SHARE

คัดลอกแล้ว

“ถ้าวันนั้นเขาได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ วันนี้ก็จะไม่มีเขาที่เป็นจำเลยของสังคม เกิดเหตุเศร้าสลดและนำมาสู่ อนาคตที่พังพินาศหมดเลย” นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเด็กและวัยรุ่น และ ผอ.ศูนย์คุณธรรม 

หลังจากหญิงสาวอายุ 17 ปี แม่ของเด็กชายวัย 8 เดือน ยอมสารภาพ ว่าทำลูกพลัดตกจนแน่นิ่งไปและนำไปทิ้งคลอง ไม่ใช่ถูกอุ้มหายจากบ้าน จ.นครปฐม ตามที่แจ้งความและเป็นข่าวก่อนหน้านี้ เธอได้ให้สัมภาษณ์ถึงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่ ก่อนออกมามีครอบครัวเป็นของตัวเอง

โดยมูลนิธิกระจกเงา ได้เปิดเผยบทสัมภาษณ์ ‘แม่เด็ก’ ให้สังคมเห็นเส้นทางการมีชีวิตก่อนจะนำมาสู่ผู้กระทำความผิด โดยระบุว่า “ไม่เคยมีบ้าน ไม่เคยมีความฝัน ไม่เคยกอดแม่ ไม่เคยแสดงความรัก ในบ้านมีพ่อชอบเมาแล้วทะเลาะกับแม่ รู้สึกว่าบ้านไม่มีความสุข เมื่ออยู่ที่โรงเรียนก็ถูกบูลลี่ ทั้งคำพูด และการกระทำ เหมือนไม่มีตัวตน ความสุขคือการออกมานอกบ้าน ตอนนี้รู้สึกไม่เหลือใคร”

สำนักข่าว TODAY ได้พูดคุยกับ นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเด็กและวัยรุ่น และ ผอ.ศูนย์คุณธรรม ถึงเรื่องราวนี้ โดยเจาะลึกไปที่โครงสร้างสังคมที่ทำให้เกิดปัญหาครอบครัว

  • ระบบป่วย สังคมมีปัญหา หน่วยงานเข้าไม่ถึง

นพ.สุริยเดว กล่าวว่า เด็กทุกคนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยต้องได้รับการพัฒนาได้รับการปกป้องคุ้มครองเวลาที่อยู่ในครอบครัว อยู่ในรั้วโรงเรียน สร้างการมีส่วนร่วม ซึ่งตรงทั้งทางรัฐธรรมนูญและตรงทั้งเรื่องอนุสัญญาว่าด้วยเรื่องสิทธิเด็ก

ประเด็นคือจะเห็นระบบสังคมที่ป่วย ครอบครัวที่มีปัญหา แต่หน่วยงานที่ต้องดูแลก็เข้าไปไม่ถึง และประชาชนก็ไม่มีความรู้ว่าหากเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในครอบครัวจะต้องแจ้งไปที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300 

ส่วนเคสเด็กคนนี้ แม่วัย 17 ปี ตอนที่เข้าสู่รั้วโรงเรียน สิ่งที่เรียนในโรงเรียนมันห่างไกลจากชีวิต ทำให้เด็กรู้สึกว่าไม่เท่าทัน และเติบโตมาบนสิ่งที่สภาวะจิตใจง่อนแง่น จึงไม่มีที่พึ่ง ทั้งครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน ซึ่งทั้งสามส่วนนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้หล่อหลอมเด็กคนนี้ขึ้นมา 

  • ต้องแก้ไขทุกระบบ ครอบครัว สังคม ระบบการศึกษา

นพ.สุริยเดว ยังบอกอีกว่าถ้าจะแก้ต้องแก้ระบบทั้งหมด คือ

1.ระบบครอบครัวและชุมชน ทำไมตนถึงได้เสนอให้ทำระบบพี่เลี้ยงในชุมชน นี่คือการแก้ปัญหาระบบครอบครัวและชุมชนที่อยู่ฐานราก

2.ระบบการศึกษา ที่สอนอะไรกันเยอะแยะ ทำไมไม่มีเรื่องของการประกอบวิชาชีพทักษะชีวิต รวมไปถึงวิชาที่ให้สามารถอยู่รอดปลอดภัย

ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องตั้งครรภ์ไม่พร้อม ก่อนหน้านี้ก็มีประเด็นเด็กถูกล่อลวงทางเกมออนไลน์ เรื่องการบูลลี่กันจนเด็กฆ่าตัวตาย

  • ทำระบบการศึกษาให้สมเป็น ‘บ้านหลังที่ 2’

ในระบบการศึกษาต้องสังคายนาให้สมกับเป็น ‘บ้านหลังที่สอง’ ซึ่งบ้านหลังที่สองนี้ก็ต้องเพิ่มทักษะให้พ่อแม่ และชุมชนด้วย

โดยการให้โรงเรียนเปิดพื้นที่ ดึงพ่อแม่เข้ามา โดยใช้ประเด็นปัญหาสังคมเป็นตัวตั้ง แล้วลองชวนกันคิด ชวนกันคุยเหมือนสภากาแฟ อาจจะเชิญคุณหมอ มาให้ความรู้ เชิญเจ้าหน้าที่อัยการ มาเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องกฎหมาย โดยโรงเรียนเป็นคนเชื่อมประสาน 

นพ.สุริยเดว ยังตั้งคำถามว่า ก่อนหน้านี้ทำไมระบบแบบนี้ไม่เกิดขึ้น ถ้ามีคนในชุมชนก็อาจจะช่วยกันดูว่าเด็กคนนี้ถูกพ่อแม่ละทิ้ง ซึ่งกรณีนี้ถ้าตอนก่อนหน้านี้เด็กวัย 17 ปีคนนี้ มีที่พึ่งเป็นระบบพี่เลี้ยง มีที่ปรึกษาเป็นพี่ป้าน้าอาในชุมชน

ทำไมพวกนี้ไม่ถูกออกแบบขึ้นมาในระบบการพัฒนาสังคมของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เลยและก็ต้องประสานไปยังกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงมหาดไทยด้วย

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ คือรากฐานของการพัฒนาตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชนและโรงเรียน ให้มีความเข้มแข็ง และสร้างคุณภาพพลเมืองขึ้นมา แต่กลับถูกละเลยหมดเลย

  • บ้าน ชุมชน โรงเรียน คือกลไกหลักหล่อหลอมคนให้มีคุณภาพ

นพ.สุริยเดว ย้ำว่า กลไก ของบ้าน ชุมชน และโรงเรียน คือกลไกหลักที่สำคัญมาก หล่อหลอมชีวิตคนโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ 

“ถ้าวันนั้นเขาเป็นคนที่มีคุณภาพ วันนี้ก็จะไม่มีเขาที่เป็นจำเลยของสังคม เกิดเหตุเศร้าสลดและนำมาสู่ อนาคตที่พังพินาศหมดเลย”

  • สะท้อนปมเด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา-ท้องไม่พร้อม’

ด้าน นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ ที่ปรึกษากรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เรื่องนี้ถือเป็นอุทาหรณ์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การท้องไม่พร้อม ทั้งฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญ และเป็นปัญหาทั้งระบบที่ สธ. และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ต้องร่วมดูแล

นพ.ยงยุทธ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวพบว่า เด็กหลุดออกนอกระบบการศึกษา ซึ่งปกติจะมีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 และกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ ดังนั้น หากเด็กยังอยู่ในระบบการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะต้องเข้าไปดูแล ให้คำปรึกษาตั้งแต่ที่รู้ตัวว่าตั้งครรภ์ การฝากครรภ์ และการดูแลหลังคลอดด้วย ยังไม่นับรวมถึงปัญหาครอบครัวที่อาจจะมีอยู่เดิม หรือปัญหาที่กำลังจะตามมาอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าว เป็นไปได้ที่อาจไม่รู้ว่ามีสวัสดิการช่วยเหลือกรณีท้องไม่พร้อมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย หรือหากประสงค์จะตั้งครรภ์ต่อ ก็จะมีระบบดูแลต่อ มีหน่วยงานเข้าไปดูแล รวมถึงมีเงินสวัสดิการสำหรับเด็กแรกคลอดเดือนละ 600 บาท เป็นเงินเบื้องต้นเท่านั้น นอกจากนี้ จะมีการอบรมอาชีพเพื่อให้ดูแลตัวเองได้ระยะยาว ซึ่งเป็นบทบาทของ สธ.ร่วมกับ พม. ดังนั้น สิ่งสำคัญคือ ความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการดูแลปัญหาการท้องไม่พร้อม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า