SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาพผู้หญิงคนหนึ่งที่นอนหมดสติอยู่ในอ้อมแขน โดยมีเลือดออกที่ศีรษะจากการถูกยิง กำลังกลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการต่อสู้ต้านรัฐประหารของเมียนมา โดยผู้ชุมนุมชี้ว่า เธอคือเหยื่อการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ในการสลายการชุมนุมต้านรัฐประหาร

เกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงคนนี้ แล้วทำไมเธอถึงกลายเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ขึ้นมาได้ วันนี้ workpointTODAY จะสรุปมาให้อ่านกัน

1.) การชุมนุมต่อต้านรัฐประหารที่กรุงเนปิดอว์เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มีการสลายการชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง กระสุนยาง ขณะเดียวกันยังมีภาพเจ้าหน้าที่พกพาอาวุธปืนจริง และมีรายงานเจ้าหน้าที่ยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อเตือนผู้ชุมนุมก่อนการสลายการชุมนุมด้วย

2.) ในการชุมนุมวันนั้น นอกจากจะมีผู้ชุมนุมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่โดยตรงแล้ว ผู้ชุมนุมบางส่วนเลือกที่ถอยไปหลบในจุดที่มีที่กำบังเพื่อความปลอดภัย ไม่อยากปะทะกับเจ้าหน้าที่

3.) หนึ่งในนั้นคือหญิงสาวอายุ 20 ปี ชื่อมยา เทว่ เทว่ ข่าย (Mya Thwet Thwet Khine) ซึ่งอยู่ในจุดใกล้กับที่เจ้าหน้าที่สลายการชุมนุม โดยภาพที่บันทึกไว้ได้จะเห็นว่า เธอใส่เสื้อสีแดง สวมหมวกกันน็อก ยืนหลบอยู่หลังที่กำบัง ที่เชื่อว่าเป็นที่หยุดรถประจำทางริมถนน

4.) ในขณะที่เธอหลบอยู่พร้อมกับคนอื่นๆ เจ้าหน้าที่บังคับรถฉีดน้ำแรงดันสูง ให้ฉีดน้ำใส่บริเวณที่หยุดรถประจำทาง ภาพที่มีการบันทึกไว้ได้จะเห็นได้ว่า เธออยู่ในจุดที่ฉีดน้ำใส่พอดี โดยมีคนที่อยู่ข้างๆ พยายามดึงเธอออกมา

แต่ในจังหวะนั้นเอง มีเสียงคล้ายปืนดังขึ้น พร้อมๆ กับที่เธอล้มฟุบลงไปกับพื้น ก่อนที่จะมีเสียงคล้ายปืนดังขึ้นตามมาอีกหลายครั้ง

5.) ผู้ประท้วงที่เห็นเหตุการณ์รีบเข้าไปดูอาการของเธอทันที ก่อนที่ผู้ประท้วงจะรีบอุ้มตัวเธอออกจากจุดเกิดเหตุอย่างเร่งด่วน เนื่องจากในตอนนั้นยังมีเสียงดังคล้ายปืนเป็นระยะ

6.) ภาพขณะที่ร่างของเธออยู่ในอ้อมแขนของผู้เห็นเหตุการณ์คนหนึ่ง ในสภาพหมดสติ มีเลือดออกจากศีรษะ ถูกส่งต่อจนเป็นไวรัลในโลกออนไลน์เมียนมาในเวลาต่อมา พร้อมกับกระแสวิจารณ์และตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่อาจใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุม

โดยหลักฐานที่มีการเผยแพร่ออกมาคือ หมวกกันน็อกที่ผู้หญิงคนนี้ใส่ มีร่องรอยคล้ายกระสุนเจาะเข้าไปในหมวกกันน็อก

7.) ผู้หญิงคนนี้ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในกรุงเนปิดอว์ ท่ามกลางความเป็นห่วงของคนเมียนมาทั้งประเทศ โดยในตอนแรกมีรายงานข่าวที่สับสนว่า เธอเสียชีวิตแล้ว แต่ต่อมามีการแก้ข่าวว่าเธอไม่เสียชีวิต แต่มีอาการสาหัส

ครอบครัวของผู้หญิงคนนี้เปิดเผยอาการล่าสุดว่า เธอมีอาการสมองตาย แพทย์ไม่สามารถทำการผ่าตัดได้เพราะมีอาการสาหัสเกินไป และมีโอกาสฟื้นกลับมาเป็นเหมือนเดิมเพียง 5%

8.) เว็บไซต์บีบีซีออกรายงานพิเศษเกี่ยวกับผู้หญิงคนนี้ผ่านทางเว็บไซต์ เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวานนี้ (10 ก.พ.) รวบรวมหลักฐานต่างๆ รวมทั้งภาพหมวกกันน็อกที่เชื่อว่าจะเป็นใบเดียวกับที่เธอใส่ และมีร่องรอยรูคล้ายกระสุน ไปให้ ดร.เคท เฮวินส์ วิเคราะห์ ซึ่ง ดร.เฮวินส์ เชื่อว่า ร่องรอยบนหมวกกันน็อกไม่น่าจะมาจากกระสุนยาง ประกอบกับรูบนหมวกและร่องรอยของเลือดภายในหมวก ทำให้เชื่อว่า น่าจะเป็นลูกกระสุนปืนที่เจาะหมวกกันน็อกใบนี้

9.) รายงานของบีบีซียังตั้งคำถามว่า ใครเป็นผู้ก่อเหตุยิงผู้หญิงคนนี้ ซึ่งจากข้อมูลทั้งหมดแม้จะไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นฝีมือของใคร แต่จากหลักฐานที่มีอยู่ รวมถึงการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เชื่อได้ว่า วิถีของกระสุนน่าจะมาจากฝั่งเจ้าหน้าที่

10.) อย่างไรก็ตาม กองทัพเมียนมาออกมาปฏิเสธโดยย้ำว่า เจ้าหน้าที่ใช้เพียงกระสุนยางในการสลายการชุมนุม โดยใช้วิถีการยิงแบบโค้ง (projectile) ไม่ได้ใช้กระสุนจริง พร้อมย้ำว่า กรณีดังกล่าวกำลังอยู่ระหว่างการสอบสวนของตำรวจ

10.) เหตุที่เกิดขึ้นกับผู้ชุมนุมหญิงวัย 20 ปีคนนี้ จุดกระแสไม่พอใจให้กับชาวเมียนมาทั่วประเทศ ที่ไม่พอใจต่อการรัฐประหารของกองทัพเมียนมาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยผู้ชุมนุมได้นำภาพหลังจากที่เธอถูกยิงไปใช้ประกอบการชุมนุมต่อต้านรัฐประหาร

ขณะเดียวกันยังมีชาวเมียนมาในโลกออนไลน์บางส่วน ตกแต่งภาพหมวกกันน็อกที่มีคราบเลือดเผยแพร่ในโลกออนไลน์ จนหมวกกันน็อกกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ในการประท้วงต้านรัฐประหารไปด้วย

11.) ผู้ชุมนุมคนหนึ่งเปิดเผยกับสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า กรณีของผู้หญิงคนนี้เป็นเหมือนภาพสะท้อนที่น่ากังวลถึงคนรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นอนาคตของเมียนมา พร้อมเปรียบเปรยว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นเหมือนภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อคนรุ่นต่อไป และนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เขาออกมาแสดงพลังบนท้องถนน

12.) ขณะที่ครอบครัวของผู้หญิงคนดังกล่าวออกมาให้สัมภาษณ์ยืนยันว่า จะต่อสู้ต้านเผด็จการต่อไป พร้อมเรียกร้องให้ทุกคนออกมาต่อสู้เพื่อโค่นล้มเผด็จการทหารไม่ให้ตกทอดไปยังคนรุ่นหลัง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า