Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เปิดแผนปฏิบัติการวาระแห่งชาติ นายกฯ ย้ำทุกหน่วยงานเข้มข้นแก้ PM 2.5 ตามแผนการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง เร่งบรรเทาผลกระทบประชาชน แจง 5 แผนกระทรวงพลังงานมุ่งสู่พลังงานสะอาด

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั่วทั้งประเทศ โดยเน้นย้ำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง

  • แนวทางปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ภายใต้ 3 มาตรการสำคัญ คือ
  1. การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
  2. การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด)
  3. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองตามบทบาทของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลเป็นรูปธรรมตามแผนที่วางไว้ เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบและความเดือดร้อนให้กับประชาชน
  • เฝ้าระวังฝุ่นข้ามพื้นที่

ข้อมูลล่าสุดของศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ ได้รายงานผลการคาดการณ์สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 10-16 มี.ค. 66 ระบุว่า วันที่ 10 มี.ค. 66 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลอาจมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูงได้ในบางพื้นที่

หลังวันที่ 11 มี.ค. 66 เป็นต้นไป สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากลมทางใต้ช่วยพัดพาฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ แต่ช่วงระหว่างวันที่ 14-16 มี.ค. 66 ยังเป็นช่วงที่ควรเฝ้าระวังของพื้นที่ เนื่องจากมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากฝุ่นละอองข้ามพื้นที่ได้ โดยพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือมีแนวโน้มฝุ่นละอองขึ้นสูง ในพื้นที่ภาคเหนือทั้งตอนบนและล่างระหว่างวันที่ 10-14 มี.ค. 66 เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน สถานการณ์ฝุ่นจะค่อย ๆ ลดลง คาดว่าจะยังมีปัญหาอยู่อีก 1-2 สัปดาห์

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพิ่มความเข้มข้นในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ในทุก ๆ มาตรการ

เน้นแจ้งเตือนแนะนำข้อปฏิบัติตนแก่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากอนามัย กำหนดสถานที่พักชั่วคราว หรือ Safety Zone ระบบแจ้งเตือนสถานการณ์และบริการสาธารณสุข เข้มงวดตรวจจับรถควันดำ เร่งระบายการจราจรไม่ให้ติดขัด ส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ ตรวจสภาพ บำรุงรักษายานพาหนะขนส่งสาธารณะ ทำความสะอาดพื้นผิวถนน รวมทั้งควบคุมการเผาในที่โล่ง พื้นที่เกษตรอย่างเคร่งครัด ตรวจสอบและควบคุมการปล่อยมลพิษจากโรงงาน ป้องกันและลดปริมาณฝุ่นละอองจากการก่อสร้าง

นอกจากนี้ยังย้ำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศ ขยายเครือข่ายแจ้งเตือน สร้างการรับรู้ถึงข้อมูลและสถานการณ์ที่ถูกต้องแก่ประชาชน จัดระเบียบการเผาตามลักษณะพื้นที่ แบ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมให้สอดคล้องตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมความตระหนัก และปรับพฤติกรรมประชาชนในการลดการเผาในที่โล่ง พื้นที่การเกษตร และการเผาขยะในชุมชนหรือเมือง อย่างไรก็ตาม แหล่งกำเนิดฝุ่นละอองมาจากพวกเราทุกคน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

นายอนุชา ยืนยันว่า รัฐบาลยังเร่งขับเคลื่อนนโยบายสำคัญที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 อีกทางหนึ่งอย่างยั่งยืน ได้แก่

  • การขับเคลื่อนนโยบายพลังงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยในการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 บรรลุการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero greenhouse gas emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 อาทิ BCG economic โมเดล ที่ประยุกต์ใช้ในภาคพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียน เช่น Biomass / Biogas ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ที่ช่วยลดการเผาไหม้แบบ open burn ลด 5 โดยตรง
  • สร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านพลังงานหมุนเวียนชนิดต่าง ๆ อาทิ แสงแดด ลม และ Hydrofloating Solar จะส่งผลต่อการลดการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ที่ส่งผลต่อการลดลงของ 5
  • ส่งเสริมสนับสนุนการใช้รถไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศให้มีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นให้เป็นไปตามแผน 30@30 ตามนโยบายรัฐบาล อาทิ ปัจจุบันมีการเปลี่ยน EV ในองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการลงทุน EV ที่เติบโตมากเพิ่มขึ้นในประเทศไทย เป็นต้น

กระทรวงพลังงานได้เร่งขับเคลื่อนแผนพลังงานชาติ ที่มุ่งสู่พลังงานสะอาด คาดว่าจะประกาศใช้ภายในปี 2566 นี้ ประกอบด้วย 5 แผนคือ

  • แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP)
  • แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP)
  • แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP)
  • แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan)
  • แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan)

ประชาชนที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ทั้งผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคทางปอด หัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน รวมถึงเด็กเล็ก และหญิงตั้งครรภ์ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น หากมีอาการทางสุขภาพควรปรึกษาแพทย์

สามารถติดตามสถานการณ์ผ่านทางเว็บไซต์ Air4Thai.com และ airbkk.com แอปพลิเคชัน Air4Thai และ AirBKK เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ได้ตลอดเวลาเพื่อสามารถปฏิบัติตัวในการป้องกันตนเองได้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างปลอดภัย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า