SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังจากกองทัพพม่าออกมาประกาศเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน หลังจับกุมนางออง ซาน ซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐหัวหน้าพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ที่เพิ่งชนะการเลือกตั้งไปอย่างถล่มทลาย ด้วยข้ออ้างว่ามีการทุจริตเลือกตั้งเกิดขึ้น ผู้นำชาติตะวันตกต่างออกมาแสดงท่าทีกับการรัฐประหารดังกล่าวไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา แคนาดา รวมถึงออสเตรเลีย เช่นเดียวกันกับประเทศสมาชิกประชาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในเมียนมาเช่นกัน workpointTODAY ชวนรศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดคุยวิเคราะห์ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

สหรัฐฯ ดึงพันธมิตรเพื่อปิดล้อมเมียนมา

หลังจากหลายชาติเริ่มออกมาแสดงความกังวลต่อเหตุการณ์การเมืองในเมียนมา เมียนมาเองก็คงจะอยู่ภายใต้แรงกดดันค่อนข้างมากจากประชาคมนานาชาติรวมถึงอาเซียนที่ไม่ต้องการให้สถานการณ์ลุกลามไปมากกว่านี้และต้องการให้หันหน้าเจรจาพูดคุยกันมากขึ้น ทำให้เกิดการเลือกตั้งในเมียนมาโดยเร็ว ส่วนประเด็นเรื่องการคว่ำบาตรก็ยังไม่เห็นท่าทีใดๆ ชัดเจนจากทางสหรัฐฯ เพียงแต่เรียกร้องและข่มขู่ว่าจะคว่ำบาตรเมียนมาเท่านั้น ด้านท่าทีอาเซียนที่ออกมาขอให้เจรจากันนั้นถือว่าเร็วกว่าที่คาดการณ์ แนวโน้มที่จะกดดันมากกว่านี้ยังไม่น่าเกิดขึ้นเว้นแต่จะเกิดเหตุรุนแรงบานปลายในเมียนมา ซึ่งก็เป็นท่าทีประนีประนอม รอมชอมแบบอาเซียนที่เราคุ้นเคยกันดี

หากจะวิเคราะห์จากท่าทีของสหรัฐฯ ครั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีต ต้องยอมรับว่าปัจจุบันสถานการณ์ในเมียนมาเปลี่ยนไปมาก มาตรการของสหรัฐฯ ต่อเมียนมาคงจะไม่กลับไปรุนแรงเท่ากับในอดีตเพราะมาตรการที่แข็งกร้าวของสหรัฐฯ ก็จะกระทบกับกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยเพราะอาเซียนมีจุดยืนร่วมกัน ในอดีตเคยมีการเรียกร้องจากสหภาพยุโรปไม่ให้นำเมียนมาเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ ซึ่งก็ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากอาเซียนมีจุดยืนที่จะไม่ปิดกั้นประเทศสมาชิกของตนเองเพียงประเทศใดประเทศหนึ่ง ดังนั้นมาตรการอาจจะแตกต่างไปและหากมีการคว่ำบาตรผลกระทบก็จะตกอยู่กับประชาชนอยู่ดี ดังนั้นครั้งนี้สหรัฐฯ คงจะไม่กระทำการตามลำพังแต่จะใช้วิธีดึงพันธมิตรของตนเองในยุโรปมาร่วมกันประจานประนามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมียนมาเพื่อเพิ่มน้ำหนักการปิดล้อม

บทบาทของประเทศเพื่อนบ้านที่แน้นแฟ้นของเมียนมา

หากจะกล่าวถึงบทบาทของประเทศเพื่อนบ้านที่มีต่อเหตุการณ์ยึดอำนาจ แน่นอนว่าต้องกล่าวถึงจีนด้วย เพราะการกดดันของสหรัฐฯ ครั้งนี้ มีแต่จะผลักใสให้เมียนมาหันหาจีนมากขึ้น โดยปัจจุบันมหาอำนาจอย่างจีนเติบโดขึ้นมาก จีนมีการเข้าไปใช้ฐานทัพในหลายประเทศเช่นศรีลังกาหรือ ปากีสถาน การที่จีนเติบใหญ่มากขึ้นทำให้สหรัฐฯ เล็งเห็น ขณะเดียวกันนอกจากจีน ประชาคมอาเซียน เมียนมาก็ยังมีเพื่อนสนิทอย่างอินเดีย ภูมิภาคนี้เปลี่ยนไปมากจากในอดีต เป็นความท้าทายด้านการต่างประเทศของประธานาธิบดีโจไบเดน ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ขณะเดียวกันกระบวนการประชาธิปไตยก็ถอยหลังไม่ได้ คนเมียนมาก็คุ้นเคยกับสังคมที่เปิดกว้างขึ้น คุ้นเคยกับประชาธิปไตยมากขึ้น เป็นความท้าทายของกองทัพเมียนมาเช่นกันในการยึดอำนาจครั้งนี้ ว่าจะวางทิศทางประเทศไปอย่างไรเพื่อให้เกิดการต่อต้านและแรงกดดันน้อยที่สุด แต่ถ้าจะพูดถึงประเทศที่ชัดเจนที่สุดในอาเซียน คงต้องกล่าวถึงบทบาทของสิงคโปร์เป็นประเทศซึ่งเป็นประเทศแรกๆ ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุรัฐประหารในเมียนมา โดยกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์แสดงความ “ห่วงกังวลอย่างมากกับสถานการณ์ล่าสุดในเมียนมา” และหวังว่าทุกฝ่ายจะ “ใช้ความอดกลั้น” ในสถานการณ์ดังกล่าว ถือว่าเป็นบทบาทที่ต่างออกไปจากประเทศอื่นในอาเซียน หากเปรียบก็เปรียบได้กับความเป็นอิสระของ ส.ส. ที่ไม่ต้องทำตามมติพรรคซึ่งถือว่าทำได้ เช่นเดียวกับมาเลเซียที่ในอดีตก็มีบทบาทต่อต้านประเทศต่างๆ ไม่ให้เข้าร่วมการเป็นสมาชิกอาเซียนรวมถึงฟิลิปปินส์ จะมีก็แต่ประเทศไทยที่ไม่ค่อยกดดันใคร มีท่าทีรอมชอมมากกว่าแม้จะไม่ค่อยถูกใจฝ่ายประชาธิปไตยที่กำลังเคลื่อนไหวอย่างเข้มข้นในปัจจุบัน ส่วนการยึดหลักการอาเซียนที่ว่าจะไม่แทรกแซงกันทั้งหมดก็ไม่ใช่เสมอไป เพราะอย่างไม่เป็นทางการประเทศอาเซียนก็มีการกดดันกันบ้างเช่น ประเด็น ‘เขาพระวิหาร’ ชนวนแห่งความขัดแย้งไม่สิ้นสุดของไทย-กัมพูชา แม้โดยหลักการต้องไม่แทรกแซง แต่ทางอินโดนีเซียก็ขอเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเช่นกัน หรือการที่ไทยขอส่งตัวแทนเข้าไปสังเกตการณ์เหตุการณ์ในรัฐยะไข่ของเมียนมา เพื่อดูว่าเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไร อาจกล่าวได้โดยทั่วไปว่าจุดแข็งของอาเซียนคือ ‘การไม่แทรกแซงอย่างเปิดเผย’ ไม่ประณามใคร ไม่ต่อต้านหรือขับไล่ใครและไม่ต้องลาออกจากประชาคมเหมือนกับที่สหราชอณาจักรลาออกจากเป็นสมาชิกแห่งสหภาพยุโรป อาเซียนไม่ใช่ลักษณะนั้น

บทบาทการทูตภายใต้ความกดดันของกองทัพเมียนมาหลังยึดอำนาจ

รศ.ดร.ปณิธาน กล่าวว่าจริงๆ เราคาดหวังว่าการดำเนินการทางการทูตภายใต้กองทัพเมียนมาจะโอนอ่อนผ่อนตามแรงกดดันและคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน การค้าการลงทุน เนื่องจากปัจจุบันเมียนมาเองต้องพึ่งพาการค้าการลงทุนจากต่างชาติมากขึ้น เมียนมาเข้าสู่กระบวนการโลกาภิวัฒน์มากขึ้น แต่ในอีกด้านนึง คนพม่ามีความภาคภูมิใจในประเทศตนเองสูงไม่ว่าจะฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาลล้วนไม่ชอบให้ต่างชาติเข้าไปแทรกแซง จึงระมัดระวังการคบกับมหาอำนาจ ดังนั้นทุกครั้งที่มีการกดดันจากต่างชาติ สิ่งที่เมียนมาทำคือการหันหลังให้กับแรงกดดันและไม่สนใจเพราะเมียนมามองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาภายในประเทศของเขาเช่น เรื่อง ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ ปัญหาชายแดนหรือสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย บางช่วงเมียนมาถึงขั้นตัดขาดความสัมพันธ์กับโลกภายนอกและอยู่โดดเดี่ยวก็ทำมาแล้ว จึงต้องดูให้ดีว่าครั้งนี้สุดท้ายทุกฝ่ายจะตกลงกันอย่างไร เพราะในอีกปีสองปีข้างหน้าไทยกำลังจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค หากในตอนนั้นเมียนมากลับสู่วงล้อปกติได้ก็จะเข้ามาประชุมกับผู้นำโลกอย่างเป็นทางการเข้าสู่บริบทใหม่ของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ เมื่อถามว่า ณ ขณะนี้ท่าทีของไทยเหมาะสมแล้วหรือยัง รศ.ดร.ปณิธานมองว่า สุดท้ายแล้วไทยต้องเอาผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันขณะนี้คนไทยก็มีความคิดที่แตกต่างกันไปหลากหลาย ส่วนท่าทีระยะยาวเราก็ต้องยึดอะไรที่ไม่กระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การยึดท่าทีของอาเซียนก็เป็นวิธีทางหนึ่ง โดยท่าทีของคนไทยที่เป็นจุดแข็งอย่างหนึ่งคือการแสดงความเห็นอกเห็นใจเพื่อนบ้านซึ่งตอนนี้เผชิญหน้ากับหลายปัจจัย ทั้งเรื่องของสถานการณ์โควิด-19 และการยึดอำนาจจากกองทัพ ท่าทีของไทยก็ต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมโดยวางอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดี บนหลักการสากลและหลักสิทธิมนุษยชนควบคู่กันไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า