SHARE

คัดลอกแล้ว

‘น้ำนมดิบ’ เป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักของ ‘เนสท์เล่’ (Nestlé) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยมีการใช้น้ำนมดิบจำนวนมากในการนำมาผลิตผลิตภัณฑ์ยอดนิยมที่เป็นที่รู้จัก เช่น ไมโล ตราหมี และเนสกาแฟ 

ขณะที่สถานการณ์การผลิตน้ำนมดิบในประเทศไทย พบว่า มีแนวโน้มลดลง ปัจจุบันสามารถผลิตน้ำนมดิบได้ 2,800-3,000 ตันต่อวัน สวนทางกับความต้องการของตลาดนมพร้อมดื่มที่มีอัตราการเติบโตถึง 7% เมื่อเทียบกับปีก่อน นับว่าเป็นความท้าทายของอุปทานน้ำนมดิบ เนื่องจากต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้น ภาวะโลกเดือด และจำนวนเกษตรกรโคนมที่ลดลง อีกทั้งอุตสาหกรรมโคนมก็ยังเป็นแหล่งของการปล่อยก๊าซมีเทน 

‘สลิลลา สีหพันธุ์’ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย)

‘สลิลลา สีหพันธุ์’ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า เนสท์เล่เล็งเห็นถึงปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น จึงร่วมมือกับเกษตรกรในการส่งเสริมการทำฟาร์มโคนมตามแนวทางความยั่งยืน ด้วยการเกษตรเชิงฟื้นฟู หรือ Regenerative Agriculture เพื่อบริหารจัดการฟาร์มโคนมอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มคุณภาพและปริมาณน้ำนมดิบ ลดต้นทุนให้กับเกษตรกร ควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

“เนสท์เล่ เป็นบริษัทแรกในประเทศไทย ที่ใช้แนวทางการเกษตรเชิงฟื้นฟูเพราะว่านอกจากเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังเป็นเรื่องการดูแลระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมและการดูแลดินในระยะยาว เราอยากจะแสดงให้เห็นว่าเนสท์เล่ ให้ความสำคัญกับคําว่า ESG โดยเฉพาะในด้านสิ่งแวดล้อม” 

“เราจึงให้ความสำคัญกับการจัดหาน้ำนมดิบที่ต้องมีคุณภาพดี และมีแหล่งผลิตที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Sourcing เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนสท์เล่ได้ดำเนินโครงการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในแผนงานเพื่อบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิจนเหลือศูนย์ หรือ Net Zero ในปี 2050 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่น้ำนมดิบที่เนสท์เล่ใช้ผ่านมาตรฐานด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนครบ 100% แล้ว และเราจะยังคงเดินหน้าในการส่งต่อสิ่งดี ๆ สู่มือผู้บริโภคเพื่อให้มั่นใจว่า เรามีผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกร”

‘สลิลลา’ กล่าวต่ออีกว่า เนสท์เล่ ได้ทำงานร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในไทยมายาวนานกว่า 40 ปี เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมนมในประเทศไทย โดยส่งเสริมหลัก “การเกษตรเชิงฟื้นฟู ที่มุ่งเน้นการปกป้อง ทดแทน และฟื้นฟู” คือการปกป้องและฟื้นฟูดินที่เป็นแหล่งปลูกอาหารวัวให้มีความสมบูรณ์ การสร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดขึ้น ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีด้วยการใช้มูลวัวตากแห้งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทน ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในแปลงปลูกและทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากอุตสาหกรรมฟาร์มโคนมเป็นแหล่งของการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งส่งผลต่อโลกร้อนได้มากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ถึง 26 เท่า

‘ศิรวัจน์ ปิณฑะดิษ’ นักวิชาการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด

ขณะที่ ‘ศิรวัจน์ ปิณฑะดิษ’ นักวิชาการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ผู้ที่ลงพื้นที่และทำงานใกล้ชิดกับเกษตรกร เปิดเผยว่าเนสท์เล่เป็นเจ้าแรกที่นำการเกษตรเชิงฟื้นฟูเข้ามาปรับใช้กับฟาร์มโคนม โดยการเกษตรเชิงฟื้นฟูมุ่งเน้น 3 ด้านสำคัญในการบริหารจัดการฟาร์มโคนมอย่างครบวงจร คือ 

    1. การพัฒนาการจัดการอาหารและโภชนะ 

เพิ่มพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ พัฒนาเป็นแปลงหญ้าผสมถั่วหลากหลายชนิด เพื่อให้วัวได้รับสารอาหารที่หลากหลายขึ้นและดีขึ้น พร้อมทั้งตรวจวิเคราะห์ดินเพื่อติดตามความอุดมสมบูรณ์และกําหนดแนวทางการจัดการปุ๋ยให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ อีกทั้งฝึกอบรมเกษตรกรและเจ้าหน้าที่สหกรณ์ในการคํานวนสูตรอาหารให้โภชนะตรงกับความต้องการของแม่โค เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตน้ำนม สามารถช่วยเพิ่มผลผลิตน้ำนมดิบทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในแปลงพืชอาหารสัตว์ พร้อมกับปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และลดต้นทุนให้กับเกษตรกร

    1. การจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ 

ส่งเสริมให้จัดการมูลโคอย่างเป็นระบบ ทําพื้นที่สําหรับตากแห้งมูลโค เพื่อนําไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์สําหรับแปลงหญ้า ลดการใช้ปุ๋ยเคมีในแปลงพืช ส่วนที่เหลือสามารถนําไปจําหน่าย เปลี่ยนจาก “มูลโค สู่มูลค่า” สร้างรายได้อีกกว่า 40,000 บาทต่อปี ให้กับเกษตรกร นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการติดตั้งบ่อไบโอแก๊สเพื่อนํามูลโคมาหมักในบ่อและนําก๊าซมีเทนไปใช้ประโยชน์เป็นแก๊สหุงต้มในครัวเรือน ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ และลดรายจ่ายด้านพลังงานในครัวเรือน

    1. สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน

ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์สําหรับระบบน้ำในแปลงหญ้าเพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งน้ำสําหรับแปลงหญ้าได้ตลอดปี และยังช่วยให้เกษตรกรสามารถมีไฟฟ้าใช้เนื่องจากในบางพื้นที่ระบบไฟฟ้าอาจยังไม่เสถียรหรือยังเข้าไม่ถึง

“จากการส่งเสริมให้เกษตรกรทำแปลงหญ้าผสมถั่วหลากหลายชนิดเพื่อเสริมสารอาหารประเภทโปรตีนให้กับแม่โค ส่งผลให้ปัจจุบันเราได้ปริมาณน้ำนมดิบโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 13.5 กก. ต่อตัวต่อวัน ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศที่ 11.7 กก. ต่อตัวต่อวัน นอกจากนี้ คุณค่าโภชนาการในน้ำนมดิบก็ดีขึ้น วัดได้จากระดับโปรตีนในนมที่เพิ่มขึ้นเป็น 3.02% จากระดับ 2.94% ในปี 2566 ซึ่งการที่ระดับโปรตีนในนมมีสูงกว่า 3% นั้นบ่งบอกถึงสุขภาพของแม่โคที่สมบูรณ์ และยังเป็นการเพิ่มโภชนาการที่มีประโยชน์ให้กับผู้บริโภคอีกด้วย นอกจากนี้ การปลูกพืชหลายชนิดก็เป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในแปลง พร้อมกับปกป้องและฟื้นฟูทรัพยากรดิน และสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม” นายศิรวัจน์ กล่าวเสริม

ด้าน ‘วรวัฒน์ เวียงแก้ว’ ตัวแทนเกษตรกรโคนม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า เขาเริ่มทำฟาร์มโคนมในปี 2561 มีปัญหาและอุปสรรคในการทำฟาร์มโคนม ทั้งด้านสาธารณูปโภคระบบไฟฟ้าที่ยังเข้าไม่ถึงในพื้นที่ หรือการที่วัวมีผลผลิตน้ำนมลดลงอย่างต่อเนื่อง น้ำนมดิบมีคุณภาพต่ำลง รวมถึงต้นทุนอาหารสัตว์ชนิดข้นที่แพงขึ้น ซึ่งทำให้เกิดความท้อจนคิดอยากเลิกทำฟาร์มโคนม

‘วรวัฒน์ เวียงแก้ว’ ตัวแทนเกษตรกรโคนม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

หลังจากที่ได้ร่วมงานกับเนสท์เล่ ในช่วงปี 2564 จากการเป็นสมาชิกเกษตรกรโคนมพิมาย ทางเนสท์เล่ได้ลงพื้นที่มาพูดคุยถึงปัญหาในการทำฟาร์ม ช่วยหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต รวมทั้งแนะนำหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟูเข้ามาประยุกต์ใช้ จนได้ผลลัพธ์ที่ดี จึงได้เริ่มเป็นฟาร์มโคนมนำร่อง มีการทำแปลงหญ้ารูซี่ หญ้าไนล์และปลูกพืชถั่วร่วมด้วย ทำบ่อไบโอแก๊ส ตากมูลวัว ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพราะไฟฟ้าเข้ามาไม่ถึง ตอนนี้จึงเป็นฟาร์มที่ใช้ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ 100% และสามารถสูบน้ำบาดาลมาใช้กับแปลงหญ้าได้ตลอดปี รวมทั้งนำมูลโคตากแห้งไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริมอีกด้วย

“เนสท์เล่เข้ามาสนับสนุนให้เราทําเกษตรเชิงฟื้นฟู ทำให้เรามีรายได้ที่ดีขึ้น คุณภาพชีวิตก็ดีขึ้น มีโอกาสได้อยู่กับครอบครัวมากขึ้น สามารถส่งลูกเรียนโรงเรียนดีๆ ได้ จากเมื่อก่อนปลูกแค่ข้าว มันสําปะหลัง และอ้อย เลี้ยงวัวนมเป็นแค่อาชีพเสริม ปัจจุบันฟาร์มโคนมได้กลายเป็นอาชีพหลักของผม มีรายได้ทุกๆ 15 วันครับ” วรวัฒน์ กล่าวเสริม

ล่าสุด เนสท์เล่ได้ให้ความรู้และเทคนิคการเกษตรเชิงฟื้นฟูแก่เกษตรกรไปแล้วกว่า 160 ฟาร์ม จาก 3 สหกรณ์ และมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมที่ได้เริ่มทำการเกษตรเชิงฟื้นฟูครบวงจรแล้วกว่า 40 ฟาร์ม และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกรในการมีตลาดรองรับผลผลิตน้ำนมดิบ เนสท์เล่ยังรับซื้อน้ำนมดิบจากเกษตรกรผ่านสหกรณ์โคนมในราคาที่เป็นธรรมตามเกณฑ์มาตรฐานการรับซื้อที่กำหนดไว้  

ดังนั้น “โมเดลฟาร์มโคนมต้นแบบความยั่งยืน” ไม่เพียงแค่ช่วยยกระดับให้คุณภาพชีวิตเกษตรกรให้มีรายได้ที่ดีขึ้นจากปริมาณและคุณภาพผลผลิตที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่เนสท์เล่ ยังมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจตามกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค และเพื่อโลกของเรา รวมไปถึงการส่งเสริมหลักการเกษตรเชิงฟื้นฟู โดยมุ่งเน้นการปกป้องและฟื้นฟูดูแลสิ่งแวดล้อมภายใต้แผนงานด้านความยั่งยืน Net Zero 2050 ซึ่งสุดท้ายแล้ว ก็จะนำประโยชน์มาสู่ผู้บริโภคคนไทย ให้ได้มีผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง และมาจากการผลิตอย่างยั่งยืนนั่นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า