SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัจจุบัน ‘การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ’ หรือ Climate Change แปรปรวนอย่างหนัก ทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ เช่นน้ำท่วม น้ำแล้ง ดินทรุดตัวและไฟป่า ส่งผลกระทบอย่างยิ่งกับ ‘ภาคเกษตร’ ที่เป็นต้นน้ำของกระบวนการผลิตอาหาร

‘เนสท์เล่’ หนึ่งในผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรมายาวนานตระหนักรู้ถึงปัญหาดังกล่าวและพร้อมเป็นผู้ขับเคลื่อนการสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อรับมือกับวิกฤตนี้

“ถ้าวันนี้มีข้าวไม่พอสำหรับอาหารมื้อเย็นแล้วจำเป็นต้องอด หรือถ้าวันนี้มีนมไม่พอสำหรับเด็ก ๆ เราจะทำอย่างไรกันดี เราจะมั่นใจได้อย่างไรว่าในอนาคตจะมีแหล่งวัตถุดิบเพียงพอที่จะผลิตอาหารสำหรับทุกคนหรือเปล่า”

‘ทาธฤษ กุณาศล’ ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ชวนทุกคนบนเวที From Farm to Food Security รับมือกับวิกฤตอาหารผ่านการขับเคลื่อนสู่เกษตรเชิงฟื้นฟู ในงาน SAVE THAI DISH สภาพอากาศเปลี่ยนไป อาหารไทยไม่เหมือนเดิม ร่วมจินตนาการถึงวันที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะนำไปสู่วิกฤตการขาดแคลนอาหารและส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราทุกคน

‘ทาธฤษ’ เริ่มต้นขยายความว่า ‘อาหาร’ เป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ของมนุษย์  และภาวะโลกรวน (Climate Change) จะเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่จะทำให้ความเสี่ยงด้านความเพียงพอของอาหารรุนแรงขึ้น หากอุณหภูมิโลกยังสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นนี้จะทำให้ผลิตผลทางการเกษตรที่เป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารหลายชนิดได้รับผลกระทบ เช่น ข้าวสาลี ข้าว  กาแฟ เนื้อสัตว์ ไข่ นม 

‘ภาคเกษตร’ คือ ตัวขับเคลื่อนให้มนุษย์มีอาหารเพียงพอสำหรับบริโภค หากภาคการเกษตรเปราะบางและเดินหน้าต่อไม่ได้ นอกจากขาดแคลนอาหารแล้วก็ยังส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจและสังคมของประเทศด้วย

ปัจจุบัน ภาคการเกษตรไทยยังคง ‘ความเปราะบาง’ จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

  • การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างไม่ถูกต้อง
  • การปลูกพืชเชิงเดี่ยวและขาดการปกป้องดิน
  • การจัดการฟาร์มที่ไม่ถูกต้อง
  • การใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลง
  • การปล่อยของเสียจากฟาร์มโดยไม่บำบัด
  • การเผาของเสียจากฟาร์ม

ทั้งหมดส่งผลกระทบให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร เช่น การหมุนเวียนของธาตุอาหารในดินไม่สมบูรณ์ โครงสร้างดินเสื่อมสภาพ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคมีปริมาณและคุณภาพลดลง รวมถึงบางกรณีการทำการเกษตรที่ไม่ถูกต้องยังก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากปล่อยออกสู่บรรยากาศโลก อาทิ การเผาของเสียจากฟาร์ม หรือการใช้ปุ๋ยเคมีผิดปริมาณ ผิดสูตร ผิดเวลา 

ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีให้ ‘ภาคเกษตร’ สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืน เพื่อจะช่วยให้ “สังคมดี ผลผลิตดี สิ่งแวดล้อมดี และสามารถใช้ประโยชน์ได้ในระยะยาว”

‘เนสท์เล่’ ในฐานะผู้นำในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกรไทยมาหลายสิบปี เชื่อว่าตนเองมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวก เพื่อจัดการกับความเสี่ยงของวัตถุดิบและอาหารจากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และร่วมมองหาแนวทางและแผนปฏิบัติของภาคเกษตรที่จะช่วยปกป้อง ทดแทน และฟื้นฟูทรัพยากรที่ใช้ในการผลิต

‘ทาธฤษ’ ฉายภาพให้เห็นถึงแนวทางสู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 ของเนสท์เล่ประเทศไทย หรือ ‘Nestlé Thailand Net Zero 2050 Roadmap’ ที่มีแผนการขับเคลื่อนหลัก 4 ด้าน ได้แก่

  • ด้านบรรจุภัณฑ์รักษ์โลก
  • ด้านการดูแลและจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
  • ด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน
  • ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

พอกางสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเนสท์เล่ทั่วโลก จะเห็นว่า ‘การผลิตและจัดหาวัตถุดิบ’ เป็นด้านที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดถึง 3 ใน 4 ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด

เนสท์เล่จึงนำแนวทางที่เรียกว่า ‘เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู’ หรือ Regenerative Agriculture มาแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้น้ำ ดิน พลังงาน ไปจนถึงการจัดการของเสียอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สามารถฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และส่งต่อทรัพยากรให้กับคนรุ่นถัดไปได้

ด้วยหลักการพื้นฐานคือ “ไม่ใช่แค่หยุดทำลาย แต่ต้องปกป้อง ทดแทน และฟื้นฟู สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรให้ดีกว่าเดิม”

ส่วนแรก คือ ขับเคลื่อนเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูในฟาร์มโคนม

  • พัฒนาระบบโภชนะอาหารวัว : ส่งเสริมการปลูกหญ้าและพืชอาหารสัตว์ให้หลากหลาย เพื่อช่วยดูดซับคาร์บอน ช่วยคลุมดิน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มคุณค่าโภชนาการให้อาหารสัตว์ ลดต้นทุนอาหารสัตว์ ทำให้ผลผลิตต่อตัวต่อวันของวัวดีขึ้น
  • จัดการของเสียในฟาร์มอย่างเป็นระบบ : ส่งเสริมการนำมูลวัวกลับมาใช้ประโยชน์ผ่านการนำเข้าเครื่องแยกกาก นำกากเลี้ยงไส้เดือน นำน้ำเข้าบ่อไบโอแก๊ส ใช้เป็นพลังงานทดแทน แทนที่จะปล่อยให้ระเหยสู่ชั้นบรรยากาศอย่างสูญเปล่า
  • เพิ่มการเข้าถึงพลังงานทดแทน : ส่งเสริมการใช้แผงโซลาร์เซลล์ในการผลิตไฟฟ้า ปั๊มน้ำเข้ามาในแปลงหญ้าแทนการใช้ไฟฟ้าปกติ

จากการทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูในฟาร์มโคนม ทำให้เนสท์เล่ประเทศไทยสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 11,652 ตันในปี 2022

โดย ‘เนสท์เล่’ มีกรณีศึกษาอย่าง ‘เย็น-จุฑาทิพย์ เทียบสม’ เกษตรกรรุ่นใหม่ผู้สร้างโมเดลต้นแบบของความยั่งยืนที่ปรับใช้เกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู ทำให้วัวนมสร้างผลผลิต 14 ลิตรต่อตัวต่อวันและไขมันนมสูงกว่ามาตรฐานถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างความสำเร็จในการรับช่วงต่ออาชีพเกษตรกรรมต่อจากพ่อแม่

ส่วนต่อมา คือ ขับเคลื่อนเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูในสวนกาแฟ 

  • ปลูกกาแฟร่วมกับป่า : ต้นกาแฟจะได้ร่มเงา ส่งเสริมการสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มการดูดซับคาร์บอน
  • ปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลง : ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ผลผลิตหลากหลาย ให้ผลตอบแทนที่ดี
  • ปลูกพืชคลุมดิน ส่งเสริมการรักษาธาตุอาหารในดินและเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน 
  • ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ทดแทนปุ๋ยเคมี : ส่งเสริมการใช้กากกาแฟหมักเป็นปุ๋ย ช่วยหมุนเวียนธาตุอาหารในดิน ลดต้นทุนการผลิต
  • กระจายต้นกล้าพันธุ์ดี ส่งเสริมการแจกจ่ายต้นกล้าพันธุ์ดีเกือบ 4 ล้านต้นให้กับเกษตรกร

ทั้งหมดนี้ ทำให้เมล็ดกาแฟที่นำมาผลิตเนสกาแฟในประเทศไทย ได้มาตรฐานความยั่งยืนระดับสากล  หรือ 4C  (Common Code for Coffee Community)

ตัวอย่างความสำเร็จของเกษตรกรชาวสวนกาแฟ ‘พิเชษฐ์ เนียมบรรดิษฐ์’ ผู้นำกลุ่มเกษตรกรผู้สร้างแรงบันดาลใจ ที่เริ่มต้นการปลูกกาแฟจากที่ดินที่เคยปลูกพืชอื่นมาก่อน ผ่านการปรับฟื้นฟูดินภายใต้แนวทางเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู อาทิ ปลูกพืชหลากหลายชนิดในแปลง ปลูกพืชคลุมดิน และประสบความสำเร็จจากผลตอบแทนจากพื้นที่ปลูกกาแฟ 6 ไร่ สร้างรายได้กว่า 1 ล้านบาทต่อปี

ช่วงสุดท้าย ‘ทาธฤษ’ อธิบายว่า เนสท์เล่มองไกลกว่าความยั่งยืนของตัวเรา แต่มองถึงความยั่งยืนที่เรียกว่า TRIPLE WIN+  ไม่ใช่แค่ธุรกิจอยู่รอด แต่ยังทำเพื่อเกษตรกร ผู้บริโภค และเพื่อโลกของเรา

ครอบคลุมตั้งแต่ สร้างความมั่นคงทางอาหาร สร้างวัตถุดิบทางการเกษตรที่เพียงพอ ดูแลเกษตรกร เพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สร้างรายได้ที่มั่นคง พร้อมรับมือภาวะโลกร้อน และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ลดคาร์บอน ฟื้นฟูดิน ดูแลป่า ปกป้องแหล่งน้ำ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงส่งต่อประโยชน์ให้กับผู้บริโภค ให้ได้อาหารคุณภาพจากวัตถุดิบคุณภาพและส่งต่อโลกที่น่าอยู่ให้ลูกหลาน

ท่ามกลางโลกที่ร้อนจนกลายเป็น ‘เดือด’ นี้ ในฐานะผู้นำธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ‘เนสท์เล่’ คือ หนึ่งในผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เลือกลงมือปรับเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับปัญหาที่โลกกำลังเผชิญ เช่นเดียวกับอีกหลายภาคส่วนต่างกำลังพยายามอย่างหนัก เพื่อช่วยนำผลผลิตทั่วโลกออกจากภาวะเสี่ยงวิกฤต สร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะยาว

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า