Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย นำโดย ศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) มูลนิธินโยบายถนนปลอดภัย, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, ศาลยุติธรรม, กรมคุมประพฤติ, มูลนิธิเมาไม่ขับ, เครือข่ายเมาไม่ขับ และภาคีเครือข่ายด้านการรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุเมาแล้วขับของไทย เดินหน้าแก้ไขปัญหา ‘การกระทำผิดซ้ำเมาแล้วขับ’ อย่างจริงจัง หลังพบสถิติผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากปัญหาเมาแล้วขับ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ราย จากช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ผ่านมา

สสส. ตั้งเป้าที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ให้เหลือ 12 คนต่อประชากร 1 แสนคน ภายในปี 2570 โดยจะเดินหน้าผลักดันนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวเป็นจริง

ด้านปัญหาการเมาแล้วขับยังคงเป็นสาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่กระทำผิดซ้ำ สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้จัดสัมมนา‘ครบรอบ 2 ปี การกระทำผิดซ้ำเมาแล้วขับ กับการบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทย’ ทำให้ได้ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ 3 ระยะ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนี้

ระยะสั้น: ภายใน 6 เดือน พัฒนาระบบตรวจสอบประวัติผู้กระทำผิดซ้ำออนไลน์ และประชาสัมพันธ์ผลการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่อง

ระยะกลาง: ภายใน 1 ปี ผลักดันด้านเทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพิ่มอุปกรณ์เทคโนโลยีในการตรวจวัดแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 15,000 เครื่อง และพัฒนาระบบตรวจสอบยืนยันตัวบุคคลผ่านลายนิ้วมือออนไลน์

ระยะยาว: มากกว่า 1 ปี ผลักดันให้เพิ่มโทษสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ และแก้ไขกฎหมายจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 ตรี ให้ใช้ปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายที่ตรวจวัดได้มาเป็นบทกำหนดโทษของผู้กระทำความผิดควรได้รับ

ผลักดันข้อกฎหมายเมาแล้วขับให้เข้มข้น

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า “อุบัติเหตุทางถนนจาก ‘ดื่มแล้วขับ’ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของไทย จากกองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ปี 2562-2566 มีผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บจากดื่มแล้วขับ 284,253 ราย เฉลี่ยปีละ 56,850 ราย มูลค่าความสูญเสีย 3.7 แสนล้านบาท โดยเฉพาะช่วงเทศกาลสงกรานต์มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต เฉลี่ยถึง 4,519 ราย ผลกระทบสำคัญคือ ‘เหยื่อจากผู้ดื่มแล้วขับ’ มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2567 มีเหยื่อจากผู้ดื่มแล้วขับ มากถึง 207 ราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ราย จำเป็นต้องเร่งมาตรการตรวจวัดแอลกอฮอล์ที่ครอบคลุม และลงโทษผู้กระทำความผิดโดยเฉพาะความผิดซ้ำ สสส. ร่วมกับภาคี สร้างเครือข่ายขับเคลื่อน ทั้งในระดับนโยบาย และรณรงค์ในพื้นที่ ผลักดันข้อกฎหมายดื่มแล้วขับ และกระทำผิดซ้ำ บูรณาการทำงานทุกภาคส่วนวิเคราะห์หาสาเหตุ ที่สามารถเพิ่มการบังคับใช้กฎหมายให้เข้มข้นได้ในอนาคต”

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม รองผู้จัดการกองทุน สสส.

สุรสิทธิ์ ศิลปงาม ผู้จัดการมูลนิธิเมาไม่ขับ เรียกร้องให้มีการเยียวยาผู้เสียหายจากการเมาแล้วขับอย่างเป็นธรรม และเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย กล่าวว่า “การแก้ปัญหาอุบัติเหตุดื่มแล้วขับต้องเสริมด้วยระบบการจัดการ และการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้น มีเจ้าภาพหลักที่ค่อยกำกับตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง จนเกิดสิ่งที่เรียกว่า ‘ความเกรงกลัวในการกระทำผิดกฎหมาย’ ประกอบด้วย 1. ไม่รอดในการจับกุมเมื่อกระทำผิด 2. ต้องถูกลงโทษหนักในทุกครั้งทุกกรณี ปัจจุบัน ‘กฎหมายเมาแล้วขับกระทำผิดซ้ำ’ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่มีการบังคับใช้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี และถึงเวลาที่ต้องยกมาตรการให้เข้มข้นขึ้น ด้วยระบบการจัดการและเทคโนโลยีที่มีความรวดเร็ว เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดื่มของสังคมไทย” 

นำระบบ Alcohol interlock คุมประพฤติ

ดร.ชนินทร์ จักรภพโยธิน วิทยาลัยพยาบาลศาสตร์อัครราชกุมารี ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ กล่าวว่า “ในการเพิ่มโทษหรือคุมประพฤติแก่ผู้ที่กระทำผิดซ้ำดื่มแล้วขับแล้วขับ ควรให้มีการนำระบบ Alcohol interlock เข้ามาเป็นเงื่อนไขการคุมประพฤติควบคู่กับการรอการลงโทษ เป็นเครื่องมือช่วยป้องกันไม่ให้ผู้ขับรถสตาร์ทรถได้ หากผู้ขับมีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายระดับที่สูงกว่าจะปลอดภัยในการขับรถ โดยผู้ขับขี่จะต้องเป่าลมเข้าไป ก่อนจะสตาร์ทรถทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นก็จะไม่สามารถขับรถได้ และนำอุปกรณ์ Alcohol interlock มาใช้กับผู้ขับขี่รถยนต์โดยสาร รถขนส่ง ทุกรูปแบบที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ ตลอดจนให้ทำความเข้าใจบทบัญญัติกฎหมายในเรื่องการกระทำผิดซ้ำดื่มแล้วขับ เจตนารมณ์ของกฎหมายมาตรานี้ และพิจารณาให้มีระบบเปิดเผยข้อมูลประวัติกระทำผิดซ้ำออนไลน์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบบุคคลได้” 

เข้มกฎหมาย-เร่งเพิ่มโทษการกระทำผิดซ้ำ

โกศลวัฒน์ อินทุจันทร์ยง สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า “สำนักงานคุ้มครองสิทธิ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือเหยื่อเมาแล้วขับในการเรียกร้องความเป็นธรรมตามคำสั่งศาล ซึ่งมีหน่วยงานอยู่ทั่วประเทศ พร้อมทำงานสนับสนุนอย่างเต็มที่ ในส่วนของกระบวนการในการพิจารณาคดีกระทำผิดซ้ำ ต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดกระบวนการที่ชัดเจน และไม่ปล่อยให้คนที่กระทำผิดซ้ำ หลุดออกจากการพิจารณาคดี และสิ่งสำคัญต้องเร่งสร้างเรื่องนี้ให้เป็น สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม”

พ.ต.ท.พชร์ ฐาปนดุลย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า “การบังคับใช้กฎหมายของตำรวจไทย เพิ่มความเข้มงวดการตรวจ และ จับกุมผู้กระทำผิดเมาแล้วขับมาอย่างต่อเนื่อง เห็นได้จากจำนวนคดีผู้กระทำผิดเมาแล้วขับที่สูงเพิ่มขึ้นทุกปี แต่อย่างไรก็ดี ก็ต้องมีการพัฒนาระบบการจัดการ เครื่องมือ อุปกรณ์ ระบบฐานข้อมูลเชื่อมโยง เพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และผู้ที่กระทำผิดเมาแล้วขับ ที่เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องเช่นกัน” 

พวงทิพย์ นวลขาว ผู้อำนวยการกองพัฒนาการคุมประพฤติ กรมคุมประพฤติ กล่าวว่า “ในแต่ละปี มีผู้ที่พ้นการคุมประพฤติกลับเข้ามาในระบบอยู่พอสมควร ถึงแม้จะไม่มาก เมื่อเทียบกับ จำนวนสัดส่วนของผู้ที่ถูกคุมประพฤติเมาแล้วขับทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี ตัวเลข ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่าต้องเร่งเพิ่มโทษและสร้างความเกรงกลัว ให้ไม่กล้ากระทำผิดซ้ำ ซึ่งกรมคุมประพฤติ พร้อมสนับสนุนด้านข้อมูลเพื่อให้ศาลนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินคดีกระทำผิดซ้ำ และขอเน้นย้ำว่า ดื่มแล้วขับ ถูกจับคุมประพฤติ”

ผู้เข้าร่วมสัมมนาต่างเห็นพ้องกันว่า การแก้ไขปัญหาเมาแล้วขับต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง เพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนนและลดอุบัติเหตุที่เกิดจากการเมาแล้วขับ

เสียงสะท้อนจากเหยื่อ

พล.ต.ท.วันไชย เอกพรพิชญ์ สมาชิกวุฒิสภา เสนอให้การบังคับใช้กฎหมายเมาแล้วขับกระทำผิดซ้ำของไทย ควรเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำอย่างรุนแรง 

เสียงสะท้อนจากเหยื่อ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุที่เกิดจากกรณีเมาแล้วขับ ต่างเรียกร้องให้มีการลงโทษที่รุนแรงขึ้นต่อผู้กระทำผิดซ้ำ และต้องการเห็นมาตรการป้องกันที่เข้มงวดกว่าเดิม รวมถึงการเยียวยา เพราะพวกเขาต้องการให้กฎหมายไทยเป็นอุปสรรคที่แท้จริงสำหรับผู้ที่คิดจะขับรถขณะเมาสุรา

ด้าน นิกร จำนง คณะกรรมการพิจารณาการศึกษาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนน รัฐสภา กล่าวภายหลังรับข้อเสนอนโยบายว่า “ฐานะเป็นตัวแทนรัฐสภา วันนี้มารับข้อเสนอกฎหมายเมาไม่ขับ โดยเรื่องนี้จะส่งไปทางคณะกรรมาธิการกฎหมายไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้นโยบายความปลอดภัยบนท้องถนนได้มีการเสนอเข้าไปในรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ขอให้รอติดตามการแถลงของรัฐบาลอีกครั้ง” 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า