Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

เป็นที่ทราบกันดีว่า โควิด 19 ได้เข้ามากระทบชีวิตและธุระกิจ แต่ไม่ว่าจะสำรวจกี่รอบหรือโพลล์จากกี่สำนักอาชีพที่ได้รับผลกระทบมากก็คงหนีไม่พ้น ธุรกิจด้านการท่องเที่ยวและการบิน แต่ทว่าธุรกิจที่ได้อานิสงส์ไปเต็มๆ คงจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้นอกจาก ‘อีคอมเมิร์ซ’ แต่เคยสงสัยหรือไม่ ที่ว่าเติบโตแท้จริงแล้วเติบโตแค่ไหนและแนวโน้มเป็นอย่างไร

WorkpointTODAY มาเปิดความรู้พูดคุยในเรื่องธุรกิจของ เมฆ-นิธิ สัจจทิพวรรณ กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง My Cloud Fulfillment นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ทำคลังสินค้าออนไลน์เป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จร้านค้าออนไลน์ สามารถทำยอดขายได้สูงและโตวันโตคืน แต่นอกเหนือจากเรื่องธุรกิจแล้วเรายังได้พูดถึงชีวิตเรียนรู้อดีตของผู้ชายที่ชื่อ ‘เมฆ’ ในวัยเพียง 31 ปี คนนี้ ว่าอะไรที่ทำให้มาไกลได้ขนาดนี้

สิ่งแรกที่ประหลาดใจคือ My Cloud Fulfillment กับชื่อ ‘เมฆ’ เหมือนกับว่าพระเจ้าให้มา และกำหนดว่าต้องทำธุรกิจนี้

มันมาจากคนที่ร่วมก่อตั้งเขาบอกว่าชื่อ ‘เมฆ’  มันเหมาะกับออนไลน์อยู่แล้ว มันก็น่าจะเอามาใส่และก็เป็นชื่อเจ้าของด้วย อย่าง ‘จิ๊บ คอมพิวเตอร์’ ก็เป็นชื่อของพี่จิ๊บ ก็เลยเป็น My Cloud Fulfillment

ธุรกิจ My Cloud Fulfillment คืออะไร

เรียกว่าคลังสินค้าออนไลน์ เมื่อมีคนขายของออนไลน์แล้วใช่ไหมก็จะมีสต๊อกสินค้า คนขายจะสต๊อกสินค้ามาเก็บไว้ที่คลังของเรา แล้วจะมีระบบจัดการให้ทางเจ้าของร้านสามารถคีย์ออเดอร์มาที่ระบบได้เลยหรือว่าเอาระบบเชื่อมต่อกับช่องทางต่างๆของเขาก็ได้

คือเวลามีออเดอร์ปุ๊บ ระบบของเราก็สามารถดูอัตโนมัติได้เลย แล้วก็จะมีพนักงานคอยหยิบของ ตรวจของ แพ็คของ และส่งของให้ถึงมือลูกค้า ส่วนเจ้าของร้านก็จะได้มีเวลาจัดการร้านค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องมานั่งยุ่งกับสต๊อกอีกเลย ก็จะลดทอนความยุ่งยากลำบากไปได้เยอะ

แปลว่าถ้าจะทำธุรกิจก็ไม่จำเป็นต้องมีโกดัง หรือแพ็คของเองแล้ว 

 หนึ่งในสิ่งที่เราทำในเรื่องการจัดการสต็อกและเรื่องแวร์เฮาส์เก็บของ ฟีโฟ ไฟโฟ (First in, First out แปลว่า “เข้าก่อน- ออกก่อน” ) คือปัญหาด้านหนึ่งต้องใช้คน อีกด้านหนึ่งคือการจัดการ ออเดอร์ หรือว่าภาษาอังกฤษเรียกว่า Order Management System การที่เรามีหลายช่องทางการขาย ทั้งบน Facebook บน Lazada และช่องทางอื่นๆ ต้องรับออเดอร์มาจัดการแพ็คตามความต้องการของแต่ละคนและก็จัดการส่ง ฉะนั้นเรื่องของระบบ เรื่องขอแวร์เฮาส์เป็นเรื่องสำคัญเท่าๆ กันกับการจัดการ

 ทำไมต้องทำคลังสินค้า 

ต้องย้อนไปตั้งแต่ปี 2011 เราไม่ได้คิดอะไรมาก ผมในตอนนั้นผมอายุ 22 ปี ก็อยากทำธุรกิจออนไลน์ อยากเป็นพ่อค้าออนไลน์ธรรมดาคนหนึ่ง Facebook ก็เพิ่งมีและยังไม่มีระบบยิงโฆษณาเลย Twitter ก็ยังไม่มา Instagram ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แต่ก็เห็นว่ามีคนขายของออนไลน์ใน eBay แล้วได้เงินดีเหมือนนะ ก็เลยคิดว่ามาทำอีคอมเมิร์ซขายออนไลน์ดีกว่า

ธุรกิจแรก คือ ขายจิวเวลรี่ ส่วนตัวจริงๆไม่มีความรู้เรื่องการขายจิวเวลรี่อะไรเลย แต่ตอนนั้นคิดแค่ว่าเมืองไทยมีจิลเวลรี่ที่ดี คนประกอบค่อนข้างเก่ง แต่เมืองนอกถือว่าเป็นสินค้าที่แพงมาก ทำในเดือนแรกนี่ดีเลย เป็นเว็ปไซต์สามารถเลือกแบบสร้างแหวน เลือกพลอย สลักชื่อได้ตามใจ แต่พอทำไปทำมา 2 – 3 เดือน มันไม่ได้ขายดีขนาดนั้นและมันก็ขายไม่ออก เป็นเพราะว่าเราไม่รู้จักมันดีพอ เราไม่เข้าใจลูกค้า ไม่เข้าใจดีไซน์ที่แท้จริง

และอีกปัญหาหลักๆ คือมัวแต่ไปโฟร์กัสในเรื่องจัดการปัญหาหลังร้าน ไปนั่งทำจิวเวลรี่ ทำพลอย ทำแหวน ไปเขียนช่องทางการขาย รับออเดอร์ทำเป็นฟอร์มส่ง และก็ส่งฟอร์มต่อไปให้คนนี้และก็ส่งฟอร์มไปให้คนโน้น มีคนหาพลอย คนผลิตแหวน คนชุบตัวเรือน คนสลัก แล้วมัวแต่ไปทำตรงนี้แต่ไม่ไปโฟกัสที่หน้าร้านจนไปต่อไม่ได้ แต่ที่นี้เราเสียดาย เหมือนเราสร้างวิธีการออเดอร์ได้อย่างดีแล้วอยากทำอะไรต่อ และมีโอกาสไปคุยกับเพื่อนคนหนึ่งที่เปิดบูธขายของเขาขายดีมาก แต่เขาติดปัญหาเรื่องนี้เลยจัดการสต็อกไม่ไหว รับออเดอร์ไม่ได้ “เราก็อ้าว ให้เราช่วยทำไหม”

แรกๆ ทำให้ฟรีเลย ไปๆมาๆ ก็มีเพื่อนอีกคนอยากได้ ทำไปทำมาก็มีอีก “เราก็เอ๊ะ! ‘หรือว่านี้มันคือธุระกิจ” ก็เลยคิดตังดีกว่า ให้แม่ค้าที่เก่งๆ สวยๆ ขายของไป แต่ข้างหลังให้เราแพ็คของทำระบบ ให้เขาแทนดีกว่า เขาจะได้ไปขายได้เต็มที่ไปเลยไม่ต้องห่วงตรงนี้และนี้ก็คือที่มาของเรา My Cloud Fulfillment

ทุกคนอยากไปขุดทอง เปรียบเทียบอย่างนี้ได้ไหม

ใช่ครับ ยกตัวอย่างอเมริกาช่วงหนึ่งมีคนอยากไปขุดทอง ไปหาทองกันหมดเราเองเริ่มต้นก็อยากไปขุดทองเหมือนกัน มัวแต่ไปสร้างเสียมให้มันดี ถึงเวลาเราไปขุดดันไม่เจอ แต่เสียมของเราดีมาก คนอยากได้เสียมแบบเรางั้นขายเสียมแทน

สรุปคือ จุดเริ่มต้นของธุรกิจคลังสินค้าออนไลน์ ‘เมฆ’ ไม่ได้เริ่มต้นจาก My Cloud Fulfillment ที่ขายจิวเวลรี่ แต่ก่อนจะเริ่มขายจิวเวอรี่ ต้องมีระบบจัดเก็บระบบโกดังต่างๆ ทำไปทำมาตัวจิวเวลรี่ไม่ได้ขายดีเท่าไหร่ แต่ระบบที่สร้างไว้ดันขายได้ดีกว่า

นิธิ สัจจทิพวรรณ

กว่าจะเป็น My Cloud Fulfillment ในวันนี้ ในอดีต ‘เมฆ’ ต้องผ่านอะไรมาบ้าง

จบจากอัสสัมชัญ ก็เรียนที่โรงเรียนฮาร์โรว์เป็นโรงเรียนอินเตอร์ จบมาก็เรียนต่อที่  BBA มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็เป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่ง การเรียนพอไปวัดไปวาเอาตัวรอดได้ มาเรียนธรรมศาสตร์ก็แย่ลงเพราะว่าเพื่อนๆ เรียนเก่งก็ตกบ้างอะไรบ้างไม่ค่อยเรียนโดดเรียนประจำ

จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดเลยก็คือ เราค่อนข้างเที่ยวเล่นเยอะ ตอนนั้นมีโอกาสไปดูงานกับคุณพ่อที่ต่างประเทศ คุณพ่อจะมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นคนสิงคโปร์ ซึ่งคนสิงคโปร์เป็นคนที่สู้มากๆ แล้วเป็นคนที่เก่ง อายุ 18 ปี เขาก็ทำอะไรได้หลายอย่างแล้ว ตอนนั้นผม 20 ต้นๆ ยังทำอะไรไม่ได้ ยังอยู่กับพ่อแม่ เขาก็พูดดูถูกมันเป็นคำพูดที่แรงมากเป็นภาษาจีนที่แปลว่าเลี้ยงเสียข้าวสุก

โอ้โห คำนั้นมันคือ เลี้ยงเสียข้าวสุก คิดดูนะสุนัขเลี้ยงไว้ยังเฝ้าบ้านได้แต่นี่เลี้ยงไปก็ไร้ประโยชน์จะเลี้ยงไว้ทำไม วันนั้นเจ็บมากเลยโมโหกำกำปั้นแน่นเลยนะ โกรธมากอยากต่อย แต่ได้แค่กำกำปั้นแล้วปล่อยและก็ร้องไห้ เพราะว่าเขาพูดถูกไม่รู้จะสู้เขายังไงมันคือเราเลย คือนิยามของชีวิตที่ผ่านมา เลี้ยงเสียข้าวสุก คือฉันเลยแหละ พยายามตื่นเช้ามาเป็นคนใหม่”

เช้ามาเข้าไปดูเว็บไซต์ของอเมริกา นั่งดู 500 บริษัทว่าอะไรที่มันเติบโตดี นั่งดูตั้งแต่ตอนหนึ่งทุ่ม จนถึงหนึ่งทุ่มของอีกวันไม่กินข้าวนั่งดูไปเรื่อยๆ แล้วก็เจอจิวเวลรี่ คิดว่าอันนี้ดูดีสุดไปกับไทยได้ น่าจะมีทรัพยากรเพราะเพื่อนเราทำอยู่ เป็นภาพเด็กคนหนึ่งบ้าระห่ำวิ่งไปวิ่งมา ไปถามร้านจิวเวลรี่ว่าทำแบบนี้ได้ไหมเขาก็ด่าเอาว่าไม่รู้เรื่องเด็กเมื่อวานซืนจะไปทำได้ยังไง ต้องเข้าใจนะว่าอีคอมเมิร์ซสมัยนั้นยังใหม่มาก โดนมาเยอะจนมาถึงจุดนี้ และนี่คือจุดเริ่มต้นของเราไม่ได้สวยหรู มันคิดไม่ถึงเลยว่าจะมาทำคลังสินค้าตรงนี้ รู้แต่ว่าจะทำอะไรเพื่อให้ดีขึ้นกว่าเดิมแค่นั้น แต่ก็ทำมาจะ 10 ปี มันก็เดินมาเรื่อยๆ

อยากให้อธิบายการเติบโต ช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาว่ายอดเติบโตอยู่ในระดับไหน

ช่วงโควิด-19 ประมาณเดือนมีนาคม ออเดอร์ที่ส่งอยู่ประมาณ 40,000 ออเดอร์ ต่อเดือน แต่มาเดือนเมษายน ก็เป็น 80,000  มาเดือนพฤษภาคม เพิ่มเป็น 150,000 ออเดอร์ คูณ อีก 2 คือมัน ดับเบิล ดับเบิล ดับเบิล ขึ้นไปภายใน 2-3 เดือน โดยที่เราทำมาตลอด 4 ปีก่อนหน้านี้ มันขึ้นปีละ 20 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง คนซื้อของออนไลน์เยอะขึ้นจริงๆ ซึ่งโควิดไม่ใช่ตัวเปลี่ยนมันเป็นตัวเร่ง เพราะคนซื้อออนไลน์เขาซื้ออยู่แล้วแต่ยอดมันค่อยๆขึ้น พอมีโควิดมาเร่งให้คนไม่สามารถซื้อของช่องทางปกติได้ มันไม่มีทางเลือกมันเป็นความจำเป็นต้องซื้อออนไลน์แทน บางคนไม่เข้าใจธุรกิจออนไลน์หรือไม่เข้าใจการซื้อของออนไลน์ ก็กระโดดเข้ามา

บอกตัวเลขได้ไหม ในช่วงโควิดยอดกระโดดขึ้นมาเท่าไหร่ 

จากเดิมที่เรามีอยู่ประมาณ 50,000 SKU ก็ตอนนี้มีอยู่ 150,000  SKU คือ สี ไซส์ รุ่นของสินค้า มันเพิ่มขึ้นเยอะมากจากปัจจัย 4 อย่างหลักๆ ปัจจัยแรกคนมาซื้อของเพื่อกักตุนสินค้า เดิมทีคนคิดว่าโควิดอยู่ยาวหาซื้อของยาก เผื่อออกจากบ้านไม่ได้ ฉะนั้นการกักตุนสินค้า เช่น สบู่ แชมพู ยาสีฟัน ขายดีขึ้นมา 200-300 เปอร์เซ็นต์

อย่างที่ 2 ก็สินค้าประเภทใหม่ เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์ หรือทำความสะอาดเชื้อโรค โตขึ้น 500 เปอร์เซ็นต์ แม้กระทั่งฟ้าทะลายโจรก็มาแรงมากเพราะคนคิดว่าฟ้าทะลายโจรช่วยเรื่องปอดแต่ตอนนี้ไม่ดีแล้วสต๊อกค้าง ทั้งแอลกอฮอล์และหน้ากากอนามัยขายไม่ได้เลยขึ้นแล้วก็ลงทันที หลายคนก็ไปบริจาคหรือไม่ก็เอาไปโยนทิ้งเลย เพราะมันหาได้ทั่วไปแล้ว

อย่างที่ 3 ธุรกิจที่รุ่ง คือประเภทสินค้าในบ้านเพราะว่ามนุษย์ใช้ชีวิตในบ้านมากขึ้น โตประมาณ 200 เปอร์เซ็นต์ เพราะคนไม่ได้ไปไหนอยู่แต่ในบ้าน

และอย่างสุดท้าย สินค้าที่โดนเอฟเฟคหนักมากที่สุดก็คือแฟชั่น คนไม่มีเหตุผลให้แต่งตัวก็เลยหายไปเยอะ ช่วงโควิดร้านค้าแฟชั่นอยู่กับเรา 40 กว่าเจ้าหายไปเลยสู้ไม่ได้ แต่กลับกัน Cosmetic กับพุ่งสูงขึ้นมาอีกประมาณ 200 เปอร์เซ็นต์ เหมือนกับว่าไม่ได้ออกจากบ้านก็จริง แต่เวลา Conference เวลาประชุม แม้กระทั่งเจอหน้ากันที่บ้านก็ยังต้องสวยแต่อาจจะไม่ต้องใส่รองเท้าส้นสูงแล้วก็ได้

ด้วยปัจจัย 4 อย่างนี้ เลยมีความเปลี่ยนแปลงของ Industry จนถึงตอนนี้ก็เปลี่ยนอีกรอบแล้วด้วยซ้ำ “อยากขายออนไลน์ จะขายอะไรดีไปเสิร์ชดู แต่วันไหนที่คุณเสิร์ชว่าอะไรขายดีจนกว่าคุณจะทำเสร็จแล้วมาขายมันไม่ทันแล้ว ทุกครั้งที่คุณเห็นว่าสินค้าอันนี้ขายดีฉันจะขายและฉันจะรวยจำไว้เลยว่าอันนั้นคุณตายแน่นอน”

เมื่อกี้พูดเรื่อง SKU อยากรู้ว่าตอนนี้กลับมาเป็นปกติหรือยังและมากน้อยแค่ไหน

ออเดอร์ในคลังที่พูดไปว่า 40,000 แล้วก็เป็น 80,000  แล้วก็เป็น 150,000 ออเดอร์ ตอนนี้เดือนแปด เดือนเก้า มีออเดอร์อยู่ประมาณ 120,000 มันน้อยลงแน่นอน เพราะว่าหลายๆ คนกลับไปซื้อของในห้าง แต่ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นว่าไม่ได้เยอะเหมือนเดิม อย่าลืมว่าโควิดที่ผ่านมาคนที่มาซื้อออนไลน์หลายคนเป็นกลุ่มใหม่ ที่ไม่เคยซื้อออนไลน์เลยแล้วพอเข้ามา พบว่าสะดวกดี โดยเฉพาะรุ่นพ่อ รุ่นแม่เรา เดิมที่ซื้อข้าวสารต้องไปซื้อที่ซุปเปอร์ ซื้อที่ตลาด พอสั่งออนไลน์ได้แบบง่ายๆ ราคาก็ถูกกว่าแถมต้องแบกไม่ต้องขับรถไปรอคิว คนที่เขาไม่เคยซื้อได้เปิดใจแล้วก็ติดใจ ยิ่งออนไลน์มันเก่งยิ่งซื้อซ้ำยิ่งได้ส่วนลด ยิ่งได้คูปอง

ฉะนั้นการซื้อของออนไลน์ยอดมันไม่ลดลงแค่ลดจากช่วงพีค แต่ตอนนี้ยอดสูงกว่าช่วงก่อนโควิด เยอะกว่าเดิมตั้ง 3 เท่า ไม่ได้มีทิศทางที่จะลดลง อย่างเช่นปลายปีนี้ มีโปรโมชั่น 11.11 -12.12 จาก Lazada Shopee ก็คิดว่าน่าจะขึ้นไปอีก จากเดิมช่วงนั้นได้ออเดอร์แค่ 80,000 ออเดอร์ ก็เก่งแล้ว แต่ตอนนี้เริ่มต้นมา 120,000 ออเดอร์ คาดหวังว่าเรามีถึง 500,000 ออเดอร์ได้เลยทีเดียว

นิธิ สัจจทิพวรรณ

ถือว่าเป็นคำแนะนำที่จริงใจได้ไหม เพราะว่า ‘เมฆ’ เป็นคนดูคลังสินค้าอย่างเดียวไม่ได้ไปขายของแข่งกับใคร

เพราะเรารู้ว่าข้างหลังมันเป็นยังไงก็เลยอยากจะแนะนำอยากให้ธุรกิจไปต่อได้ แต่ปัญหามันอยู่ที่จะได้ไปต่อหรือไม่ได้ไปต่อ ถ้าเงินไปจมอยู่ในสต๊อกไปต่อไม่ได้ไงก็น่าเสียดาย

ปัญหาการขายของตอนนี้มีอยู่ 2 เรื่อง คือ Opportunity Cost (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) กับ Sunk cost ( ต้นทุนจม หรือ ต้นทุนที่ได้จ่าย)  สมมุติมีของ 100 ชิ้น จริงๆควรขายได้ 200 ชิ้น เก็บน้อยเกินไปคุณเสียโอกาส แต่ถ้าเกิดมีของ 100 ชิ้น ขายได้แค่ 50 ชิ้น เก็บเยอะเกินไปเงินจม ถ้าขายหมดทุกครั้งก็รวยขึ้นเรื่อย ยกตัวอย่างช่วงโควิดคนขายดีขึ้นนะ แต่ยิ่งขายยิ่งจน เงินลงสต๊อกแต่สต็อกผิด “ทำยังไงให้ยิ่งขายยิ่งรวย ไม่ใช่ยิ่งขายยิ่งจน”

ต้องเข้าใจลูกค้า เข้าใจลูกค้าฟังแล้วง่ายแต่จริงๆยาก “เช่น ลูกค้าที่ซื้อแอลกอฮอล์ เขากลัวติดโควิด พอเสร็จปุ๊บมันก็ไม่ใช่แล้ว แต่ตอนนี้มันเป็นเครื่องอบแบงก์กับเครื่องอบยูวี แต่พอคุณจะมาทำตัวนี้ก็ไม่ใช่แล้วอยู่ดี” จะต้องรู้ว่าคนต้องการอะไรต่อไป

เข้าใจช่องทาง ขายของออนไลน์ช่องทางมันหลากหลาย เช่น Lazada Facebook ดีในการหาลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ แต่ลูกค้ามันจะไม่ค่อยผูกพัน ใครให้ราคาถูกก็ไป จะทำยังไงให้ลูกค้าผูกพันอาจจะต้องหาช่องทางใหม่ๆ อย่าง LINE หรือ Channel อื่นที่สามารถพูดคุยกับลูกค้าได้ การขายต้องมีเว็บไซต์ ไม่ได้ทำเพื่อขายของแต่ทำเพื่อ SEO (Search Engine Optimization) ให้คนค้นหาแล้วเจอสินค้า นอกจากนี้ยังช่วยขยายตลาดไปต่างประเทศได้ง่ายขึ้น

เข้าใจตัวเอง ต้องรู้ว่าเป็นใครเก่งอะไร คือธุรกิจมันมีเฟสขั้นแรกคือ Prove your product พิสูจน์สินค้าของคุณว่ามันดีจริง ต่อมาคือ  Prove your business พิสูจน์ธุรกิจของคุณว่าไปได้จริง และสุดท้าย Prove your company  พิสูจน์บริษัทของคุณว่าไปต่อได้จริงๆ

แสดงว่า My Cloud Fulfillment ก็เป็นตัวช่วยดูแลปัญหาตรงนี้ให้ได้

ทำได้โดยใช้ Data เหมือนวางรากฐานแล้วทำไปทีละขั้น เด็กก็ต้องดูแลแบบเด็ก ผู้ใหญ่ก็ค่อยๆเติบโต ธุรกิจแต่ละช่วงก็ต้องดูแลอีกแบบ อยากให้คิดว่ากำลังวิ่งมาราธอน ไม่ใช่การวิ่งเปรี้ยวอย่าดูแต่คู่แข่งลุ้นจะชนะไม่ชนะ แต่อยากให้มองว่าวิ่งให้ยาวแล้วแข่งกับตัวเองเท่านั้นเลย การแข่งกับตัวเองให้ดีต้องรู้จัก Data

สุดท้ายแล้วต้องเข้าใจธรรมชาติว่าไม่มีอะไรยั่งยืน เมื่อก่อนในธุรกิจจะลงทุนยาวๆ ได้แต่ตอนนี้มันคือการลงทุนเพื่อให้มันยืดหยุ่น อะไรไม่เก่งอย่าทำ สมมุติทำแฟชั่นเก่ง แต่ไม่เก่งด้านคลังให้คนอื่นทำ ไม่เก่งยิงโฆษณาก็มี Marketing ยิง ไม่เก่งผลิตก็มี Supplier ไม่เก่งทำบัญชี ก็มีบริษัทบัญชีทำ ดังนั้นคุณแค่ดีไซน์และดูแลลูกค้า ธุรกิจทุกวันนี้ทำแบบนี้สามารถประกอบส่วนเข้ามาด้วยกันได้

คุณสมบัติอะไรที่สำคัญ สำหรับคนที่อยากทำธุรกิจ

สกิลสำคัญที่สุดที่เขาพูดกันว่า We learn เรียนรู้ ลบทิ้ง เรียนใหม่ Copy Disk ที่ถูกลบถูกล้างแล้วก็ลงใหม่ได้เรื่อยๆ คนที่ต้านก็จะไปต่อยากพนักงานบริษัททุกคนเรากำลังพูดถึงความเร็ว ป้าเล็กชนะป่าใหญ่คุณธนินท์ เจียรวนนท์ เป็นคนพูดเองคือปลาใหญ่มันๆช้ายิ่งช่วงจังหวะนี้ เอสเอ็มอี ตัวเล็กซอกแซกไปซอยไหนก็ได้

พนักงานบริษัทวันนี้ที่เรียนจบมาจากมหาวิทยาลัย อายุ 20 กว่า ต้องทำใจเพราะใบปริญญาของคุณไม่ได้ใช้ พออายุ 30 ต้องเรียนใหม่ ปริญญาเป็นเพียงพื้นฐาน แต่ว่าพื้นฐานที่ดีคือต้องเป็นคนเร็ว ควรต้องเอาพื้นฐานนี้ไปต่อยอดได้เร็วและเติบโตได้

มันต้องถึงขนาดว่าทุกคนต้อง Programming อะไรอย่างนี้ไหม

ไม่ต้องขนาดนั้น คือสุดท้ายแล้วธุรกิจหรือทุกอย่างมันคือมนุษย์อยู่ดี ไม่ว่าอะไรก็ตามสุดท้ายมนุษย์คือศูนย์กลาง เพียงแต่เรามีเทคโนโลยีพวกนี้เข้ามามันจะเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เพราะพฤติกรรมมนุษย์เปลี่ยนไป

“ยิ่งเป็นยุคเทคโนโลยีไม่ใช่คุณต้องมีความรู้เยอะเรื่องโค้ดดิ้ง แต่ต้องมีความรู้ด้านจิตใจเยอะขึ้น ทำความเข้าใจคนให้เยอะเพราะไม่ได้มานั่งคุยกันแบบนี้แล้ว” อีกหน่อยคุยกันผ่าน Conference ผ่านมือถือ มนุษย์อยู่ในโลกออนไลน์นักเลงคีย์บอร์ดเต็มไปหมดยิ่งเข้าใจคนกันยาก อนาคตยิ่งต้องพยายามทำความเข้าใจคนให้ลึกซึ้ง ทำได้ก็จะทำธุรกิจได้ดี เพราะสุดท้ายแล้วเทคโนโลยีมันจะมีสิ่งที่ทำได้ดีและง่ายขึ้นเรื่อยๆ แต่เข้าใจคนยากขึ้นเรื่อยๆ

อยากฝากหรือแนะนำอะไรสำหรับคนที่อยากเริ่มต้นทำธุรกิจ

ผมเคยทำธุรกิจมา 3 อย่างแล้ว มีจิวเวลรี่ ชุดทำอาหารส่งที่บ้านให้คุณทำอาหารได้ทันที ซึ่งถ้าขายตอนนี้ก็จะดีมากแต่ตอนนั้นเราทำตั้งแต่ปี 2014 มันไม่เวิร์กคนยังไม่รู้จัก สปาเก็ตตี้คาโบนาร่าแกะเอามาเทลงผัดๆ กินได้เลย ตอนนั้นทำอันนี้ก็เจ๊ง

ค่อยมาเป็น My Cloud Fulfillment อันนี้ แต่ก็อาจจะเจ๊งก็ได้ใครจะไปรู้ถูกไหมแต่ถ้าไม่ลองทำแล้วไม่ลองเจ๊งก็จะไม่เรียนรู้ “การเรียนรู้เดียวที่สำคัญคือการเจ๊ง เพราะมันจำมันเจ็บแล้วเข้าใจแล้วมันจะไปต่อได้”

“แล้วหลายคนกลัวเจ๊ง ผมก็กลัวเจ๊งแต่มันต้องกล้าอยู่ดี กล้าที่จะลงทุน ด้วยการแบ่งเงินลงทุน เช่นมีเงินทั้งหมด 5 ล้านบาท ไม่ได้เอาลงอันเดียว 5 ล้าน เพราะถ้าเจ๊งก็เจ๊งทั้งหมด แต่ถ้าแบ่ง 5 ล้านบาท วัดกันสัก 5 ครั้ง ถ้ามันหมดแล้ว คุณมันอ่อนจริงๆช่วยไม่ได้ก็ไปละกัน แต่อย่างน้อยก็ได้ลอง 5 ครั้ง”

สุดท้ายแล้ว ไปแนะนำอะไรใครไม่ได้ เพราะอะไรก็ตามที่แนะนำในตอนนี้ปีหน้าใช้ไม่ได้แล้ว ถ้าจะแนะนำก็คือตื่นตัวอย่ายึดติดกับธุรกิจเดิม ธุรกิจที่ทำอยู่วันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ตลอดไป

“ผมเองก็รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้มันอาจจะไม่ได้อยู่ตลอดไปก็ได้มันต้องเปลี่ยนอยู่ดี แล้วก็อะไรที่รู้ว่าตัวเองเก่งทำแค่นั้น อะไรที่รู้ว่าตัวเองไม่เก่งไม่ต้องทำแล้วก็ศึกษาให้ดี ทำใจให้ได้ เข้าใจลูกค้าเข้าใจช่องทางเข้าใจตัวเองให้ดี เข้าใจธรรมชาติว่ามันสุดท้ายมันจะยืดหยุ่นมันจะเปลี่ยนแปลง ไปพยายามเข้าใจเรื่องพวกนี้พกมันใส่กระเป๋าและออกจากบ้านออกจาก Comfort zone แล้วลองสักตั้งกับอะไรสักอย่างดู”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า