราะคนฟังเพลงผ่านยูทูบหมดเลยดังนั้นนี้ช่องทางการเกิดของค่ายเล็ก ๆ มันเกิดเต็มไปหมด   มันก็มีเพลงอีกจำนวนมากมายที่มันเกิดมาจากเลเบลเล็ก ๆ ที่มันทำให้ตอนนี้เราทำมิวสิคเฟสติวัลมันจะมีความบาลานซ์ และความสนุกสนานของการเลือกศิลปินจากหลากหลายค่ายมีความรู้สึกว่าไม่เหมือนสมัยก่อน ที่แบบ 2 คนต้องแบบฟาดฟันกัน ตอนนี้มันเป็นความสามัคคีในวงการ ซึ่งมันเป็นข้อดีที่ทำให้มิวสิคเฟสเราสามารถดีไซน์ได้มากขึ้นเพราะมันไม่ได้มีข้อจำกัดของการแข่งขันแบบนั้นสักทีเดียวแล้ว เราก็สามารถจะจับอันนี้ผสมอันนั้นเพื่อให้เกิด คาแรกเตอร์ใหม่ๆของการทำ มิวสิคเฟสติวัล อันนี้ก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจากการที่ค่ายเพลงมันเปลี่ยนไปทำให้มิวสิคเฟสมันก็มีความหลากหลายขึ้นมีการดีไซน์กับกลุ่มเป้าหมายได้หลากหลายแบบขึ้นโดยการผสมของค่ายต่างๆที่มีมากมายแล้วก็แบบว่าไม่ได้มีใครเป็นเมเจอร์สุด ๆ ขนาดนั้นแล้ว”

มิวสิคเฟสติวัลเริ่มเติบโตในประเทศไทยเมื่อไหร่

“มันก็จะเริ่มมิวสิคเฟสติวัลจริง ๆ ก็น่าจะ ช่วงประมาณสัก 6 – 7 ปีหลัง ๆ นะ ที่มีเยอะมาก ตั้งแต่เริ่มมีที่เขาใหญ่ อันนั้นก็เป็นหนึ่งในมิวสิคเฟสติวัลอันแรก ๆ ที่วงมารวม ๆ กัน จริง ๆ มิวสิคเฟสติวัลของไทยมันเริ่มจากการไปไปเที่ยวผสม ๆ เหมือนเป็นการไปต่างจังหวัดแล้วไปชิลเอ้าท์ด้วยกันสมัยก่อนจำได้เลยว่า มีเสือ มีฟางนั่งกันแบบห่าง ๆ เลยชิลมาก ๆ เลย คราวนี้หลัง ๆ มันก็จะเริ่มเปลี่ยนไปพอมันประสบความสำเร็จมาก ๆ คน มันก็เริ่มแน่นขึ้น การนั่งก็เริ่มเบียดกันมากขึ้น อย่างมิวสิคเฟสที่เราไปตามทะเลอันแต่ละล็อคนะนั่งแทบจะติดกันเลย เพราะมีเรื่องการขายมีเรื่องของมาร์เก็ตติ้งเข้ามา เพราะฉะนั้นชิลมันก็หายไป

เฟสติวัลช่วงกลาง มันเลยเป็นเรื่องของความสนุกกัน มากกว่ากลับไปนั่งชิวฟังเพลง เป็นการไปต่างจังหวัดแล้วก็รวมแก๊ง จะเป็นยุคที่แบบว่าเด็กมัธยมต้องแบบว่า เฮ้ย ครั้งหนึ่งในชีวิตพวกเราร่วมห้องกันไป เว้ย ไปใช้ชีวิตแบบสนุกกัน มันก็เลยเกิดเป็นคาแรคเตอร์ขึ้นมาจากการที่คนดูเชปให้มิวสิคเฟสติวัลเป็นการไปปาร์ตี้ไปสนุกกัน ไปเม้าท์ ไปแฮงเอาท์กับเพื่อน มันก็กลายเป็นยุคของไปปาร์ตี้

แล้วพอประสบความสำเร็จคนทำตามเยอะ ก็คือต้องพยายามหาธีมในการทำเฟสติวัล หลังจากนั้นก็จะมีมิวสิคเฟสอะไรไปหมดที่กระจายมาจากพยายามทำธีม อย่างฟังเพลงท่ามกลางสายฝนอะไรอย่างนี้ ซึ่งก็ฮิตจนมันเบื่อ

จากนั้นมันจะเข้าสู่ยุคที่เป็น EDM เฟสติวัล เข้ามาเยอะมาก ๆ DJ ฝรั่งเข้ามาผสม DJ ไทยบ้าง สมัยก่อนมีดีเจไทยดัง ๆ อีกหลายคนเลยที่ขึ้นมาเล่นแล้วก็คนก็ไปเสพ เฟสติวัลแบบนี้ จริงๆ EDM ก็เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เราเข้าใจคำว่าเฟสติวัลแบบชัดเจนขึ้น ว่าเราต้องไปสนุกกันนะ  ดนตรีมันเป็นเรื่องหนึ่งแต่บรรยากาศของการอยู่ด้วยกันการไปแฮงเอาท์กันมันเป็นเรื่องสำคัญกว่าเพราะวงดนตรีของ EDM มันค่อนข้างจะพูดเรื่องนี้ พฤติกรรมคนดูของ EDM เฟสติวัลจะไม่เหมือนดูคอนเสิร์ตนะ ถ้าเราดูเฟสติวัลแบบคอนเสิร์ตคนจะหันหน้าไปหาเวที แต่ถ้าเป็น EDM คนจะหันเป็นวงกลม จะโดดกันเอง มีท่อนบีทท่อนดรอปบีทให้รู้เลยว่าต้องโดดตรงไหน เพราะฉะนั้น EDM เลยเป็นตัวจุดชนวนประมาณหนึ่งให้เรารู้สึกว่า มิวสิคเฟสติวัลมันต้องไปอะ เป็น FOMO (fear of missing out) เป็นไวรัลต้องไปเช็คอิน

จนกระทั่งถึงยุคนี้ที่คนฟังเพลงเปลี่ยนไป คนฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่ง แล้วการฟังเพลงผ่านสตรีมมิ่งเกิดทำให้อะไรขึ้น? มันทำให้เราฟังเพลงแล้วเราฟังเป็นรวมฮิตตลอดเวลา เราแทบไม่ฟังเพลงอัลบั้มแล้ว เราฟังอัลบั้มละสามเพลง สี่เพลงบ้าง ดังนั้นมิวสิคเฟสมันเป็นเหมือนสิ่งที่เอาไว้ตอบรับกิจกรรมการฟังเพลงของคนรุ่นนี้ ฉะนั้นช่วงหลังๆนี้ห้าปีหลังจะมีแต่มิวสิคเฟสติวัลเยอะมาก เพราะว่าเราต้องการไปที่มิวสิคเฟสติวัลนั้นแล้วก็ไปช้อปปิงว่าเราอยากจะฟังวงไหน เพราะฉะนั้นช่วงหลัง ๆ นี้มิวสิคเฟสติวัลมันจะเป็นรูปแบบที่มีเยอะขึ้นมาก ๆ ตามพฤติกรรมการฟังเพลงของคนซึ่งเปลี่ยนไป มิวสิคเฟสติวัลหลัง ๆ เลยมีความชัดเจนในเรื่องของวิธีการจัดเรียงแล้วก็การฟังเพลงจากพฤติกรรมเปลี่ยนไป”

จากประสบการณ์การจัดคอนเสิร์ต การเสพมหรสพดนตรีของคนไทยมีความแตกต่างกับชาติอื่นอย่างไรบ้าง

คนไทยชอบอะไรในคอนเสิร์ต… จริงๆก็ไม่ได้รู้สึกต่างกันมากเวลาดูคอนเสิร์ต เพราะว่าพี่ก็ชอบไปดูคอนเสิร์ตเมืองนอก ก็ไม่ได้รู้สึกต่างกันมากแต่ว่าวัฒนธรรมของคอนเสิร์ตไทย มันไม่เหมือนเมืองนอกตรงที่คอนเสิร์ตนอกมันจะเป็นทัวร์ ที่มีรูปแบบคล้ายกับเวลาวงไทยไปเล่นตามผับ เขาเล่นทัวร์ตามเซ็ตลิสต์เหมือนเดิม 12 เพลง 14 เล่นไปเรื่อย ๆ เทียบแล้วของคือเหมือนศิลปินไทยตามผับ ดังนั้นคอนเสิร์ตไทยจัดขึ้นมาหนึ่งครั้งมันเป็นเหมือนเรื่องวาระพิเศษ

สมมุติเราแบบวง U2 เล่นทัวร์คอนเสิร์ตนี้ไปจนหมดอัลบั้มนี้ เบื่อละ เลยอยากจะจัดวาระพิเศษหนึ่งครั้งครบรอบ 10 ปี คอนเสิร์ตเดี่ยวของคนไทยมันจะเป็นเหมือนแบบนั้น  คือมันเป็นเหมือนการจัดในวาระพิเศษ พอเป็นวาระพิเศษปุ๊บ ความคาดหวังของคนดูไทยมันก็จะเปลี่ยนไปแบบคาดหวังจะมีแขกรับเชิญ ซึ่งสมัยก่อนพี่งงมาก ไม่เข้าใจมาตลอดเลย แล้วพอตอนหลังถึงเข้าใจว่า อ๋อ เพราะมันเป็นวาระพิเศษจริง ๆ เขาคนคิดและพยายามจะคิดอะไรที่มันเป็นสิ่งที่พิเศษ เจอเพื่อน เจอแขกรับเชิญ  ดังนั้นคนไทยเวลาไปดูคอนเสิร์ตมันจะกลายเป็นความแบบพยายามจะรู้สึกว่าอยากจะเจออะไรแปลก ๆ ใหม่ ๆ หนึ่ง

สอง คือคนดูไทยดูคอนเสิร์ตเพื่อเสพความสนุก ดังนั้นเราอาจจะไม่ได้ต้องการความแบบอาร์ตจัดมาก เราต้องการความเข้าถึงง่าย ถ้าเข้าถึงง่าย พี่รู้สึกว่าคนดูไทยหลายคนจะชอบ ไม่ใช่ทั้งหมดนะ มันก็มีคนดูที่มีความอาร์ต ๆ แนว ๆ ก็มี แต่ว่าถ้าคนดูที่มันแมส ๆ หน่อยก็อาจจะชอบความเข้าถึงง่ายคุยกันสนุก มันก็เลยกลายเป็น criteria บางอย่างในการทำคอนเสิร์ตที่มีความแมสว่า เอ้ย ต้องคุยกันแล้วขำ ความตลกในคอนเสิร์ตมันจะอยู่ในรูปแบบวาไรตี้พอสมควร

แต่ว่ามันก็เริ่มเปลี่ยนนะ พอเป็นวัยรุ่นเดี๋ยวนี้มันก็จะลดความวาไรตี้นี้ลงมันอาจจะเกิดจากสมัยก่อนเราอยู่บนพวกมีเดียแบบแมสมาตลอดดู มันเป็นการอยู่ใน Culture คอนเสิร์ตเราก็จะมีส่วนนี้มาอยู่ในงาน ว่ามันต้องมีพูดคุยมีตลก แต่ว่าจริง ๆ แล้วคอนเสิร์ตสำหรับเด็กวัยรุ่นยุคนี้มันก็จะเริ่มมีความต่างกับสมัยก่อนแล้ว มันจะเริ่มนิ่งขึ้นพูดน้อยลงเล่นดนตรีอย่างเดียวก็มี ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับ segment ดนตรีด้วย

มิวสิคเฟสติวัลมีความต่างกับคอนเสิร์ตธรรมดาทั่วไปอย่างไร

ต่างกันเลย คือมิวสิคเฟสติวัลลึก ๆ มันมีความอิมเมอร์สซีฟ มีความมีธีมหลวม ๆ แล้วเอาเพลงมาให้คนสามารถเลือกฟังได้ คนดูมีทางเลือกในการที่จะเสพดนตรีนั้น ๆ แต่ถ้าคอนเสิร์ตมันจะเหมือนเราจับเข้าไปนั่งอยู่ในโรงละครแล้วก็บังคับเขาดู 3 ชั่วโมง ดังนั้นการทำกราฟโชว์ของคอนเสิร์ตมันจะมีการบังคับเหมือนดูละคร เหมือนทำหนังเลย

ถ้าคอนเสิร์ตเหมือนทำหนัง มิวสิคเฟสติวัลมันจะคล้าย ๆ กับการทำเพลย์ลิสต์รวมฮิต แล้วเราก็จัดเรียงของตำแหน่งของแต่ละวง ว่าควรอยู่ตรงไหน ตรงไหนควรพีค พอมิวสิคเฟสติวัลมีมากกว่าหนึ่งเวที เราก็จำเป็นต้องจัดเรียงว่าวงไหนจะอยู่ชั่วโมงไหนดี เพื่อจะให้เขาสามารถย้ายที่ได้ แต่อย่างมิวสิคเฟสติวัลในประเทศญี่ปุ่น บางทีก็ชนวงใหญ่เลย คือคุณต้องเลือก คุณเข้าไปถึงแล้วก็ต้องวางแผนว่าคุณจะดูวงไหนมันไม่สามารถจะเลือกได้ทุกวง มิวสิคเฟสติวัลมันเลยทำให้คนมีสิทธิ์ที่จะได้ เอ็นเกจกับมันได้ คิดกับมันได้ เลือกที่จะทำอะไรได้มากกว่า ผมว่ามิวสิคเฟสติวัลมันต่างคอนเสิร์ตค่อนข้างสิ้นเชิงกันนะ

จากมิวสิคเฟสติวัลที่มีอยู่มากมาย อะไรที่ทำให้มิวสิคเฟสติวัลงานหนึ่งประสบความสำเร็จมากกว่าอีกงาน

ง่าย ๆ หลัก ๆ เลยคือไลน์อัพ ถ้าไลน์อัพน่าสนใจคนก็ไป แต่พอมันเป็นยุคที่ไลน์อัพมันเริ่มซ้ำ คราวนี้มันก็จะต้องเป็นเรื่องของ experince ประสบการณ์ที่เราได้จากการไปในงานเฟสติวัลนั่นแหละ เฟสติวัลเมืองนอกอย่าง Fuji Rock เขาก็จะมี experience บางอย่างคือความลุย ๆ ความเละ แต่ละเฟสติวัลมันจะมีคาแรคเตอร์ของมันอยู่ พอมันมีคาแรคเตอร์ของมัน มันก็จะมี experience  บางอย่างที่เป็นความเฉพาะตัว

พี่ว่าจริง ๆ มิวสิคเฟสติวัลเมืองไทยที่เราอาจจะรู้สึกว่ามันยังไม่ได้มีคาแรคเตอร์เท่า Fuji Rock หรือว่า Cochella หรืออะไรก็ตาม เพราะมันอยู่ในช่วงกำลังพัฒนา มันกำลังถูกพัฒนาดีไซน์ให้มันเกิด experience ร่วมอยู่ พี่คิดว่าอีกสักสี่ห้าปีมันจะเห็นมิวสิคเฟสติวัลที่แข็งแรงและสามารถมีคาแรคเตอร์ของมัน แล้วเราก็จะนึกออกแล้วว่าเราไปมิวสิคเฟสติวัลนี้เราจะได้เจออะไร เราจะมีความรู้สึกอย่างไรโดยที่ไม่ต้องถามถึงไลน์อัพหรือด้วยซ้ำ แต่ว่ามันเป็นเรื่องของบรรยากาศ และความรู้สึก experience   ซึ่งพี่ว่าอีกสักพักมันก็จะค่อย ๆ ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ว่ามันจะต้องสร้างคาแรกเตอร์นี้

อย่างที่บอกว่าสมัยก่อนมันอยู่ไลน์อัพใช่ไหม ตอนนี้พอไลน์อัพเริ่มซ้ำ ดังนั้นมิวสิคก็ต้องเริ่มหาคาแรกเตอร์ของตัวเองให้ชัดว่าบรรยากาศของเราคืออะไร คนดูมาจะได้อะไรกลับไป

แต่ก่อนมิวสิคเฟสติวัลสร้างประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยการไปต่างจังหวัด แต่ตอนนี้เมื่อมิวสิคเฟสติวัลย้ายมาอยู่ในเมือง ในคอรเสิร์ตฮออล์แล้ว จะสร้างความแตกต่างอย่างไร

พี่ว่าเฟสติวัลมันมีหลายรูปแบบ มิวสิคเฟสติวัลพี่รู้สึกมันอาจจะไม่จำเป็นต้องเป็นสถานที่กลางแจ้ง มันเป็นเรื่องของไวบ์บางอย่างที่เราอยากจะคนดูได้รับ ส่วนตัวคิดว่าการจัดในฮอลล์มันน่าจะทำให้คนดูอาจจะสามารถ concentrate กับงานที่อยู่ ณ ตรงนั้นได้ดีกว่า เพราะว่าข้อแรกคือมันเป็นสถานที่ปิด และสองคือมันเย็น แล้วมันทำให้เราไม่ต้อง “โอ้ย ร้อนจังเดินไปตรงนั้นก็เหนื่อย” คือเราสามารถเสพสิ่งที่อยู่ในงานนั้น ๆ ได้เต็มที่ แล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องฝน ไม่ต้องกังวลเรื่องอื่น ได้อยู่กับงานของเราอย่างเต็มที่

จริง ๆ แล้วสักพักนึงพี่ทำเฟสติวัลพี่ก็แอบเบื่อนะ เพราะรู้สึกว่ามันก็ยังอยู่อะไรเดิมๆ แต่อย่างครั้งนี้พอได้มาทำงาน T-Pop Concert Fest ก็ตั้งเป้าไว้ว่าเฟสติวัลนี้เราจะไม่ได้พูดถึงการไลน์อัพมาใส่ ดีไซน์เฟสติวัลให้มันมีความเฉพาะตัวขึ้น มีการคุยกับคุณกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น เอาดีไซน์มาใส่ให้มันมากขึ้นไม่ใช่แค่เอาบูธมาวางแล้วเอาเวทีมาตั้งเหมือน ความสนุกพี่คือการพยายามทำเฟสติวัลให้มันมีคาแรคเตอร์ใหม่กว่าเดิม

ถ้าเราดูจากชื่อ T-pop Concert Fest ก็จะเห็นว่ามันเป็นงานดีไซน์ที่เป็นลูกผสมพอสมควร คืออยากให้มันมีความเป็นคอนเสิร์ตและมีความเป็นเฟสติวัลด้วย หมายถึงว่าโชว์มันจะถูกพัฒนาให้ไปไกลกว่าการแค่โยนวงเข้ามาแล้วก็นั่งดู ไม่ได้มาแค่มาดูคอนเสิร์ต ไม่ได้เป็นแค่การที่เรามาดูวงที่ชอบ แต่ว่าเป็นการที่เรามาเจอเพื่อน ๆ แก๊ง T-pop อยากจะให้ทุกคนที่เข้ามาได้แต่งตัว ปีนี้จริง ๆ พี่ตั้งคอนเซ็ปต์และ Dress Code เป็น Y2K ก็อยากจะให้แต่งแบบ Y2K กันมาเลย แล้วก็แบบมาเจอบูธ มาเจอกิจกรรม ต่าง ๆ ที่จะเล่นเกี่ยวกับ Y2K เอาตู้เกมมาใส่ให้ตรงกับคอนเซ็ปต์ ธีมนี้ก็จะถูกนำไปใช้ในการออกแบบเวทีด้วย ดังนั้นสนุกของพี่ตอนนี้คือการอยากทำให้มันมีความเป็นธีมมากกว่าแค่แบบ “เฮ้ย เรามาดูไลน์อัพ เรามาดู 4EVE เรามาดูพีพีบิวกิ้น” แต่ให้เรามาเอ็นจอยกับการอยู่ในสถานที่นี้ด้วยกันแล้วก็เอ็นจอยกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในนี้ ที่ไม่ได้เกี่ยวกับเวทีด้วย อันนี้คือความสนุกที่ตัวเองอยากทำกับเวที T-pop ครั้งนี้มาก

พอมาทำงาน T-pop ก็เลยบอกว่าขอเป็นห้องแอร์เหอะ อยากให้อยากให้เด็ก ๆ T-pop ที่เข้ามาได้อยู่ในห้องแอร์ แล้วก็สามารถแต่งตัวแบบเดินไม่ต้องมาเหนื่อย เหนียว ๆ อะไรแบบนี้ เดินแบบสวยแล้วก็ไปเล่นกิจกรรม ดูคอนเสิร์ต ฟังเพลงคอนเสิร์ตไม่ต้องมานั่งเบียดร้อน

ก็เลยเลือกที่จะเป็น indoor space แล้วก็รู้สึกว่าไม่ค่อยมีใครทำนะ เดาว่าน่าจะเกิดจากการลงทุนเพราะอย่างนี้น่าจะลงทุนสูงกว่าที่จะใช้ space ที่มันเป็น space public กว้าง ๆ ก็เลยคิดว่ามันน่าจะเป็นเฟสติวัลที่มีความต่าง ทั้งในแง่ของคาแรกเตอร์แล้วก็รู้สึกว่าเราอยากให้มันเป็นแบบสบาย ๆ ทุกคนทุกคนมาแล้วแฮปปี้กับมันก็เลยรู้สึกว่าอยากจัดอะไรที่มันอยู่ในสเปซที่มันคอนโทรลได้

อยากให้คนมางานนี้มาก ๆ เพราะว่าตั้งใจจะทำให้มันเป็นแรงขับเคลื่อนของวงการนี้เลย แล้วช่วงนี้ที่ T-pop กลับมาก็รู้สึกว่าคลัสเตอร์นี้มันมีความเป็นเพื่อน ๆ กัน เป็นก๊วนเดียวกันอยู่เยอะพอสมควร เราก็อยากให้เรามาจอยกันในที่นี่ ซึ่งเราตั้งใจดีไซน์ให้มันมีความสนุกมากกว่าแค่มาฟังดนตรี อยากให้มาเป็นก๊วนเดียวกันมาแต่งตัวมาเจอกันอะไรนี้มาเล่นกิจกรรมด้วยกัน มาใช้ชีวิตร่วมกันสักสองวันว่าเราเป็นชาว T-pop  แล้วมันจะได้มีกิจกรรมใหม่ ๆ ทุกๆปีที่จัดให้เราชาว T-pop ได้อยู่ด้วยกัน ก็อยากเชิญให้มางาน T-pop Concert Fest กันนะครับ

คุณพลทิ้งท้ายพร้อมฝนที่ยังตกอยู่เป็นสายที่นอกหน้าต่าง

T-pop Concert Fest จะจัดขึ้นในวันที่ 29-30 ตุลาคมนี้ ที่ศูนย์ประชมแห่งชาติสิริกิตต์ จำหน่ายบัตรแล้ววันนี้ทาง The Concert Application หรือ www.theconcert.com

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า