Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘วุฒิสภา’ มีมติเสียงข้างมากด้วยคะแนน 157 ต่อ 12 เสียง คว่ำญัตติ ส.ส. ออกเสียงประชามติจัดทำรัฐธรรมนูญ ดับฝัน ส.ส.เพื่อไทย – ก้าวไกล 

 

พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร รองประธานวุฒิสภา คนที่สอง ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาเรื่องด่วนในการให้ความเห็นชอบผลการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร ที่ให้ส่งเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาการทำประชามติการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

นายสมชาย แสวงการ ส.ว. ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญพิจารณาการศึกษาการจัดทำประชามติ โดยการตั้งสภาผู้แทนราษฎร รายงานผลการศึกษาเรื่องดังกล่าวต่อที่ประชุมวุฒิสภา ระบุว่า กมธ. คัดค้านการทำประชามติดังกล่าวเพราะขัดรัฐธรรมนูญ อีกทั้งคำถามการทำประชามติยังไม่มีความชัดเจน เพราะเป็นการถามเรื่องการตั้ง ส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่ได้ปรากฏในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญ อาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ ทำให้ประชาชนไม่เข้าใจในเนื้อหา และข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ขณะที่การจัดทำประชามติดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดทำประชามติถึง 3 ครั้ง ครั้งละ 5,000 ล้านบาท รวม 15,000 ล้านบาท แม้จะให้เลือกตั้งวันเดียวกับการเลือกตั้ง ส.ส. แต่ก็ต้องแยกหน่วยเลือกตั้งออกมาจากการเลือกตั้ง ส.ส. และมีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยโดยเฉพาะ

จากนั้นที่ประชุมเปิดโอกาสให้ ส.ว. อภิปรายแสดงความเห็นกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งปรากฏว่า ส.ว. ได้แสดงความเห็นออกเป็น 2 ฝ่าย

ฝ่ายที่สนับสนุนรายงานของ กมธ.ที่ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติเพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และฝ่ายที่เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ ครม. เพื่อให้มีการจัดทำประชามติ

ฝ่ายที่ไม่สนับสนุนการทำประชามติให้เหตุผลว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราแทนการยกร่างใหม่ทั้งฉบับ เพราะการทำประชามติอาจเป็นต้นตอสร้างความขัดแย้งในหมู่ประชาชนตามมาได้ การเสนอทำประชามติครั้งนี้ นักการเมืองต้องการใช้เป็นเครื่องมือหาเสียงให้แก่ตัวเอง

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ ส.ว. อภิปรายว่า เป็นห่วงการทำประชามติจะทำให้เกิดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนรอบใหม่ การอ้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันเป็นฉบับเผด็จการ ไม่เป็นประชาธิปไตย เอาอะไรมาวัด มองว่าเหตุผลที่ต้องการล้มรัฐธรรมนูญปี 2560 เพราะเป็นฉบับปราบโกง ถ้าทุจริตแล้วถูกจับได้จะถูกตัดสิทธิ์การเมืองตลอดชีวิต จึงต้องการแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ เพื่อนิรโทษกรรม ปลดโทษทุจริตให้โกงหนักกว่าเดิม

ทั้งนี้ในส่วนฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ อาทิ นายคำนูณ สิทธิสมาน และ นายเสรี สุวรรณภานนท์ มองว่า อำนาจการทำประชามติไม่ใช่ ส.ว. เป็นผู้ชี้ขาด ควรส่งเรื่องให้ ครม. เป็นผู้ตัดสินใจ หาก ส.ว. ขัดขวางการทำประชามติ จะยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ ส.ว. ถูกมองในแง่ลบมากขึ้น โดนฝ่ายการเมืองหยิบไปเป็นเครื่องมือหาเสียงโจมตี ส.ว. สร้างคะแนนนิยมให้ตัวเอง โดยนายวันชัย สอนศิริ ส.ว. อภิปรายว่า ถ้า ส.ว. เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ ครม. พิจารณาการทำประชามติ จะมีผลดี 3 ข้อคือ 1. ส.ว. จะมีส่วนร่วมในการแก้รัฐธรรมนูญ ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ 2.ได้ภาพพจน์ที่ดีว่า ส.ว. มีความเป็นประชาธิปไตย 3.การเห็นด้วยกับการทำประชามติไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ ส.ว. เพราะเป็นอำนาจ ครม. ชี้ขาดการจัดทำประชามติ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การอภิปรายนานกว่า 3.30 ชั่วโมง ที่ประชุมวุฒิสภาลงมติไม่เห็นด้วยกับการส่งเรื่องให้ ครม. เพื่อพิจารณาการทำประชามติยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ด้วยคะแนน 157 ต่อ 12 งดออกเสียง 13 ไม่ลงคะแนน 1

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า