SHARE

คัดลอกแล้ว
สถิติคนไทยฆ่าตัวตายสูงขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากความสัมพันธ์คนใกล้ชิด และปัญหาเศรษฐกิจในยุคโควิด-19
วันที่ 10 ก.ย. 2569 ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมหน่วยงานต่างๆ แถลงข่าวในวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก ปี 2564
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์การฆ่าตัวตายมาอย่างต่อเนื่อง พบอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงขึ้นตั้งแต่ปี 2563 ตั้งแต่เผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 พบคนไทยมีสภาวะความเครียด และซึมเศร้าที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากสถานการณ์โควิดค่อนข้างต่อเนื่องยาวนาน คนจึงเริ่มเกิดภาวะเหนื่อยล้าทางอารมณ์จนทำให้หมดพลัง คาดว่าปี 2564 จะมีอัตราการฆ่าตัวตายที่สูงกว่าปีที่แล้ว
ส่วนปัจจัยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย คือ ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่เกิดความขัดแย้ง ซึ่งอาจจะเป็นตัวกระตุ้นการใช้ชีวิตที่ตึงเครียดด้วยเช่นเดียวกัน และปัจจัยด้านเศรษฐกิจเริ่มมีปัญหาเพิ่มสูงขึ้น เช่น กลุ่มที่มีปัญหาเรื่องรายได้ กลุ่มอาชีพฟรีแลนซ์ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยง และมีความเปราะบางมากขึ้นในสถานการณ์โควิด-19
นพ.ณัฐกร จำปาทอง หัวหน้าศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติ กล่าวว่า ศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายระดับชาติได้มีการติดตามอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมาโดยตลอด และได้ทำการพัฒนาฐานข้อมูลการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายให้มีความใกล้เคียงอัตราที่แท้จริงมากที่สุด ซึ่งฐานข้อมูลเดิมที่ประเทศไทยใช้มาตลอดคือ ฐานข้อมูลของมรณบัตร ซึ่งเป็นข้อมูลทางการและเป็นข้อเท็จจริงแต่จากการวิจัยอย่างต่อเนื่องพบว่าอัตราที่ปรากฏในมรณบัตรอาจน้อยกว่าอัตราการเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้น กรมสุขภาพจิตจึงได้ปรับการใช้ฐานข้อมูลใหม่เป็นระบบ 3 ฐาน ซึ่งเป็นการใช้ฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยประสานร่วมกับฐานข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและฐานข้อมูลศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบฐานข้อมูลทั้งสองระบบในปี 2561 2562 และ 2563 จะพบว่า ในระบบฐานเดี่ยว (เดิม) มีอัตราเท่ากับ 6.32 6.73 และ 7.37 ต่อแสนประชากรต่อปี ตามลำดับ และในระบบ 3 ฐาน (ใหม่) มีอัตราเท่ากับ 8.81 8.95 และ 10.08 ต่อแสนประชากรต่อปี ตามลำดับ การปรับใช้ฐานข้อมูลที่มีคุณภาพสูงขึ้นจะช่วยให้ประชาชนรับทราบอัตราการฆ่าตัวตายที่ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด และช่วยสร้างความตระหนักมากขึ้นว่าปัญหานี้เป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน
ทั้งนี้ ศ.นพ.ชวนันท์ ชาญศิลป์ นายกสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ความคิดเรื่องการฆ่าตัวตายเป็นปัญหาที่ใหญ่มาก และสถิติทั่วโลกย้อนหลังมีจำนวนที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งบ่งบอกถึงเราทุกคนต้องร่วมกันทำเรื่องนี้ให้มากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยนั้นมีกำแพง
ที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันการฆ่าตัวตาย คือ มุมมองด้านลบถึงคนที่มีปัญหาสุขภาพจิตและคนที่กำลังมีความคิดฆ่าตัวตาย เช่น การมองว่าเป็นคนอ่อนแอ ไม่สู้ชีวิต ทำให้คนที่กำลังมีความคิดอยู่ไม่กล้าเข้าสู่ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ถ้าสังคมไทยสามารถปรับมุมมองตรงนี้ได้ จะทำให้เราสามารถช่วยเหลือคนที่กำลังมีปัญหาได้มากขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า