Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ครม.อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน พ.ศ…. เปิดช่องร้องขอรับทรัพย์สินคืน-ชดใช้ในคดีฟอกเงิน กรณีไม่มีความผิด

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 มกราคม 2566 มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เสนอ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย โดยจะกำหนดระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในกระบวนการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย ที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิดมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มี 21 ลักษณะความผิด

ผู้เสียหายที่ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดจะมีสิทธิได้รับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดคืนหรือชดใช้คืน รวมถึงได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ อนามัย หรือชื่อเสียง

สรุป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ดังนี้

1. หลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการยื่นคำร้อง ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องดังกล่าวภายใน 90 วัน นับแต่สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงินประกาศในราชกิจจานุเบกษาและในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ ปปง. เพื่อแจ้งให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องเพื่อขอรับคืน หรือชดใช้คืน หรือชดใช้ค่าเสียหายจากทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด

โดยคำร้องต้องระบุข้อความให้ถูกต้องครบถ้วน พร้อมทั้งแนบหลักฐานที่แสดงถึงการเป็นผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน และสามารถยื่นคำร้องด้วยตนเองทางไปรษณีย์ หรือช่องทางอื่นตามที่เลขาธิการ ปปง. ประกาศกำหนด และยังได้กำหนดให้บุคคลอื่นสามารถยื่นคำร้องแทนผู้เสียหายได้ในกรณีดังนี้ คือ ผู้แทนโดยชอบธรรม (กรณีผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์) ผู้อนุบาล (กรณีผู้เสียหายเป็นคนไร้ความสามารถ) ทายาท (กรณีผู้เสียหายถึงแก่ความตาย) และบุคคลซึ่งได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายเป็นหนังสือจากผู้เสียหาย

2. วิธีการพิเศษในการตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริง เกี่ยวกับผู้เสียหายในความผิดบางมูลฐาน คือ การค้ามนุษย์และความผิดมูลฐานที่เกิดนอกราชอาณาจักร โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีหนังสือถึง พม. (สำหรับความผิดมูลฐานเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน หรือบริการ) หรือหน่วยงานของรัฐต่างประเทศที่รายงาน (สำหรับความผิดมูลฐานที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร) เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหาย และความเสียหาย และสถานการณ์ดำเนินคดีตามกฎหมายเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายนั้น

3. การเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการธุรกรรมและพนักงานอัยการ เมื่อได้รับคำร้องถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้เสียหายและความเสียหายโดยเร็ว และจัดทำรายงานพร้อมความเห็นต่อเลขาธิการ ปปง. เพื่อให้ความเห็นชอบในการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการธุรกรรมพิจารณา และมีมติเห็นชอบให้ส่งเรื่องให้พนักงานอัยการยื่นคำร้อง

เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ไปคืนหรือชดใช้คืนแก่ผู้เสียหาย และให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งมติของคณะกรรมการธุรกรรมและสิทธิในการขอให้ทบทวนมติให้แก่ผู้เสียหาย บุคคลอื่น หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ โดยทางไปรษณีย์ตอบรับหรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

4. การจัดการทรัพย์สินเพื่อคืน หรือชดใช้คืน หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ให้นำทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไปคืน หรือชดใช้คืน หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ให้ ปปง.ดำเนินการโดยเร็ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า