Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

หนึ่งล้านตัวทำหมัน หลายล้านตัวมีชีวิตที่ดีขึ้น

​สุนัขที่คุณเห็นในภาพนี้ คือ “น้องมิลเลี่ยน” (million) สัตว์จรจัดตัวที่หนึ่งล้านที่ได้รับการทำหมันและฉีดวัคซีนผ่านโครงการ CNVR ควบคุมจำนวนสัตว์จรจัดโดยสัตวแพทย์ของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) ภาพการทำงานของหน่วยทำหมันเคลื่อนที่ ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กู้ภัยสัตว์ขับรถของมูลนิธิฯ ตระเวนรอบตำบลและนำสุนัขกลับมาที่หน่วยเพื่อทำหมันและฉีดวัคซีนโดยสัตวแพทย์ สุนัขที่ร่วมโครงการมีทั้งที่เป็นสุนัขจรจัดไม่มีคนดูแล สุนัขในชุมชนและสุนัขที่มีคนให้ข้าว ก่อนนำส่งกลับที่จุดเดิมในวันเดียวกันเป็นภาพที่คุ้นชินของประชาชนในพื้นที่ที่ซอยด๊อกปฏิบัติภารกิจหน่วยทำหมันเคลื่อนที่ อันได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และภูเก็ตซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์พักพิง

​โครงการทำหมันของซอยด๊อก หน่วยงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของสัตว์จรจัด มีคุณูปการในการลดจำนวนสุนัขจรจัดและการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าในประเทศไทย หากไม่มีการทำหมันเพื่อควบคุมการแพร่พันธุ์ ขณะนี้เราจะเห็นสุนัขและแมวจรจัดจำนวนมหาศาลอีกหลายเท่า รวมถึงพบกรณีการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้ามากยิ่งขึ้นในหลายพื้นที่“หมากัดกัน” “หมาไล่รถ” “หมาขี้เรื้อน” และสารพัดปัญหาจากสุนัขจรจัดสามารถลดลงและแก้ไขได้ด้วยการทำหมันฉีดวัคซีน ซึ่งโครงการ CNVR ของซอยด๊อกไม่มีค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ผู้รับบริการสามารถร่วมบริจาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานได้ตามความสะดวก ​ไม่ใช่แค่จำนวนสุนัขที่ลดลง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและคนในชุมชนยังดีขึ้นอีกด้วย ข้อมูลจากนายสัตวแพทย์ตันติกร รุ่งพัฒนะ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการประชากรสุนัขและแมวประเทศไทย ซอยด๊อก กล่าวว่า “เมื่อสุนัขมีจำนวนพอเหมาะกับชุมชน ผู้คนที่มีความเอ็นดูและเมตตามักจะออกมาปฏิสัมพันธ์กับสุนัขเหล่านี้มากขึ้น” ส่วนหนึ่งเพราะพฤติกรรมที่ดีขึ้นจากการผ่าตัดทำหมันที่ช่วยลดฮอร์โมนเพศซึ่งเป็นสาเหตุของการแสดงออกก้าวร้าวหลายประการ เช่น กัดกันเพื่อแย่งตัวเมีย เห่าไล่รถ

​เมื่อสุนัขจรจัดไม่ออกลูกออกหลานจนล้นเมืองจึงไม่สร้างปัญหาใหม่ จากที่เคยเป็นสุนัขร่างกายผอมโซ เป็นขี้เรื้อนและมีปัญหาผิวหนังกลายเป็นสุนัขสุขภาพดีจากการได้รับวัคซีนและยาป้องกันเห็บหมัด ผู้ประกอบการ ร้านค้า โรงแรมในย่านการท่องเที่ยวจึงยินดีให้สุนัขกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในละแวก ผู้คนจากที่เคยได้รับความเดือดร้อน รู้สึกหวาดกลัว รังเกียจจึงเริ่มเปิดใจและยินดียอมรับให้สุนัขกลุ่มที่ทำหมันฉีดวัคซีนแล้วเป็นส่วนหนึ่งในชุมชน มีการแสดงสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าของเพิ่มขึ้น เช่น การใส่ปลอกคอ การมีชื่อเรียก การมีชามข้าวชามน้ำตั้งอยู่ในจุดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาการทารุณกรรมสัตว์ในพื้นที่ที่มีโครงการทำหมันสุนัขลดลง

​ปัจจุบัน การดำเนินโครงการของซอยด๊อกเริ่มเป็นที่รู้จักในชุมชนมากขึ้น การตั้งหน่วยทำหมันในตำบลต่าง ๆ และการเชิญชวนเจ้าของสัตว์เลี้ยง ผู้ที่มีสุนัขในละแวกบ้านให้นำสุนัขมาร่วมโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะคนในพื้นที่เข้าใจและรับทราบถึงประโยชน์ที่สุนัขจะได้รับจากการทำหมัน แต่เมื่อย้อนกลับไปในระยะแรกที่เริ่มงานเมื่อปี พ.ศ. 2546 มูลนิธิฯ พบว่ามีความท้าทายหลายประการ ประชาชนบางส่วนยังคิดว่าซอยด๊อกมาจับสุนัขไปขายต่อหรือมาขอเรี่ยไรเงิน รวมถึงหน่วยงานในท้องถิ่น เทศบาลและอบต.ต่าง ๆ ยังไม่ต้องการร่วมมือด้วยเนื่องจากมองไม่เห็นภาพว่าวัตถุประสงค์ของโครงการคืออะไร หากร่วมมือแล้วจะส่งผลดีต่อชุมชนจริงหรือไม่ เนื่องจากไม่เคยมีโครงการทำหมันสุนัขระยะยาวในพื้นที่มาก่อน

​เวลา 20 ปีของการดำเนินงานค่อยๆ เปลี่ยนมุมมองเรื่องการทำหมันสัตว์ ความเชื่อในอดีต เช่น การทำหมันเป็นบาป เป็นการทรมานสัตว์เริ่มหมดไป ความคิดเรื่องการดูแลสุนัขในพื้นที่เป็นหน้าที่ของทุกคนในชุมชนเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น จากในอดีต การจัดการสุนัขจรจัดเป็นเรื่องไกลตัวและถูกมองว่าเป็นเรื่องของหน่วยงานเช่น เทศบาล วัด มูลนิธิฯ เท่านั้น โครงการ CNVR ควบคุมจำนวนสัตว์จรจัดของซอยด๊อกยังคงเดินหน้าต่อจนกว่าปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทยจะหมดไป ทั้งนี้งานทุกขั้นตอนเกิดขึ้นได้ด้วยการบริจาคเงินจากผู้ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตสัตว์จรจัดและสนับสนุนการทำหมันของซอยด๊อก สำหรับผู้ที่สนใจนำสุนัขเข้าร่วมโครงการทำหมันและฉีดวัคซีนไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถตรวจสอบข้อมูลพิกัดสถานที่ทำหมันได้ที่เฟสบุ๊ค มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ประเทศไทย

ข้อมูลโครงการทำหมันของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (ซอยด๊อก) พื้นที่ให้บริการ – 13 จังหวัดทั้งสิ้น 15 หน่วย ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสาคร นนทบุรี นครปฐม ปทุมธานี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และภูเก็ต

เจ้าหน้าที่ในทีม – ประกอบด้วย สัตวแพทย์ที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ พยาบาลสัตว์ ผู้ช่วยพยาบาลสัตว์ เจ้าหน้าที่กู้ภัยสัตว์ รวม 10 – 11 คน วัน-เวลาให้บริการ ทุกวันจันทร์-ศุกร์สำหรับหน่วยทำหมันในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และจันทร์-เสาร์สำหรับพื้นที่ภาคใต้
ค่าใช้จ่าย ไม่มีการเรียกเก็บค่าบริการ สามารถบริจาคได้ตามความสะดวก ทำหมันสัตว์ประเภทใด หน่วยทำหมันเคลื่อนที่ทำหมันและฉีดวัคซีนสุนัขเท่านั้น ขณะนี้ยังไม่มีบริการทำหมันแมว (มูลนิธิฯ ทำหมันแมวเพียงแห่งเดียวคือที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจากปัจจุบันมีประชากรแมวมากกว่าสุนัขบนเกาะ) สนใจทำหมัน ผู้สนใจใช้บริการสามารถติดต่อจองคิวทำหมันได้ที่ หน่วยทำหมันซอยด๊อกหรือสอบถามสำนักงานเขต/อบต.ในพื้นที่ที่ซอยด๊อกให้บริการ

สถานที่ให้บริการ พิกัดสถานที่ทำหมันจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ ซึ่งจะแจ้งที่หน้าเฟสบุ๊ค มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ประเทศไทย
การผ่าตัดทำหมันโดยสัตวแพทย์ใช้เครื่องดมยาสลบและไหมละลาย เมื่อฟื้นตัวแล้วสามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ทั้งนี้หากพบปัญหาหลังจากการทำหมันสามารถติดต่อกลับมาที่เจ้าหน้าที่ประจำหน่วย มูลนิธิฯ ขอสงวนสิทธิงดรับการทำหมันสำหรับสุนัขตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น สุนัขที่ไม่ได้งดอาหารมา เพื่อความปลอดภัยของตัวสัตว์

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า