Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ธปท. สั่งธนาคารปรับระบบยืนยันตัวด้วย Biometrics บนโมบายแอปพลิเคชัน กรณีโอนวงเงินสูง หรือ มีความถี่ หวังสกัดบัญชีม้า พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ธนาคารแห่งประเทศไทยและสถาบันการเงิน อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการทุจริตและบัญชีม้าระหว่างกัน โดยนางสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการได้หลังจาก ร่างพ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้

สำหรับ ร่างพ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เมื่อมีผลบังคับใช้จะกำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีและธุรกรรมของลูกค้าที่ต้องสงสัยได้ โดยไม่ขัดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ยังมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม โดยจะให้ธนาคารเพิ่มกระบวนการยืนยันตัวตนด้วย Biometric comparison บน Mobile Banking เมื่อเข้าเงื่อนไขที่กำหนด เช่น การโอนเงินจำนวนมาก ทั้งในแง่มูลค่า และความถี่ รวมถึงการปรับเพิ่มวงเงินต่อวัน โดยกำหนดตามพฤติกรรมหรือระดับความเสี่ยงของลูกค้าของธนาคาร รวมทั้งให้มีช่องทางติดต่อเร่งด่วน (Hotlines) อย่างเพียงพอ ตลอด 24 ชม.ให้ลูกค้าสามารถแจ้งเหตุหลอกลวงได้โดยตรง

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และโฆษก ธปท. ระบุว่า ได้กำชับให้สถาบันการเงินปรับปรุงและพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัยให้เท่าทันวิธีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ ๆ ต่อเนื่อง โดยกำหนดให้สถาบันการเงินยกระดับการจัดการภัยหลอกลวงและภัยทุจริต เป็นความเสี่ยงระดับองค์กร และต้องกำหนดแนวปฏิบัติอย่างชัดเจนโดยเร็ว เช่น กำหนดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน Mobile Banking หรือบัญชีกระเป๋า e-Wallet ของแต่ละผู้ให้บริการทางการเงิน และให้ใช้งานบน 1 อุปกรณ์ เพื่อลดความเสี่ยงจากการนำบัญชีผู้ใช้งาน Mobile Banking หรือกระเป๋า e-Wallet ไปใช้ในทางไม่สุจริต

มีกระบวนการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในขั้นตอนการเปิดบัญชีเงินฝาก และการเปิดบัญชี e-Money โดยตรวจสอบให้ชื่อเจ้าของบัญชีเงินฝาก หรือบัญชี e-Money ที่ใช้โอนเงินสอดคล้องตรงกันกับชื่อเจ้าของเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่

นอกจากนี้ ให้งดเว้นแนบลิงก์ผ่านช่องทางข้อความสั้น (SMS) อีเมล และโซเชียลมีเดีย ที่เป็นการขอข้อมูลในการยืนยันตัวตนและข้อมูลส่วนบุคคลที่สำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน รหัสผ่านใช้ครั้งเดียว (OTP) รหัส PIN หมายเลขบัตรประชาชนชน วันเดือนปีเกิด เป็นต้น

รู้จักการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics

สำหรับการยืนยันตัวตนด้วย Biometrics เป็นการยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพ ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะตัวและไม่ซ้ำใคร เช่น ลายนิ้วมือ รูม่านตา โครงสร้างใบหน้า เสียง โดยผสานเทคโนโลยีทางด้านชีวภาพ การแพทย์ และด้านคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน รวบรวมข้อมูล จดจำ แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาเปรียบเทียบ และประมวลผลการยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นๆ มี 3 รูปแบบคือ

  1. สแกนลายนิ้วมือ (Fingerprint)
  2. สแกนใบหน้า (Face Recognition)
  3. สแกนม่านตา (Iris Recognition)
  4. จดจำเสียง (Voice Recognition)

การยืนยันตัวตนด้วยข้อมูลทางชีวภาพใช้ Biometrics ให้ปลอดภัยที่สุดใน 3 ขั้นตอน

  1. เลือกใช้ Biometrics ยืนยันตัวตนกับระบบที่เชื่อถือได้ หากระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างไม่ปลอดภัย และทำข้อมูลรั่วไหลไป จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  2. ยืนยันตัวตนด้วย 2 ปัจจัยกับธุรกรรมที่สำคัญ เช่น การสแกนใบหน้าครั้งแรกเพื่อเข้าสู่ระบบ Mobile Banking แล้วยืนยันตัวตนด้วยรหัสผ่านเมื่อโอนเงิน เป็นต้น
  3. สำรองวิธีเข้าสู่ระบบแบบอื่นไว้ด้วย เช่น หากสแกนนิ้ว หรือใบหน้าไม่ผ่าน ก็ยังใช้รหัสผ่านเข้าสู่ระบบได้

คลิกที่นี่

แนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometric Technology) ในการให้บริการทางการเงิน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า