SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 ร่วมกับ สสส. ม.นิด้า ม.แม่โจ้ และตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ อบรมนักเรียนนายสิบตำรวจ เป็นผู้นำจัดการภัยพิบัติในชุมชน หวังลดความสูญเสีย

วันที่ 28 ก.ย. 62 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ จัดกิจกรรมรณรงค์ การพัฒนาสมรรถนะนักเรียนนายสิบตำรวจเพื่อเป็นผู้เชื่อมประสานการจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ณ ถนนคนเดินวัวลาย อมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนนายสิบตำรวจ เป็นตัวแทนจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติในระดับชุมชน

พ.ต.ต นันทวิทย์ เทียมบุญธง ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจภูธรภาค 5 กล่าวว่า โครงการนี้ถือเป็นภารกิจเชิงรุก ที่สอดคล้องกับกระบวนการปฏิรูปการศึกษาในระบบตำรวจ ที่ผ่านมาภารกิจของตำรวจมุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม แต่ปัจจุบันพื้นที่ภาคเหนือเกิดภัยพิบัติมากขึ้น ซึ่งตำรวจชั้นประทวนเป็นตำรวจกลุ่มที่ประจำอยู่ในพื้นที่เป็นเวลานาน และมีความคุ้นเคยกับชุมชน จึงมักจะได้รับการร้องขอจากหน่วยงานต่างๆ ในการร่วมจัดการภัยพิบัติเสมอ โดยนักเรียนนายสิบตำรวจที่ผ่านการพัฒนาสมรรถนะ จะมีความสามารถในการเป็นผู้ประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้รอบด้าน มีความรู้และวิธีการสื่อสารให้คนในชุมชนของตนเตรียมความพร้อมเมื่อก่อนเกิดภัยพิบัติ รวมทั้งสามารถช่วยประสานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องระดับชุมชนพื้นที่เกิดภัยพิบัติให้สามารถเข้าช่วยเหลือจัดการลดทอนความเสี่ยงขณะเกิดภัยพิบัติ และช่วยเหลือฟื้นฟูภายหลังการเกิดภัยพิบัติได้อย่างต่อเนื่อง

นางสาวรุ่งอรุณ ลิ้มฬหะภัณ ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม สสส. ระบุว่า ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นภัยที่ใกล้ตัว อาจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และเมื่อไหร่ก็ได้ หากชุมชนและเครือข่ายภาคประชาชนมีการเรียนรู้ และเตรียมความพร้อมเรื่องการจัดการภัยพิบัติ เราก็สามารถลดทอนความเสี่ยง และลดความสูญเสียจากภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โครงการให้ความสำคัญกับการจัดทำกระบวนการพัฒนาผู้เชื่อมประสาน ผ่านกลุ่มนักเรียนนายสิบตำรวจ ซึ่งนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้ชุมชนเป็นพื้นฐานในการจัดการภัยพิบัติ ตามแนวคิดหลักสากล คือ รู้รับ – ปรับตัว – ฟื้นเร็ว อย่างยั่งยืน ให้นักเรียนนายสิบ มีทักษะรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที

ด้าน ดร. ปิยะพันธ์ นันตา รองประธานโครงการ กล่าวว่า การสร้างนักเรียนนายสิบให้เป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลง โดยการเรียนการสอนที่มุ่งให้เข้าใจด้านการจัดการภัยพิบัติ โดยการนำแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ มีการกำหนดการดำเนินการจัดการภัยพิบัติเป็นสามระบบสำคัญ ได้แก่ การเตรียมการก่อนการเกิดภัยพิบัติ การดำเนินการขณะเกิดภัยพิบัติ และการจัดการภายหลังการเกิดภัยพิบัติ โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับแนวคิดและการพัฒนาสมรรนะในการดำเนินการทั้งสามระบบ

พ.ต.อ.ไพศาล นันตา รองผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.เชียงใหม่ เปิดเผยว่า กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่เป็นการดำเนินการในส่วนแรกคือการเตรียมการก่อนการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของการพัฒนาตำรวจชุมชนของจังหวัดเชียงใหม่ โดยนักเรียนนายสิบตำรวจที่ผ่านการเรียนรู้จากโครงการจะนำความรู้ที่ได้รับการพัฒนามาใช้ในหลายส่วน คนในพื้นที่เกิดความตระหนักและเตรียมการเพื่อป้องกันการเกิดภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดเมื่อไร การพัฒนาตำรวจให้มีสมรรถนะตามเป้าหมายของโครงการนี้จึงมีความสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาตำรวจให้เป็น ตำรวจชุมชน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า