SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงแรงงานเสนอเพิ่มสิทธิประโยชน์ลาคลอดลูกจ้างรัฐวิสาหกิจจากเดิม 90 วัน เป็น 98 วัน สอดคล้องอนุสัญญา ILO ฉบับที่ 183 ได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเนื่องจากลาคลอดตามปกติ

นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอเรียบร้อยแล้ว คือ

1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..)

2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน

3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19)

สาระสำคัญของร่างประกาศ ครรส. มีทั้งร่างประกาศ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิง มีครรภ์สิทธิลาเพื่อคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้าง จาก 90 วัน เป็น 98 วัน ซึ่งสอดคล้องกับอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 183 ว่าด้วยการคุ้มครองมารดา ค.ศ. 2000

เป็นการเพิ่มบทนิยามคำว่า วันหยุด ให้หมายความรวมถึงวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี และร่างประกาศ ครรส. เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19) เป็นการปรับปรุงการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 ให้สอดคล้องกับที่กระทรวงสาธารณสุข

โดยหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อตรวจพิจารณาต่อไป ลูกจ้างภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกันตนจะได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร จาก 90 วัน เป็น 98 วันจากกองทุนประกันสังคมเช่นกัน

สาระสำคัญของร่างประกาศ

1. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ ..) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในเรื่องดังต่อไปนี้

ประกาศเดิม ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. วันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี
– “วันหยุด” หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หรือหยุดพักผ่อนประจำปี

– ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป

– “วันหยุด” หมายความว่า วันที่กำหนดให้ลูกจ้างหยุดประจำสัปดาห์ หยุดตามประเพณี หยุดพักผ่อนประจำปี หรือหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีที่นายจ้างกำหนด
– ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรี ตามความเหมาะสมและความจำเป็นของกิจการ
– ในกรณีที่วันหยุดตามประเพณีหรือวันหยุดพิเศษตามมติคณะรัฐมนตรีวันใดตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้าง ให้ลูกจ้างได้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
2. วันลาเพื่อคลอดบุตร
– ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 90 วัน – ลูกจ้างมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับค่าจ้างเท่าเวลาที่ลาตามอัตราที่ได้รับอยู่ แต่ไม่เกิน 98 วัน
3. เงินทดแทน
– ห้ามนายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ – ห้ามนายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใด ๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

2. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ และค่าทดแทนกรณีการตาย อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์การจ่ายค่าทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ในเรื่องดังต่อไปนี้

2.1 กำหนดเพิ่มเติมให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไปและถึงความตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานในปีที่จะเกษียณอายุ มีสิทธิได้รับค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน โดยค่าทดแทนดังกล่าวมีอัตราเดียวกันกับอัตราการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนความชอบในการทำงานซึ่งลูกจ้างจะได้รับเมื่อเกษียณอายุ

2.2 กำหนดให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนกรณีตายอันมิใช่เนื่องจากการทำงานตามข้อ 2.1 เพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(2) ลูกจ้างกระทำความผิดอาญาโดยเจตนา
(3) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่น
(4) ลูกจ้างฆ่าตัวตาย

3. ร่างประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19) มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ในเรื่องดังต่อไปนี้

ประกาศเดิม ร่างประกาศในเรื่องนี้
1. บทนิยาม
– “ผู้ป่วย” หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] – “ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต” หมายความว่า ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง ผู้ซึ่งป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน เฉพาะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
2. ค่าใช้จ่ายการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
– กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้างมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ หากแพทย์เห็นว่ามีความจำเป็นต้องตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้นสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ – ยกเลิก
3. ค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาล
– กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฯ – กรณีที่ลูกจ้าง หรือคู่สมรสหรือบุตรของลูกจ้าง เป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนด
– กรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่ไม่เป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายจากการรักษาพยาบาลสำหรับตนเอง หรือคู่สมรส หรือบุตรของตนเอง ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กำหนด
4. บทเฉพาะกาลและวันที่มีผลใช้บังคับ
– กำหนดให้ร่างประกาศในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป
– กำหนดให้การเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2565 และการรักษาพยาบาลยังไม่สิ้นสุดลง ให้ได้รับสิทธิตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราค่ารักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด-19 ลงวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (ประกาศเดิม) ต่อไปจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า