SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งประเด็นใหญ่ของวันนี้ คือ วาระการประชุมของรัฐสภา ที่ สส. และ สว. ต้องร่วมกันพิจารณา และลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อจัดตั้ง ‘สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)’ ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในช่วงวันที่ 13-14 ก.พ. นี้

 

แม้นี่จะเป็นการพิจารณาประเด็นนี้ครั้งแรก ของ สส. และ สว. ชุดนี้ แต่ความยืดเยื้อมายาวนาน ก็ชวนให้หลายคนสับสน จึงตั้งต้นย้ำกันก่อนว่า นี่เป็นเพียงการถกกันเพื่อ ‘แก้ไขหลักเกณฑ์การร่าง ไม่ใช่เริ่มร่างแล้ว’ 

แต่เพียงขั้นตอนแรกนี้ก็ดูจะเหนื่อยหนักอยู่พอตัว ด้วยนักวิชาการหลายฝ่าย เห็นไปในทิศทางเดียวกัน ว่าดูเหมือน สว. จำนวนไม่น้อย จะไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ ยังไม่รวบ สส. ที่เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเอง

โดยในรายการ TODAY LIVE มีโอกาสพูดคุยกับ พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน ในประเด็นดังกล่าวนี้

“เราเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 ขาดความชอบธรรม ทางประชาธิปไตยทางที่มา กระบวนการ เนื้อหา” 

นับเป็นคำตอบแรก หากตั้งต้นกันว่าทำไม จึงยังคงต้องจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทั้งที่บทเฉพาะกาลหมดไปแล้ว และ สว. ก็ไม่ได้มีอำนาจในการเลือกนายกฯ ต่อไปแล้ว อย่างไรก็ดี  พริษฐ์ ระบุว่า ถ้ายังคงอยู่กับ รัฐธรรมนูญ 60 ต่อไป จะนำมาซึ่งปัญหาสำคัญ 2 ประการ คือ

  • อำนาจประชาชนยังคงอ่อนแอ: สืบเนื่องจาก รัฐธรรมนูญ 60 ขยายอำนาจหลายสถาบันทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ให้กลับมาขัดขวางเจตนารมณ์ของประชาชน เช่น สว. ที่ไม่ได้มาจาการเลือกตั้ง มีอำนาจยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีอำนาจรับรองผู้ดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระ มีศาลรัฐธรรมนูญที่สั่งยุบพรรคได้ มีกกต.ที่มีโอกาสแจกใบส้ม เป็นต้น
  • สิทธิเสรีภาพประชาชนยังคงอ่อนแอ: หมวดสิทธิและเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญ 60 ไม่ได้รัดกุมเพียงพอเท่าที่ควรจะเป็น จากที่ควรถูกจำกัดเมื่อไปละเมิดผู้อื่น ก็กลับไปเปิดช่องให้มาจำกัดสิทธิประชาชนได้ ด้วยเงื่อนไขเรื่อง ‘ความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อย’ ซึ่งตีความได้กว้างขวาง รวมถึงเสรีภาพในด้านสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข เป็นต้น

ภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน กับอายุงาน 1 ปี 4 เดือนนั้น พริษฐ์ มองว่า ยืดเยื้อในแต่ละขั้นตอนมานาน ตั้งแต่การจัดตั้งกรรมการศึกษา พยายามลดจำนวนประชามติเหลือ 2 ครั้ง จนมาถึงการเดินหน้า แก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ ที่ สส. และสว. เสียงแตกอย่างเป็นทางการ อย่างน้อยก็ถึงกลางปี 2568 ถึงจะคืบหน้า

นั่นเป็นที่มาของข้อสรุปว่า หากยังเดินหน้าตามแผนเดิม ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บังคับใช้ทันการเลือกตั้งปี 2570 ตามที่รัฐบาลเคยให้สัญญาไว้ จึงกลายเป็นจุดตั้งต้นของบรรดาผู้เคลื่อนไหว ที่ไม่ต้องการ 180 วัน ของการรอแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติฯ สูญเปล่า 

เช่นเดียวกับเงื่อนไขที่คุ้นเคย คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องพึ่งพาเสียงของ สว. จำนวน 1 ใน 3 ที่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาไม่ได้ไปต่อ การพิจารณาที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 13-14 ก.พ. นี้ จึงยังคาดเดาได้ยาก

[ลงคะแนนเพื่อแก้ไขอะไรกัน]

โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLAW (ไอลอว์) ได้เขียนสรุปสาระสำคัญที่จะเข้าสู่พิจารณาเอาไว้ ว่าหลักการสำคัญให้แก้ไขมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ซึ่งเป็นมาตราที่กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยมีข้อเสนอ 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ.

  1. แก้หลักเกณฑ์ที่จะให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเสียงของ สว. จำนวน 1 ใน 3 และไม่จำเป็นต้องทำประชามติในเรื่องที่รัฐสภาควรจะมีอำนาจแก้ไขได้
  2. เพิ่มหมวดใหม่ว่าด้วยวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นมาตรา 256/1 และเพิ่มเลขมาตราไปเรื่อย ๆ โดยให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ สสร. มีที่มาจากการเลือกตั้ง โดยออกแบบระบบวิธีการเลือกตั้ง อำนาจหน้าที่ของสสร. และกรอบเวลาการทำงานไว้ด้วย

จุดนี้เองที่เป็นข้อแตกต่าง ของร่างที่เสนอโดยพรรคประชาชน และพรรคเพื่อไทย โดยร่างที่ สส.พรรคประชาชนเสนอนั้น กำหนดให้มี สสร. 200 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัด 100 คน และแบบบัญชีรายชื่อที่ให้สมัครเป็นทีมอีก 100 คน ขณะที่ สส.พรรคเพื่อไทย ต้องการให้มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตจังหวัดทั้งหมด

สิ่งที่ตามมา คือ ข้อถกเถียงว่า รัฐสภาไม่มีอำนาจที่จะเปิดให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ต้องทำประชามติถามประชาชนก่อน ที่จะแก้ไขมาตรา 256 โดยยึดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 4/2564 ซึ่ง iLAW อธิบายเอาไว้ว่า ไม่ถูกต้อง เพราะคำวินิจฉัยฉบับนี้ ระบุว่า “รัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้” และจากคำวินิจฉัยส่วนตนเห็นได้ว่าตุลาการ “เสียงข้างมาก” อธิบายไว้ว่า ต้องทำประชามติสองครั้ง จึงไม่มีกฎหมาย หรือคำวินิจฉัยใดที่จะอ้างได้ว่า ต้องทำประชามติก่อนถึงจะแก้ได้

ขณะเดียวกัน ข้อหวั่นเกรงว่า การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจนำไปสู่การ ‘ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์’ จึงต้องชัดเจนว่า สสร. จะไม่มีอำนาจแก้ไขหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ iLAW มองว่า ในประวัติศาสตร์การเขียนรัฐธรรมนูญทุกครั้งไม่เคยมีข้อจำกัดว่า และหมวด 1 กับหมวด 2 ก็ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงมาตลอด แต่ถึงอย่างไร ร่างแก้ไขมาตรา 256 ที่เสนอโดยพรรคประชาชน ก็เขียนจำกัดส่วนนี้ไว้แล้ว

ดังนั้น คงต้องรอติดตามว่า การพิจารณาและลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะเกิดขึ้นได้ในวันที่ 13-14 ก.พ. นี้ หรือไม่

“ถ้าไม่ได้โหวตไม่เป็นไร  เพราะในทางกฎหมายจะเสนอใหม่เมื่อไหร่ก็ได้ เพียงแต่เป็นเรื่องน่าเศร้า แต่ที่แน่นอนเลย คือถ้าไม่ได้โหวต จะไม่มีทางมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับได้ ภายใต้รัฐบาลนี้” ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการ  iLAW กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า