Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีที่นายศรีสุวรรณ จรรยา ออกแถลงการณ์ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนเรื่อง คัดค้านการยกพื้นที่ป่าสงวนฯ 4,600 ไร่ ให้กองทัพเรือ ไปจัดทำโครงการป้องกันภัยทางอากาศในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) และเป็นที่ตั้งหน่วยป้องกันภายทางอากาศของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง โดยกล่าวหาว่ากองทัพเรือชุบมือเปิบขอใช้พื้นที่ดังกล่าวเพิ่มมากขึ้นจาก 2,558 ไร่เป็น 4,600 ไร่ ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาห้วยมะหาด, ป่าเขานั่งยอง และป่าเขาครอก บริเวณพื้นที่เขาโกรกตะแบกและเขาเนินกระปรอก ในท้องที่ ต.ห้วยโป่ง อ.เมืองระยอง และ ต.สำนักกะท้อน ต.บ้านฉาง ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง
 
วันที่ 10 พ.ค. พล.ร.ท.ประชาชาติ ศิริสวัสดิ์ รองเสนาธิการทหารเรือ และ โฆษกกองทัพเรือ ชี้แจงกรณีข่าวการนำเอกสารของกองทัพเรือที่เสนอผ่านกรมป่าไม้มาเผยแพร่ทางสื่อสาธารณะว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ เกี่ยวกับที่ตั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางทหาร และบัญชีพิกัดเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติต่อการถูกโจมตีเป็นอันดับแรก เมื่อเกิดความไม่สงบ
 
การที่มีบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เข้าใจอย่างครบถ้วนต่อแนวนโยบายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือแนวนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติแล้วนำมาวิจารณ์บนหน้าหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อการละเมิดหรือการเปิดเผยความลับของทางราชการเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ดี กองทัพเรือขอขอบคุณสำหรับข้อห่วงใยที่ฝ่ายต่างๆ นำเสนอไว้ในข่าว
 

พล.ร.ท.ประชาชาติ กล่าวว่า ขอให้มั่นใจได้ว่า กองทัพเรือมีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะขอดำเนินการใดที่ขัดแย้งต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผ่านมาได้ให้การช่วยเหลือและร่วมมือกับกรมป่าไม้ทั้งบนบกและในทะเลมาโดยตลอด เช่น การป้องกันและปราบปรามการบุกรุก ทำลายทรัพยากรป่าไม้ทั้งบนบก ตามแนวชายฝั่ง และบนเกาะในทะเล การป้องกันและบรรเทาพิบัติภัยธรรมชาติ
 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ การป้องกันและควบคุมไฟป่า ตั้งแต่การใช้อากาศยานของกองทัพเรือแบบ CL -215 บุกเบิกการดับไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มาอย่างได้ผลดียิ่งมาแต่อดีต จนถึงปัจจุบันที่ได้นำ เฮลิคอปเตอร์แบบ Sea Hawk มาใช้แทนในปัจจุบัน
 
“กองทัพเรือ ขอเรียนย้ำให้ทราบว่าที่มีหนังสือไปตามข่าวที่ปรากฎนั้น เพราะที่เคยขอใช้ประโยชน์พื้นที่ไว้เดิมจะหมดอายุ ซึ่งก็เป็นการดำเนินการทางธุรการในการขอใช้ประโยชน์ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล มาแต่อดีตจึงไม่ใช่จะนำมาปกป้องอีอีซี เพราะต่อให้ไม่มีอีอีซี กองทัพเรือ ก็ต้องมีหน่วยป้องกันสนามบินอู่ตะเภาซึ่งเป็นสนามบินของ ทร. เหมือนกับ ทอ. ที่ต้องมีหน่วยทหารต่อสู้อากาศยาน ทำหน้าที่ป้องกันสนามบินต่างๆ”
 
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ทร.ได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ป่า นี้มา 30 ปี แล้ว ในการซ่อนพรางหน่วย ซ่อนพรางยุทโธปกรณ์ และเป็นพื้นที่ฝึกป้องกันภัยทางอากาศ ให้แก่สนามบินอู่ตะเภาและในส่วนที่ขอเพิ่มนั้น เนื่องจากความจำเป็นด้านนิรภัยการบิน ในการก่อสร้างรันเวย์ หมายเลข 2 ของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งสัมพันธ์กับความสูงและเนื้อที่ขอบเขตของเขาโกรกตะแบก ซึ่งตั้งประชิดอยู่บริเวณหัวรันเวย์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า