SHARE

คัดลอกแล้ว

ในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาภัยแล้ง หรือ อุทกภัย รวมถึงในประเทศไทย ที่ในขณะนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกำลังเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 40 ปี ครอบคลุมพื้นที่มากถึง 65 อำเภอ ส่งผลให้ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 4 แสนคน และมีผู้อพยพมากกว่า 2 หมื่นคน ทำให้หลายฝ่ายหันมาพิจารณาถึงความจำเป็นของระบบการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว 

เนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศหนึ่งที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยมานานนับพันปี อันเนื่องมาจากภูมิประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำสายสำคัญของยุโรปถึง 3 สาย ซึ่งเชื่อมติดกับทะเลเหนือ อีกทั้งยังมี

พื้นที่มากกว่าครึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ส่งผลให้ชาวดัตช์เริ่มคิดค้นวิธีการป้องกันน้ำท่วมและจัดการน้ำมาตั้งแต่ในอดีต และพัฒนามาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นประเทศที่มีระบบการบริการจัดการน้ำที่ดีมากที่สุดประเทศหนึ่ง โดยหลายประเทศต่างให้ความสนใจที่จะศึกษาและนำไปปรับใช้กับประเทศของตนเอง 

ในอดีตเนเธอร์แลนด์มีวิธีป้องน้ำท่วมหลากหลายวิธีเริ่มตั้งแต่การสร้างคันกั้นน้ำรอบประเทศเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากมหาสมุทรไหลเข้ามามากเกินไปการสร้างเขื่อนกั้นน้ำหรือการใช้กังหันลมเพื่อสูบน้ำออกจากทะเลสาบและแม่น้ำต่างๆจนในปี พ.ศ. 2496 เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่ใหญ่และรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งของเนเธอร์แลนด์ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปมากถึง 2,000 คนส่งผลให้ทางการเนเธอร์แลนด์เริ่มผลักดันแผนการจัดการน้ำอย่างจริงจังและเกิดเป็นโครงการ ‘เดลตาเวิร์คส์’ (Delta Works)

โครงการเดลตาเวิร์คส์เป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบริหารจัดการน้ำและป้องกันน้ำท่วมซึ่งประกอบไปด้วยโครงการย่อยๆอีกหลายโครงการเช่นการสร้างกำแพงกันคลื่นจากลมพายุการสร้างเขื่อนที่กั้นน้ำทะเลและแม่น้ำออกจากกันการสร้างประตูระบายน้ำที่จะปิดกั้นน้ำทะเลไม่ให้ไหลเข้าสู่บริเวณที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดพายุและมีคลื่นลมแรงการสร้างสถานีสูบน้ำและการสร้างคันกั้นน้ำเป็นต้น 

โครงการเดลตาเวิร์คส์ทั้งหมดแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2540 และมีแผนที่จะพัฒนาและบำรุงรักษาต่อไปในอนาคตโดยโครงการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการน้ำที่ประสบความสำเร็จของเนเธอร์แลนด์ทั้งในด้านการป้องกันน้ำท่วมและประโยชน์ในด้านอื่นๆเช่นการเกษตรการคมนาคมและการท่องเที่ยวซึ่งทำให้เนเธอร์แลนด์กลายมาเป็นผู้นำในด้านการบริหารจัดการน้ำของโลก 

การอยู่ร่วมกับน้ำ 

ด้วยบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้แผนการบริหารจัดการน้ำต้องเปลี่ยนไปด้วยจากปัญหาสภาวะโลกร้อนที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นทำให้น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกละลายรวมถึงลักษณะการเกิดฝนที่เปลี่ยนแปลงไป

ส่งผลให้ระดับน้ำในมหาสมุทรสูงขึ้น เนเธอร์แลนด์จึงเปลี่ยนแนวคิดจากเดิมที่เคย ต่อสู้กับน้ำ หรือการป้องกันไม่ให้น้ำเข้ามาในประเทศ มาเป็น การอยู่ร่วมกับน้ำ หรือการรับน้ำเข้ามาในประเทศ เพื่อลดภาระของโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และมุ่งใช้ประโยชน์จากน้ำในเกิดประโยชน์สูงสุด

โครงการเพิ่มพื้นที่ให้แม่น้ำหรือ Room for the River ของรัฐบาลสะท้อนถึงแนวคิดดังกล่าวได้ดีโดยแผนการดังกล่าวมาจาสาเหตุที่ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นและเหตุการณ์น้ำท่วมบริเวณปากแม่น้ำในปีพ.ศ. 2536 และพ.ศ. 2538 โดยริเริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่ปีพ.ศ. 2549 จนถึงพ.ศ. 2558 ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำสี่สายได้แก่แม่น้ำไรน์ (Rhine) แม่น้ำไอส์เซิล​ (Ijssel) แม่น้ำเลค (Lek)และแม่น้ำวาล (Waal) 

โครงการดังกล่าวมี 9 วิธีหลักที่ใช้เพื่อเพิ่มพื้นที่แม่น้ำปรับปรุงสภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ของแม่น้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยจะปรับใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ดังนี้ 

1. การทำให้เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำมีระดับต่ำลง (Lowering floodplains) เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้น้ำ หากแม่น้ำมีปริมาณน้ำที่สูงขึ้น 

2. การย้ายคันกั้นน้ำไปอยู่ที่ใหม่ (Dyke relocation) คือการย้ายคันกั้นน้ำเดิมที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ให้ออกห่างจากแม่น้ำมากขึ้น เพื่อเป็นการขยายพื้นที่ของแม่น้ำ

3. การลดพื้นที่ปิดล้อม (Depoldering) โดยการย้ายคันกั้นน้ำและการลดระดับคันกั้นน้ำจะทำให้บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำที่เคยปรับปรุงไม่ให้น้ำท่วม และให้คนอยู่อาศัย หายไปและรองรับน้ำได้มากขึ้น

4. การขุดพื้นผิวของแม่น้ำให้ลึกขึ้น (Deepening summer bed) ทำให้สามารถรองรับน้ำได้มากขึ้น 

5. การเสริมกำลังคันกั้นน้ำ (Dyke reinforcement) ในบางพื้นที่ที่ไม่สามารถขยายแม่น้ำได้ 

6. ลดระดับของสิ่งก่อสร้างที่ยื่นไปในน้ำเพื่อป้องกันคลื่น (Lowering groynes) เพื่อให้น้ำไหลได้เร็วขึ้น 

7. การนำสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งกีดขวางทางไหลน้ำออก (Removing obstacles) เพื่อเพิ่มความเร็วของอัตราการไหลของน้ำ 

8. การกักเก็บน้ำ (Water storage) พื้นที่กักเก็บน้ำชั่วคราว เมื่อเกิดสถานการณ์เสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม

9. การสร้างช่องทางระบายน้ำในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ (High water channel) ซึ่งเป็นช่องทางระบายน้ำที่แยกออกมาจากแม่น้ำสายหลัก เพื่อระบายน้ำส่วนเกิน เมื่อเกิดน้ำท่วมหรือเมื่อปริมาณน้ำในแม่น้ำมีระดับสูง 

การจะดำเนินการตามแผนงานดังกล่าวได้สำเร็จทางการต้องได้รับความร่วมมือจากประชาชนเนื่องจากวิธีการพัฒนาและขยายพื้นที่แม่น้ำข้างต้นส่งผลให้ผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณราบลุ่มแม่น้ำหรือบริเวณที่ราบต่ำระหว่างคันกั้นน้ำต้องย้ายออกจากที่อยู่เดิมซึ่งส่วนมากจะเป็นครอบครัวที่ทำไร่และเลี้ยงสัตว์อยู่ในบริเวณนั้น

หนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานว่า มีครอบครัวประมาณ 200 ครอบครัวต้องย้ายออกจากที่อยู่อาศัยเดิม อันเนื่องมาจากโครงการดังกล่าว โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการได้เข้าไปพูดคุย เจรจาต่อรอง และทำการซื้อบ้านและที่ดินของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นในราคาเทียบเท่ากับการซื้อขายในตลาดทั่วไป และหาที่อยู่แห่งใหม่ให้อย่างเหมาะสม 

แต่หากพลเมืองคนใดไม่ต้องการที่จะย้ายออกจากพื้นที่รัฐบาลได้จัดสรรพื้นที่ที่อยู่ในบริเวณเดิมแต่ต้องย้ายขึ้นไปอาศัยอยู่บนเนินเหนือคันกั้นน้ำหรือที่เรียกว่า ‘terp’ แทน

โดยในขณะที่มีการดำเนินโครงการเพื่ออยู่กับน้ำ เนเธอร์แลนด์ก็ไม่ได้หยุดพัฒนาและดำเนินโครงการในส่วนที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ อย่างเช่น การบำรุงรักษาเขื่อน ซึ่งในแต่ละภูมิภาคจะมีระบบการจัดเก็บภาษีเพื่อใช้ในการดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่นั้น ๆ เป็นต้น 

ระบบบริการจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ เป็นอีกวิธีการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และปัญหาเกี่ยวกับน้ำในด้านอื่น ๆ ที่น่าสนใจ โดยเฉพาะแนวคิดที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในระยะยาวและยั่งยืน มากกว่าการแก้ไขปัญหาเป็นครั้งคราวไป ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว หากไม่มีการพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง ‘น้ำท่วม’ ก็ยังจะคงอยู่คู่กับคนไทยต่อไป 

หากผู้ใดสนใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของเนเธอร์แลนด์ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  Room for the River for a safer and more attractive river landscape และ The Delta Works online 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า