Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขเผยตัวเลขผู้ได้รับผลกระทบจากฝุ่น PM2.5 พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจพุ่ง 1.7 ล้านคน รอบสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 228,870 ราย

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงสถานการณ์หมอกควันไฟป่าทำให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เกินค่ามาตรฐานในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายพื้นที่  จากข้อมูลเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึง 19 มี.ค. 2566 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ รวม 1,730,976 ราย สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 228,870 ราย

กลุ่มโรคที่พบสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ และกลุ่มโรคตาอักเสบ

ปลัดกระทรวงสาธารณสุขขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองเป็นพิเศษ โดยลดระยะเวลาหรืองดการออกนอกอาคารโดยไม่จำเป็น หากออกนอกบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันฝุ่น, งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคทางเดินหายใจ และโรคหัวใจ อยู่ในบ้าน ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด หากทำห้องปลอดฝุ่นได้ ให้อยู่ในห้องปลอดฝุ่น, สังเกตอาการเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการรุนแรง เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ให้รีบไปพบแพทย์

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศประจำวันที่ 29 มีนาคม 2566 ณ 07:00 น สรุปดังนี้

ภาพรวมปริมาณ PM2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานในจังหวัดเชียงราย, เชียงใหม่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, พะเยา, ลำพูน, ลำปาง, แพร่, อุตรดิตถ์, ตาก, บึงกาฬ, เลย, อุบลราชธานี และจังหวัดศรีสะเกษ

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 30 – 339 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 24 – 65 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9 – 31 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 7 – 27 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 12 – 20 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 7 – 36 มคก./ลบ.ม.

ภาพรวมสถานการณ์ PM2.5 ภาคเหนือ เชียงราย เชียงใหม่ เกินค่ามาตรฐาน ภาคอีสาน เกินอยู่ 4 พื้นที่ ส่วนภาคกลาง ตะวันตก ตะวันออก และใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก เช่นเดียวกับ กทม. ที่ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก

● วันนี้จะเกิดพายุฤดูร้อน ฝนตกร้อยละ 30 ของพื้นที่

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศระบุว่า ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง

ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และมีลูกเห็บตกบางแห่ง จึงขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง

สำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันนี้ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. – 06.00 น. วันพรุ่งนี้ (30 มีนาคม) อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส

ฝุ่นละอองในระยะนี้ ภาคเหนือมีฝุ่นละออง หมอกควันสะสมมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคอื่นๆ มีการสะสมลดลงเนื่องจากมีฝนตก

GISTDA เผยข้อมูลจากดาวเทียมซูโอมิ เอ็นพีพี (Suomi NPP) ของวันที่ 28 มีนาคม 2566 ไทยพบจุดความร้อน 4,433 จุด ส่วนใหญ่พบในพื้นป่าอนุรักษ์ 2,361 จุด, พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 1,544 จุด, พื้นที่เกษตร 222 จุด, พื้นที่ชุมชนอื่นๆ 180 จุด , พื้นที่เขต สปก. 121 จุด, และพื้นที่ริมทางหลวง 5 จุด

จังหวัดที่พบจุดความร้อนมากที่สุด 3 อันดับ คือแม่ฮ่องสอน 588 จุด น่าน 569 จุด และเชียงใหม่ 488 จุด

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า