SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมสุขภาพจิตแนะสร้างพลังด้านสุขภาพจิต หมั่นสำรวจอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ประเมินตนเองเชิงบวก ใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัว หรือติดต่อสื่อสารคนใกล้ชิดที่อยู่ไกล ตั้งเป้าหมายสำหรับปีหน้าอย่างเหมาะสม และส่งต่อความหวังและความปรารถนาดีถึงคนรอบข้าง จะทำให้ลดภาวะ New Year’s Blues หรือ ภาวะซึมเศร้าช่วงปีใหม่

จากข้อมูลการสำรวจในกิจกรรม วัดใจในระบบ Mental Health Check In โดยกรมสุขภาพจิตพบว่า ช่วงเดือนธันวาคม 2564 ประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 5.24 มีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 6.72 และมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาประชาชนมีความเครียดสูงร้อยละ 8.41 และมีความเสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 10.60

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่าสถิติของเดือนธันวาคมยังไม่รวมช่วงวันหยุดยาวขึ้นปีใหม่ ซึ่งในเทศกาลปีใหม่นั้นเป็นช่วงที่กรมสุขภาพจิตให้ความสำคัญและเฝ้าระวังด้านสุขภาพจิตของประชาชนเป็นอย่างมาก เนื่องจากในช่วงวันหยุดยาวปีใหม่นี้ แม้คนส่วนใหญ่จะมีความสุขเพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่เทศกาลรื่นเริง

แต่คนจำนวนหนึ่งจะเริ่มทบทวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตลอดปีที่ผ่านมา หรือได้รับฟังข่าวสารที่มีการสรุปเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงปีที่ผ่านมา อาจทำให้เกิดความผิดหวัง กังวล หรือซึมเศร้าขึ้นได้ และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมานั้น อาจทำให้หลายคนเกิดความเครียดเรื้อรังสะสม รวมถึงมีอุปสรรคปัญหาด้านต่าง ๆ เกิดขึ้น ทั้งสุขภาพกาย ปัญหาจากการทำงาน และปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น หลายคนไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ตามสิ่งที่ตนเองเคยคาดหวังและวางแผนไว้ ก่อให้เกิดความรู้สึกล้มเหลว ความทรงจำด้านลบ การสูญเสีย และความรู้สึกที่ไม่ดีต่อตนเอง

นอกจากนั้นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิตอยู่เดิม อาจจะมีความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพจิตเพิ่มยิ่งขึ้นได้ในช่วงนี้ เช่น คนที่มีภาวะซึมเศร้าอยู่เดิมอาจมีอาการเศร้ารุนแรงมากขึ้น และช่วงวันหยุดเทศกาลไม่สามารถสร้างความสุขให้ได้ นอกจากนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุดย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไปพบคนในครอบครัว หรือไม่ได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันในช่วงปีใหม่ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมีข้อจำกัด อาจส่งผลให้เกิดความเครียด ความรู้สึกเหงา และความเศร้าที่มากขึ้นได้อีกด้วย

 ภาวะ “New Year’s Blues” หรือ ภาวะซึมเศร้าช่วงปีใหม่ เป็นภาวะที่กรมสุขภาพจิตอยากให้คนไทยตระหนักถึงในช่วงนี้

แม้ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางจิตเวช แต่เป็นภาวะทางสุขภาพจิตที่ได้รับการพูดถึงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยผู้ที่กำลังประสบภาวะนี้ในช่วงหยุดยาววันส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่นี้จะมีอาการได้แก่ ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ รู้สึกไร้ค่า รู้สึกสิ้นหวัง ไม่สนใจสิ่งรอบข้าง มีปัญหาเรื่องการกิน หรือการนอน ในบางรายอาจมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากทำร้ายตัวเองได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจเกิดต่อเนื่องไปยังช่วงต้นเดือนมกราคม แม้สิ้นสุดวันหยุดยาวไปแล้วก็ตาม

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า กรมสุขภาพจิตอยากรณรงค์ให้คนไทยทุกคนช่วยกันป้องกันตนเองและคนใกล้ชิดไม่ให้เข้าสู่ภาวะ New Year’s Blues โดยหมั่นสำรวจอารมณ์ของตนเองและคนรอบข้าง ทั้งในระหว่างช่วงหยุดยาวและหลังหยุดยาว หรือ ประเมินตัวเองผ่าน www. วัดใจ. com และมีการมองเห็นคุณค่าของตนและสิ่งดี ๆ ที่ตนเองได้ทำไว้ในช่วงที่ผ่านมา เช่น การมองหาสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ พลังใจที่เกิดขึ้นในตนเอง การไม่ยอมแพ้ต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆ รวมถึงการแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ควรใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัวหรือคนสนิท หากไม่สามารถเดินทางไปพบคนในครอบครัวหรือเพื่อนฝูงได้ ก็สามารถเรียนรู้วิธีใช้ช่องทางออนไลน์ในการเชื่อมความสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้างเพิ่มเติม

หากรู้สึกว่าตนเองอาจมีภาวะ New Year’s Blues สามารถเริ่มปรึกษาพูดคุยกับใครสักคน เช่น คนใกล้ชิดหรือสมาชิกในครอบครัว นอกจากนั้นสามารถติดต่อขอคำปรึกษาจากสายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่ LINE@1323forthai หรือ ปรึกษาจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า