SHARE

คัดลอกแล้ว

ออง ซาน ซูจี ในฐานะตัวแทนรัฐบาลเมียนมา ขึ้นให้การต่อศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ หลังถูกรัฐบาลแกมเบียยื่นฟ้องกล่าวหาว่า กองทัพเมียนมา ปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ชาวโรฮิงจาในรัฐยะไข่ด้วยความโหดร้ายและป่าเถื่อน โดยเธอปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค.62 นาง ออง ซาน ซูจี ในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา เดินทางไปขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือ ศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ พร้อมทีมกฎหมายต่อสู้คดีที่เมียนมาถูกรัฐบาลแกมเบียยื่นฟ้อง ว่าการปฏิบัติการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮีนจา เมื่อ 2 ปีที่แล้ว (กลางปี 2560) ส่งผลให้ชาวโรฮีนจามากกว่า 750,000 คน ต้องหนีตายลี้ภัยไปยังบังกลาเทศ

ว่าด้วยปฏิบัติการดังกล่าว เป็นไปด้วยความป่าเถื่อนและโหดร้าย และละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่สมาชิกสหประชาชาติ ( ยูเอ็น ) รวมถึงแกมเบียและเมียนมาร่วมลงนามเมื่อเดือน ธ.ค. 2491

นาง ออง ซาน ซูจี ในฐานะที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของเมียนมา (ภาพโดย: FRANK VAN BEEK / UN PHOTO/ICJ / AFP)

นาง ออง ซาน ซู จี ใช้เวลา 30 นาที ให้การและตั้งคำถามถึงการฟ้องร้องของรัฐบาลแกมเบียว่า ไม่เหมาะสมและพยายามให้ข้อมูลที่บิดเบือนสถานการณ์ไม่มีหลักฐานเพียงพอ ของ รัฐบาลแกมเบีย  พร้อมระบุว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้มีการดำเนินคดีต่อทหารที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว

“เป็นที่น่าเสียใจอย่างยิ่ง ที่แกมเบียนำเรื่องนี้ขึ้นสู่ศาล โดยบิดเบือนสถานการณ์ที่แท้จริงในรัฐยะไข่ ของเมียนมา

เป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ศาลจะพิจารณาประเมินสถานการณ์และได้รับข้อมูลจริงจากพื้นที่อย่างไร้อคติและแม่นยำ

ในความเป็นจริง พฤติการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นั้น ไม่อาจจะตั้งมาจากข้อสมมุติฐานต่างๆได้เพียงเท่านั้น

ภายใต้รัฐธรรมนูญเมียนมาปี 2551 หากการก่ออาชญากรรมสงครามเกิดขึ้นในรัฐยะไข่ โดยการกระทำของกองทัพเมียนมา บุคคลเหล่านั้นจะต้องถูกตรวจสอบและลงโทษตามบทบัญญัติของกฎหมาย” ออง ซาน ซูจี  กล่าว

 

ทั้งนี้ การตัดสินคดี จะต้องใช้เวลาอีกหลายปี ซึ่งขณะนี้ แกมเบีย ได้ยื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อปกป้องชาวโรฮิงจาในเมียนมาและประเทศอื่นๆ จากภัยคุกคามหรือความรุนแรงที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ หากผลตัดสินมีความผิด นาง ออง ซาน ซู จี และ กองทัพจะไม่ถูกจับกุม หรือ โดนไต่สวน แต่การพิจารณาคดีอาจนำไปสู่การคว่ำบาตร ทั้งยังอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียง และเศรษฐกิจที่สำคัญต่อเมียนมาต่อไป

อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ศาลโลกมีการขึ้นบันลังค์พิจารณาคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า