SHARE

คัดลอกแล้ว

คณาจารย์คณะนิติศาสตร์จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 50 รายชื่อออกจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกา อธิบดีศาลอาญา และอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ เรื่อง เรียกร้องให้คืนสิทธิในการได้รับการปล่อยชั่วคราวให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมือง เมื่อวันที่ 27 ม.ค.ที่ผ่านมา รายละเอียด ดังนี้

จากกรณีที่น.ส.ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และน.ส.อรวรรณ ภู่พงษ์ ผู้ต้องหาในคดีความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ไลฟ์สดหน้าสหประชาชาติ ได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันตัวเอง และศาลได้มีคำสั่งรับคำร้องและอนุญาตให้ถอนประกัน เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2566

โดยทั้งสองมีข้อเรียกร้อง 3 ประการ โที่สำคัญคือ การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการคืนสิทธิประกันตัวให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมือง และภายหลังจากที่ข้อเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองทำให้ทั้งสองตัดสินใจอดอาหารและน้ำมาเป็นเวลากว่า 7 วัน จนร่างกายเข้าขั้นวิกฤติตามที่ปรากฏเป็นข่าวแล้วนั้น และจากการที่ศาลอนุญาตให้ถอนประกันตัวทั้งสองคนนั้นทำให้ในขณะนี้มีผู้ต้องหาในคดีทางการเมืองที่ถูกควบคุมตัวทั้งก่อนและระหว่างพิจารณาในชั้นศาล เป็นจำนวนกว่า 15 คน โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

ซึ่งการใช้อำนาจในกระบวนการยุติธรรม ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดคำถามในประเด็นสำคัญ ดังนี้

  1. รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศได้รับรองหลักการพื้นฐานที่สำคัญเอาไว้ คือ

ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” และ “การควบคุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลย ให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้มีการหลบหนี” จากหลักการดังล่าว การควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยจึงเป็นเพียงข้อยกเว้นและต้องกระทำเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งมาตรา 108 และ 108/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้กำหนดเหตุในการสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวเอาไว้ ดังนั้น ในการพิจารณาสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวของศาลจึงต้องคำนึงถึงหลักกฎหมายและปรากฎข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้งว่ามีเหตุที่ศาลจะสามารถสั่งไม่ปล่อยชั่วคราวได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันว่าหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญาจะได้รับการเคารพและปฏิบัติตาม

2. เมื่อการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยในระหว่างดำเนินคดีต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ปรากฎในมาตรา 108 และ 108/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ดังนั้น เมื่อศาลได้อนุญาตให้ประกันตัวแล้วย่อมแสดงว่า ไม่มีเหตุที่จะคุมขังบุคคลทั้งสองไว้แต่อย่างใด การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยสมัครใจยื่นขอถอนประกันตัวเองไม่อาจเป็นเหตุผลเพียงพอที่ศาลจะถอนประกันได้ อีกทั้งในกรณีของทั้งสองคนก็ไม่ได้กระทำการที่ผิดเงื่อนไขการประกันตัวแต่อย่างใด กรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่ปัญหาว่าทั้งสองสมัครใจหรือสละสิทธิในการประกันตัว และศาลต้องมีคำสั่งอนุญาตถอนประกันตามที่ร้องขอ หากแต่เป็นประเด็นในเรื่องเงื่อนไขการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายตามหลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำของรัฐ ดังนั้น ในกรณีของทั้งสอง ศาลจึงจำเป็นต้องพิจารณาการไม่ปล่อยชั่วคราวตามเงื่อนไขและเหตุที่กำหนดในมาตรา 108 และ 108/1 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการควบคุมตัว มิใช่พิจารณาแต่เพียงการสมัครใจถอนประกันของทั้งสองคน

3. แม้ศาลสามารถกำหนดภาระหน้าที่หรือเงื่อนไขให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวต้องปฏิบัติได้ตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 

แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวต้องไม่เกินความจำเป็น และไม่ขัดกับหลักการพื้นฐานที่ให้สันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา การปล่อยชั่วคราวในคดีการเมืองหลายคดี ศาลมักจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องปฏิบัติตามด้วย เช่น การใส่กำไล EM เพื่อติดตามตัว ห้ามออกนอกเคหสถานตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว หรือห้ามกระทำการในลักษณะเดิมซ้ำ เป็นต้น ซึ่งเงื่อนไขที่ศาลกำหนดดังที่ได้กล่าวถึงข้างต้นนี้ มีปัญหาหรือข้อสงสัยในทางกฎหมายได้ว่าสอดคล้องกับหลักความได้สัดส่วนและเป็นเงื่อนไขที่ปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในฐานะผู้บริสุทธิ์หรือไม่

ด้วยเหตุดังกล่าวข้างต้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ ดังมีรายนามแนบท้าย จึงขอเรียกร้อง ดังนี้

1. ขอให้ศาลพิจารณาเพิกถอนคำสั่งถอนประกันตัวของ ทานตะวัน ตัวตุลานนท์ และ อรวรรณ ภู่พงษ์ เพื่อให้ทั้งสองได้รับอิสรภาพโดยเร็วที่สุดก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

2. ขอให้ศาลพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีการเมืองทุกคดีตามหลักกฎหมาย เพื่อธำรงไว้ซึ่งนิติรัฐและหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา

3. ขอให้ศาลพิจารณายกเลิกกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวที่ขัดต่อหลักความได้สัดส่วนและขัดต่อหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา

ในสถานการณ์ความขัดแย้งของสังคมอันเนื่องมาจากความแตกต่างทางความคิด การใช้อำนาจตุลาการอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญจะเป็นกลไกสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนทุกฝ่าย และทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งไม่ลุกลามบานปลาย องค์กรตุลาการที่ใช้อำนาจอย่างเป็นธรรมย่อมสร้างความศรัทธาให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของสันติภาพในสังคมและย่อมได้รับการแซ่ซ้องสรรเสริญจากปวงชน แต่หากองค์กรตุลาการใช้อำนาจโดยปราศจากการคำนึงถึงหลักกฎหมายและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพแล้ว ประวัติศาสตร์ก็จะจดจำท่านในอีกแบบหนึ่ง

ด้วยความเชื่อมั่นในนิติรัฐและประชาธิปไตย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า