SHARE

คัดลอกแล้ว

เชียงใหม่ติดอันดับ 1 เมืองที่คุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลกต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ค่าฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานและกระทบต่อสุขภาพ ขณะที่จุดความร้อน GISTDA รายงานพบ 4,376 จุด

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ 07:00 น สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน จังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, สุโขทัย, พิษณุโลก, ตาก, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์, อุทัยธานี, บึงกาฬ, หนองคาย, เลย, อุดรธานี, นครพนม, หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ และจังหวัดอุบลราชธานี

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 37 – 537 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 8 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 31 – 218 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 16 – 37 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9 – 20 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 12 – 23 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 13 – 39 มคก./ลบ.ม.

ประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น, ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ : ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

แอปพลิเคชันเช็กฝุ่นรายงานว่าพื้นที่หลายจังหวัดในประเทศอยู่ในเกณฑ์เกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ (สีแดง) โดยเฉพาะ 3 จังหวัดที่มีค่า PM 2.5 สูงสุดคือ จังหวัดเชียงราย น่าน และพะเยา ควรสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจที่จะตามมา ในขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลวันนี้ พบค่าคุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและระดับที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

อากาศร้อน ฝุ่น PM 2.5 ยังต้องระวัง

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) เมื่อวันที่ 26 มี.ค.ที่ผ่านมา พบว่า ภาพรวมใน 17 จังหวัดภาคเหนือ พบจุดความร้อนทั้งสิ้น 4,115 จุด

จังหวัดน่าน พบจุดความร้อนมากที่สุด 638 จุด รองลงมา จังหวัดแม่ฮ่องสอน 558 จุด, จังหวัดอุตรดิตถ์ 430 จุด, จังหวัดแพร่ 357 จุด และ จังหวัดเชียงราย 338 จุด ตามลำดับ

จุดความร้อนไทยสูงสุดถึง 4.3 พันจุด

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) วันที่ 25 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อนสูงขึ้นกว่าเดิมมากถึง 4,376 จุด ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าขึ้นแซงสูงสุดถึง 12,581 จุด ตามด้วย สปป.ลาว 8,535 จุด กัมพูชา 744 จุด เวียดนาม 720 จุด และมาเลเซีย 31 จุด

จุดความร้อนในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,103 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,502 จุด , พื้นที่เกษตร 364 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 196 จุด , พื้นที่เขต สปก. 193 จุด, และพื้นที่ริมทางหลวง 18 จุด ในส่วนของจังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือ แม่ฮ่องสอน 609 จุด น่าน 439 จุด และกาญจนบุรี 322 จุด

สิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังที่มักจะมากับเหตุการณ์ไฟป่าและจุดความร้อนคือ PM 2.5 สถานการณ์การจุดความร้อนจากประเทศเพื่อนบ้านอาจส่งผลให้เกิด PM 2.5 ได้ในพื้นที่บริเวณชายแดนเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากกระแสลมที่จะพัดผ่านเข้ามา ปัญหาไฟป่าหมอกควัน ส่งผลกระทบให้กับระบบต่างๆ ของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ ระบบสังคม ดังนั้น ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยกำลังจะได้ใช้ระบบ THEOS-2 อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่ง 1 ในภารกิจสำคัญของระบบนี้ คือการสำรวจ วิเคราะห์ และติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นหรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ได้อย่างทันท่วงทีและแม่นยำ เพื่อการสนับสนุนข้อมูลสำคัญให้กับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำข้อมูลไปใช้วางแผน ป้องกัน บรรเทา และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า