SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ศิริราชฯ เผยฝุ่น PM2.5 ส่งผลกระทบเด็กตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยเด็กเล็ก และผู้ป่วยโรคปอด-หัวใจ-ไต-สมองเรื้อรัง ล่าสุดเช้านี้ กทม. อากาศแย่ ฝุ่นพิษเกินค่ามาตรฐาน 70 พื้นที่ และ 17 จังหวัดภาคเหนืออากาศวิกฤต

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กวันที่ 9 มี.ค. 2566 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่ หลังวันที่ 9 มี.ค. 2566 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่

พื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและล่างระหว่างวันที่ 9-14 มี.ค. 2566 ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2566 ณ 07:00 น สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จังหวัดปทุมธานี, กรุงเทพฯ, นนทบุรี, นครปฐม, สมุทรสาคร, สมุทรปราการ, เชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, ตาก, พิษณุโลก, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์, นครสวรรค์, อุทัยธานี, สิงห์บุรี, ลพบุรี, สระบุรี, อ่างทอง, สุพรรณบุรี, พระนครศรีอยุธยา, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์, ปราจีนบุรี, สระแก้ว, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด, บึงกาฬ, หนองคาย, เลย, อุดรธานี, นครพนม, หนองบัวลำภู, สกลนคร, ขอนแก่น, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด, ชัยภูมิ, อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครราชสีมา และจังหวัดบุรีรัมย์

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 65 – 137 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 48 – 170 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 50 – 98 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 59 – 86 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 17 – 33 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 55 – 131 มคก./ลบ.ม.

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

[ฝุ่น PM 2.5 กระทบพัฒนาการสมองเด็ก]

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความเกี่ยวกับผลกระทบฝุ่น PM2.5 ระบุข้อความว่า หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชน หรือใช้เครื่องวัดปริมาณฝุ่นแบบพกพา เพื่อวางแผนกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสม เมื่อค่า PM2.5 ในขณะนั้น (ค่ารายชั่วโมง) ขึ้นสูงเกินเกณฑ์ คือ

1. สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร กลุ่มเสี่ยง (เด็ก คนท้อง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคปอด-หัวใจ-ไต-สมองเรื้อรัง) งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนทั่วไปลดและปรับเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา

2. สูงกว่า 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนต้องงดทำกิจกรรมกลางแจ้ง ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา

3. สูงกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกคนควรอยู่ในตัวอาคารซึ่งติดตั้งระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ยกเว้นคนที่ต้องทำหน้าที่บริการสาธารณะ ให้ใส่หน้ากาก N95 ตลอดเวลา และจำกัดช่วงเวลาปฏิบัติงานไม่ให้เกินครั้งละ 60 นาที

ขณะที่ปริมาณฝุ่นภายนอกขึ้นสูง ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ปริมาณฝุ่นขึ้นสูง การออกกำลังกายสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายเกิดพิษภัยได้น้อยลง หลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการออกกำลังกายกลางแจ้งตามระดับเตือนภัยในข้อ

การออกกำลังกายในร่มควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดลอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น การกินผักและผลไม้ให้เพียงพอ จะช่วยเสริมการทำงานของระบบแอนติออกซิแดนท์ ซึ่งช่วยลดการทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อจากพิษของฝุ่นได้

การอยู่ในบริเวณที่มีพืชใบเขียว จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น ถึงตรงนี้คงต้องท่องคาถา ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน จะไปหวังข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำที่ใส่เกียร์ว่างรอเลือกตั้ง คงสะบักสะบอมหนักกันไปเสียก่อน ดูคล้ายนักเตะทีมปิศาจแดงที่ถูกกล่าวหาว่าใส่เกียร์ว่างจนโดนคู่ปรับตลอดกาลถล่มยับ แต่ถ้ามองอย่างใจเป็นธรรม พวกเขาคงเหนื่อยล้าต่อเนื่องและต้องแบกรับความคาดหวังสูง ไม่เหมือนนักการเมืองไทยที่ระริกระรี้ทันทีเมื่อเสียงปี่กลองเลือกตั้งเริ่มดังขึ้น

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ระบุว่า วิงวอนผู้มีอำนาจในมือทั้งหลาย โปรดลงมือทำอะไรเพื่อพวกเราบ้าง กรุณาปกป้องเยาวชนและกลุ่มคนเปราะบางของชาติ เช้าวันนี้อากาศรอบบ้านริมน้ำขมุกขมัวมาก สถานีวัดค่าฝุ่นที่อยู่ใกล้ในรูป PM 2.5 วัดได้ 114 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้เครื่องวัดแบบพกพาวัดในพื้นที่ต่างๆ ณ บ้านริมน้ำ ค่าอยู่ระหว่าง 104-122 สูงสุดตรงจุดติดถนนกลางบ้าน หน้ากากอย่าลืมใส่กันทั้งวันเลย สงสารเด็กนักเรียนข้างบ้านริมน้ำ วันนี้เขาควรเรียนออนไลน์ที่บ้าน ใจสลายเมื่อเห็นนักเรียนคลุกฝุ่น ไม่ต่างแฟนปิศาจแดงที่ถูกเย้ยหยันจนฝุ่นฟุ้ง

หลัง call out ให้พวกมีอำนาจหันมาสนใจ ทั้งที่รู้ว่าเขาสนใจเรื่องอื่นกันมากกว่า ได้ทบทวนข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติม พบบทความเรื่องผลของ PM2.5 ต่อทารกในครรภ์จนถึงวัยเด็กเล็ก ยิ่งตอกย้ำความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว ดีกว่าการย้ำกรอกหูประชาชนให้ “ดูแลตนเอง” https://www.atsjournals.org/…/10.1164/rccm.202204-0740OC

จากการติดตามเด็กอนุบาลจำนวน 115,023 คน จาก 551 เมืองในประเทศจีน พบว่าการสัมผัสฝุ่น PM2.5 ที่สูงตั้งแต่ในครรภ์จนถึงวัยเด็กเล็ก สัมพันธ์กับการมีคุณภาพการนอนในวัยเด็กที่แย่ลง โดยเฉพาะถ้าสัมผัสกับฝุ่นที่สูงในช่วงอายุ 0-3 ปีจะเกิดมากกว่าถ้าสัมผัสในช่วงที่ยังไม่คลอดออกมา ความผิดปกติที่เกิดขึ้นทำให้เด็กมีปัญหาการหายใจผิดปกติระหว่างการนอน และภาวะง่วงนอนมากตอนกลางวัน เด็กที่แรกคลอดไม่แข็งแรงต้องเข้าไอซียูจะพบความผิดปกติได้มากขึ้น ที่น่าแปลกใจคือเด็กที่กินนมแม่จนถึง 6 เดือน ก็พบความผิดปกติมากขึ้นด้วย (คิดเอาเองว่าอาจได้รับ PM2.5 เพิ่มทางน้ำนมแม่)

ในฐานะหมอโรคปอดและหมอโรคจากการนอนหลับ สุขภาวะการนอนของเด็กที่ถูกรบกวนโดยเฉพาะการหายใจผิดปกติระหว่างการนอน อาจทำให้พัฒนาการทางสมองถูกกระทบกระเทือนตามไปด้วย ว่าแต่จะมีใคร “รู้หน้าที่” ทำเพื่ออนาคตเยาวชนของชาติเราบ้าง

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02TL62TcGZD8ffUB2UULzPNH2zUecn7Z7wiuAvDWn7nEjnZRF69MtazHWGXhaPoxqGl&id=100002870789106

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า เตือนรับมือ “ฝนฟ้าคะนอง” และ “ลมกระโชก” จากอิทธิพลมวลอากาศเย็นปะทะอากาศร้อน ช่วง 12-13 มี.ค.นี้

ช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 บริเวณความกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกบางในตอนเช้ากับอากาศร้อนในตอนกลางวัน แต่ยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้าบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 บริเวณกดอากาศสูง หรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ประกอบกับมีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ โดยคาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 8 – 13 มีนาคม พ.ศ. 2566 ดังนี้

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 17 – 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 – 15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 16 – 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 38 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 – 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร พยากรณ์อากาศ “กรมอุตุฯ”เตือนรับมือฝนฟ้าคะนอง พร้อมเปิดพื้นที่เสี่ยง

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2 เมตร ตั้งแต่ จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป

ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 – 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 – 36 องศาเซลเซียส

กรุงเทพและปริมณฑล ในช่วงวันที่ 8 – 11 มี.ค. 66 มีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฟ้าหลัวกับมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 12 – 13 มี.ค. 66 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 – 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 25 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 – 37 องศาเซลเซียส

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า