Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาคประชาชนและ ‘เพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า’ ยื่นหนังสือเร่ง สปสช. ดันยาต้านเศร้าเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ บัตรประชาชนใบเดียวควรรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่ไหนก็ได้ ปัญหาใหม่ ‘โรคเรื้อรังซ้ำซ้อน’ ทำให้ผู้ป่วยโรคอื่นเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

กลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้า, มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค, เครือข่ายพลเมืองขับเคลื่อนสิทธิด้านสุขภาพ (Healthy Forum) และสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) เข้ายื่นหนังสือเปิดผนึกถึงนายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีดันยาซึมเศร้าขึ้นบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อให้การเข้าถึงการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย

ฐิตินบ โกมลนิมิ กลุ่มเพื่อนผู้ป่วยซึมเศร้าเป็นตัวแทนยื่นหนังสือ กล่าวว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่สามารถรักษาหาย แต่เมื่อใดก็ตามที่เข้าถึงการรักษายากลำบาก หรือหยุดกินยาเนื่องจากราคาที่แพง รวมทั้งไม่มีทางเลือกในการรักษาจะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสกลับมาป่วยได้อีก ซึ่งการกลับมาป่วยบ่อยครั้งจะทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นซึมเศร้าเรื้อรัง และจำเป็นจะต้องกินยาไปตลอดชีวิต ในขณะที่ยาบางชนิดอยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติและมีราคาที่แพง

“ป่วยซึมมา 8 ปี ที่ผ่านมาใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ค่ายาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ เป็นภาระที่ตนจะต้องแบกรับมาตลอดการรักษา พึ่งต่อรองกับหมอได้เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งประหยัดค่ารักษาได้ 7,000 บาท” ฐิตินบ กล่าว

ขณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำวิจัย ซึ่งพบว่า ด้วยระบบหลักประกันสุขภาพไม่เอื้อกับผู้ป่วย อีกทั้งขาดแคลนยาที่มีประสิทธิภาพในการรักษาและยาบางรายการที่จำเป็นต่อผู้ป่วย อาทิ โอแลนซาปี, อะริพิพราโซล, เวนลาฟาซีน และ เมทิลเฟนิเดต ยังไม่ถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ทําให้ผู้บริการอ้างเก็บเงินส่วนต่างจากผู้ป่วย เกิดเป็นภาระค่าใช้จ่าย ด้านสุขภาพจนผู้ป่วยบางรายต้องหยุดยาเอง หยุดการรักษา และกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรัง

จึงมีข้อเสนอ 7 ข้อเร่งด่วน ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาเชิงนโยบาย เพื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเพื่อการเข้าถึงการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ต้องการให้สปสช. เร่งรัดการเพิ่มยาต้านเศร้าและยาจิตเวชที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 4 รายการ เช่น โอแลนซาปีน (Olanzapine) อะริพิพราโซล (Aripiprazole) เวนลาฟาซีน (Venlafaxine) และ เมธธิลฟินิเดท (Methylphenidate) เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ เพื่อต่อรองราคายาให้ถูกลง ลดต้นทุนการรักษาพยาบาล ของผู้ป่วย และลดค่าใช้จ่ายด้านยาของระบบสุขภาพโดยรวม และเร่งแก้ปัญหาการเรียกเก็บค่ายาส่วนต่างจากผู้ป่วยรวมทั้งผลักดันยาดังกล่าวให้บรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติด้วย

2. บัตรประชาชนใบเดียวรักษาโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่ไหนก็ได้ ภายใต้นโยบายทางการเมืองของพรรคเพื่อไทย และมติคณะกรรมการพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 ทั้งนี้ ควรมีการจัดตั้ง “คลินิคจิตเวชทุกโรงพยาบาล ทุกอําเภอ” โดยเฉพาะโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิในระบบสุขภาพ และในเขตเมือง เพื่อให้การรักษา ติดตาม อาการ จนอาการดีขึ้น และหายป่วย โดยไม่ต้องรอใบส่งต่อเป็นครั้งๆ จากหน่วยบริการเจ้าของสิทธิ

3. ต้องการให้ สปสช. และกรมสุขภาพจิต พัฒนาสายด่วนสุขภาพจิต โทร.1323 ให้เป็น ‘หน่วยแรกรับและสายปรึกษาสุขภาพจิตครบวงจร’ ทำงานเชิงรุกรับฟัง ให้คำปรึกษา ติดามประเมินภาวะอาการของโรค และสามารถส่งต่อหน่วยบริการทั้งรัฐและเอกชนที่เข้าร่วมเป็นเครือข่ายให้กับผู้ใช้บริการได้

4. ขอให้บอร์ดสปสช. พัฒนาระบบ ส่งเสริมผู้ป่วยซึมเศร้าและจิตเวชเข้าถึงบริการบำบัดฟื้นฟูสุขภาพจิตโดยไม่ถูกเรียกเก็บเงินส่วนต่าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาฟื้นฟูสุขภาพใจควบคู่กับการใช้ยา และเตรียมพร้อมคืนผู้ป่วยกลับคืนสู่สังคม เช่น การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy-CBT) เป็นต้น

5. การดูแลผู้ป่วยซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้องในทุกระบบหลักประกันสุขภาพต้องมีคุณภาพมาตรฐานเดียวกัน

6. มีการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการให้บริการโรคซึมเศร้าและโรคจิตเวชที่เกี่ยวข้อง หลังมีการจัดตั้ง “คลินิกจิตเวชทุกโรงพยาบาล ทุกอำเภอ”

7. ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พิจารณาการขึ้นทะเบียนยาต้านซึมเศร้าที่ได้มาตรฐาน เฝ้าระวังเรื่องคุณภาพยา การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล และติดตามการใช้ยาไม่พึงประสงค์ เพื่อให้ผู้สั่งจ่ายยาเกิดความมั่นใจในยาชื่อสามัญเพื่อการเข้าถึงยาได้มากขึ้น

ขณะที่ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ทราบปัญหาทั้งหมดดีอยู่และตระหนักว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต นโยบาย 30 บาทพลัส จะทำให้โรงพยาบาลเป็นของประชาชนจริงๆ และให้นโยบายโดยการตั้งวอร์ดผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มมากขึ้นไปแล้ว จะให้ติดตามว่าการพิจารณายาต้านเศร้าตามข้อเสนอของกรมสุขภาพจิตติดอยู่ที่ตรงไหน หากยังต้องใช้เวลาพิจารณาอีกพอสมควร ระหว่างนั้นอาจหารือหามาตรการ หรือทำเป็นโครงการพิเศษเพื่อต่อรองราคายาให้ถูกลง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า