Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยยังเผชิญวิกฤติฝุ่น PM 2.5 กทม. เกินค่ามาตรฐาน 70 พื้นที่ ปลัด กทม. ขอความร่วมมือ Work from Home พร้อมสั่งคุมเข้มรถควันดำ แนะประชาชนได้รับผลกระทบปรึกษาปัญหาได้ที่คลินิกมลพิษทางอากาศ 

นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร ได้ลงนามในหนังสือถึงหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กำชับให้ปฏิบัติตามมาตรการเพื่อควบคุมฝุ่นละอองอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน จึงให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มความเข้มงวดดำเนินมาตรการตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปี 2566 ดังนี้

  1. เข้มงวดตรวจวัด ตรวจจับรถยนต์ควันดำทุกประเภทร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามแผนที่กำหนด
  2. ประสานสถานีตำรวจท้องที่ อำนวยการจราจรและกวดขันห้ามจอดรถในถนนสายหลักสายรองตลอดเวลา
  3. ขอความร่วมมือทำงานหรือปฏิบัติงานในที่พัก (Work From Home) ใช้รถเท่าที่จำเป็น ไม่ขับ…ช่วยดับเครื่อง
  4. ประชาสัมพันธ์ประชาชน ให้บำรุงรักษาเครื่องยนต์และลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  5. ควบคุมสถานประกอบกิจการในพื้นที่ ไม่ให้ปล่อยมลพิษอากาศเกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
  6. ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ ทำ Big Cleaning บริเวณสถานที่ก่อสร้างและแพลนท์ปูน รวมถึงงดกิจกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองจากการก่อสร้างทุกประเภท
  7. เข้มงวดตรวจตราควบคุมไม่ให้มีการเผาขยะหรือการเผาในที่โล่งทุกประเภท
  8. ทุกสำนักงานเขตทำ Big Cleaning บริเวณที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่เขต และเพิ่มความถี่ในการล้างและดูดฝุ่นถนน ฉีดล้างต้นไม้ ใบไม้ และทำความสะอาดป้ายรถเมล์อย่างต่อเนื่อง
  9. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ พร้อมแนะนำวิธีป้องกันสุขภาพอนามัยจากฝุ่นละออง PM 2.5 ให้กับประชาชนและแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 ผ่านช่องทางแอปพลิเคชันและเว็บไซต์ AIRBKK หากประชาชนเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษ สามารถแจ้งเบาะแสผ่านทางแอปพลิเคชัน Traffy Fondue
  10. ออกหน่วยบริการสาธารณสุขและหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกมลพิษทางอากาศดูแลสุขภาพประชาชน
  11. ดำเนินการตามมาตรการลดฝุ่นละออง PM 2.5 ในโรงเรียนอย่างเคร่งครัด และลดผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียนในโรงเรียน

สำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่จะมีอาการไอ แน่นหน้าอก วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ผื่นแดง หอบหืดเฉียบพลัน หรือหลายอาการร่วมกัน ซึ่งต้องได้รับคำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ สามารถเข้ารับการปรึกษาได้ที่คลินิกมลพิษทางอากาศ โดยทางคลินิกฯ จะคัดกรองอาการ ให้คำแนะนำและให้การรักษา รวมถึงการซักประวัติเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและให้ข้อแนะนำในการปรับพฤติกรรมต่างๆ ให้เหมาะสม หากมีอาการรุนแรงสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาที่โรงพยาบาลได้ทันที

คลินิกมลพิษทางอากาศ โรงพยาบาลสังกัด กทม. 6 แห่ง เปิดให้บริการในเวลา 8.00-15.00 น. หรือขอรับคำปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646 ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง

  1. โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ
  2. โรงพยาบาลกลาง
  3. โรงพยาบาลตากสิน
  4. โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  5. โรงพยาบาลสิรินธร
  6. โรงพยาบาลราชพิพัฒน์

ฝุ่น PM2.5 ปกคลุม กทม. 70 พื้นที่

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 9 มี.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 56-99 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 69.1 มคก./ลบ.ม. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานทุกพื้นที่ โดยอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ และอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ 56-96 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 70 พื้นที่

เตือนพายุฤดูร้อน 12-16 มี.ค. 2566

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน ฉบับ 1 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย มีผลกระทบในช่วงวันที่ 12 – 14 มี.ค. 2566 เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้

ขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ประกอบกับคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจะเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มี “พายุฤดูร้อน” เกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ รวมถึงมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้

ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายดังกล่าวที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า