SHARE

คัดลอกแล้ว

กติกาเศรษฐกิจโลกใหม่ ต้นทุนสิ่งแวดล้อมที่ไม่ฟรีอีกต่อไป ชวนไปรู้จัก “เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์” เพื่อสร้างข้อได้เปรียบทางธุรกิจ

ในอนาคตผู้ประกอบการที่ไม่ยอมเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสะอาด ทำการผลิตสินค้าและบริการโดยไม่สนใจที่จะลดใช้พลังงานและทรัพยากร จะต้องจ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมแพงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งยังเข้าถึงเงินทุนและโอกาสต่างๆในการทำธุรกิจได้น้อยลง ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ?

นั่นก็เพราะหลายสิบปีที่ผ่านมาระบบเศรษฐกิจและการผลิตแบบเดิมๆ ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมลพิษจากระบวนการผลิตต่อเนื่อง ไม่ได้คิดถึงต้นทุนผลกระทบภายนอกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทำให้ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลกถึงระดับที่ไม่ปลอดภัย

เป็นที่มาของปัญหาโลกร้อนที่ส่งผลกระทบโดยตรง และมีผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ซึ่งปัญหานี้ก็จะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ปัจจุบันรัฐบาลทั่วโลกจริงจังและเข้มงวดขึ้นเรื่อยๆในความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยวิธีที่รัฐบาลต่างๆใช้ ก็คือการสร้างเครื่องมือที่เป็น ‘กติกา’ ที่ทำให้สินค้าและบริการสะท้อนต้นทุนให้ครบทุกมิติ โดยเฉพาะ “ต้นทุนทางสิ่งแวดล้อม” เพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนแปลงวิถีการทำธุรกิจโดยไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง

ตัวอย่างที่มีใช้แล้วคือ European Green Deal ของสหภาพยุโรป ที่บังคับใช้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism) แปลง่ายๆ คือ ปรับราคาสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้สะท้อนถึงปริมาณการปล่อยคาร์บอนที่แท้จริงที่เกิดจากตอนผลิตสินค้านั้นๆด้วย

ดังนั้นต่อไปเราจะคุ้นหูกันแน่นอนกับคำว่า “ซีแบม” CBAM ที่จะเป็นกติกาค้าขายระหว่างประเทศ โดยจะเริ่มดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2026

ไม่เฉพาะสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาที่เดินหน้าเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง ปัจจุบันหลายประเทศในทวีปเอเชียก็เริ่มออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเต็มที่ เช่น โยบาย Green Plan ของประเทศสิงคโปร์ นโยบาย Green New Deal ของประเทศเกาหลีใต้ และ Green Growth Strategy ของประเทศญี่ปุ่น

มาตรการและนโยบายเหล่านี้กระทบต่อผู้ประกอบการไทยแน่นอน เพราะส่งผลต่อต้นทุนและเงื่อนไขในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศนั้นๆ

ภาคเอกชนไทยจึงต้องเตรียมปรับรูปแบบการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับทิศทางที่โลกกำลังมุ่งไปเพื่อเปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส

[ สิ่งที่ต้องรีบปรับตัวเมื่อต้นทุนสิ่งแวดล้อมไม่ฟรีอีกต่อไป ]

คนที่ทำธุรกิจตอนนี้จะต้องเรียนรู้ “เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์” ประเภทต่างๆ ที่ภาครัฐจะนำมาใช้ เพราะต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมกำลังจะไม่ฟรีอีกต่อไป

เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ หรือ Economic Instruments แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องมือที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ และ เครื่องมือที่ลดแรงจูงใจ

เริ่มกันที่ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่สร้างแรงจูงใจ (Economic Incentives)กันก่อน เครื่องมือนี้จะอาศัยการมอบผลตอบแทนหรือสิทธิประโยชน์บางอย่าง ให้ผู้ประกอบการกระตือรือร้นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ออกมาตรการยกเว้นด้านภาษี มาตราการลดหย่อนทางภาษี เสนอความช่วยเหลือด้านการเงินและการลงทุน ไปจนถึงให้สิทธิพิเศษด้านการลงทุนหากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาผลิตสินค้าและบริการอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กรณีตัวอย่างที่เห็นชัดคือ การที่ภาครัฐออกมาตรการส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งลดภาษีนำเข้า ลดภาษีสรรพสามิต รวมถึงสนับสนุนสิทธิประโยชน์อื่นๆ อีกมากมายเพื่อส่งเสริมการลงทุนในรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์ตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอน ซึ่งแน่นอนว่ารถยนต์สันดาปภายในที่ใช้น้ำมันต้องจ่ายภาษีแพงกว่า นี่คือแนวทางที่ผู้ประกอบการยานยนต์ต้องมองให้ขาดว่าในอนาคตอีกไม่ไกล การทำธุรกิจรถยนต์สันดาปใช้น้ำมันแบบเดิมอาจไม่คุ้มทุนอีกต่อไป

นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Finance) ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการและภาคส่วนต่างๆ สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น สินเชื่อสีเขียวโดยธนาคารพาณิชย์ เพื่อเพิ่มเงินทุนให้เอกชนรายย่อยสามารถวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้

[ ยิ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาก ยิ่งต้องจ่ายมาก ]

ต่อมาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ที่ลดแรงจูงใจ (Economic Disincentives) ตั้งอยู่บนหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย มีการคิดราคาคาร์บอนเพื่อสะท้อนต้นทุนของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เมื่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนหรือก๊าซเรือนกระจกกลายเป็นสิ่งที่มีต้นทุนต้องจ่าย ไม่ใช่สิ่งที่จะปล่อยได้ฟรีๆ อีกต่อไป ก็จะกระตุ้นให้ผู้ผลิตหันไปใช้เทคโนโลยีสะอาด ซึ่งมีต้นทุนของผลกระทบน้อยกว่านั่นเอง

โดยมีทั้งการจัดเก็บภาษีคาร์บอน และการเก็บค่าธรรมเนียมมลพิษ ที่มีหลักการเรียบง่าย คือยิ่งผู้ผลิตปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือมลพิษมากเท่าไร ก็ยิ่งต้องจ่ายภาษีหรือค่าธรรมเนียมมากขึ้นเท่านั้น ไปจนถึงเครื่องมือที่ซับซ้อนกว่าอย่างการซื้อขายสิทธิในการปล่อยคาร์บอน

วิธีนี้เรียกว่า ETS ย่อมาจาก Emission Trading Schem คือ การกำหนดเพดานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ผลิต โดยผู้ผลิตแต่ละคนจะได้รับโควต้าในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาครัฐ ในรูปของใบอนุญาต หากปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าจำนวนในใบอนุญาต ผู้ผลิตคนนั้นๆ ก็สามารถขายต่อใบอนุญาตที่เหลือแก่ผู้ผลิตคนอื่นได้ ในทางกลับกันหากผู้ผลิตรายใดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินโควตาที่ได้รับ ก็ต้องซื้อใบอนุญาตต่อจากผู้ผลิตคนอื่น ถือเป็นระบบที่จำกัดปริมาณแล้วแลกเปลี่ยน (Cap-And-Trade)

หลายปีที่ผ่านมา ETS ถูกพูดถึงมากขึ้นในเวทีโลก เพราะมีฟังก์ชันที่เหนือกว่าการจัดเก็บภาษีคาร์บอนแบบปกติ ในการจัดเก็บภาษีคาร์บอน ผู้ผลิตสามารถปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากเท่าที่ต้องการโดยไม่มีเพดานจำกัด ในขณะที่ระบบ ETS ภาครัฐสามารถกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผู้ผลิตทั้งประเทศ ที่อนุญาตให้ปล่อยได้ ซึ่งเป็นผลดีกว่าอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อม

ดังนั้นในอนาคต หากภาคธุรกิจเมินเฉยต่อการเปลี่ยนแปลง เท่ากับเสียโอกาสในการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ เสียโอกาสค้นหาธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งระบบเศรษฐกิจของโลกใหม่นั้นสนับสนุนการปล่อยคาร์บอนต่ำจนถึงปล่อยเป็นศูนย์

 

เรียบเรียงจาก Global Compact Network Thailand

ผู้ที่สนใจเรื่องราวของการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงต้นทุนทางสิ่งแวดล้อมและ SDGs ติดตามข้อมูลได้ที่ globalcompact-th.com

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า