SHARE

คัดลอกแล้ว

พื้นที่ชายแดนไทยมีสัญญาณตึงเครียดอีกรอบ จากคำสั่งของทหารไทยให้กองกำลัง ‘ว้าแดง’ ถอนกำลังออกจากพื้นที่ โดยชี้ว่าเป็นการตั้งกองกำลังล้ำดินแดนไทย

นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ทุกคนกำลังจับตาท่าทีและการแก้ปัญหาจากทุกฝ่าย ซึ่งถ้าย้อนความจริงๆ แล้ว นี่คือปัญหาสะสมที่ยังแก้ไม่ตกมาหลายสิบปี วันนี้ทูเดย์จะสรุปให้ฟังในรวดเดียว

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ที่ผ่านมา มีรายงานพื้นที่ชายแดนบริเวณดอยหนองหลวงและดอยหัวม้า อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอนตึงเครียด เนื่องจากพบทหารกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) เสริมกำลังเข้าเพิ่มเติมในพื้นที่

รายงานระบุว่า ฝ่ายไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ และได้ขอให้ว้าแดงถอนกำลังที่รุกล้ำเข้ามาในเขตไทย ระหว่างพบกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงว้าแดง ตั้งแต่วันที่ 18-19 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยขีดเส้นภายใน 30 วัน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 18 ธ.ค. นี้

สถานการณ์เริ่มตึงเครียด เพราะมีรายงานจากพื้นที่ว่า กองกำลังว้าแดงได้สั่งให้รวบรวมพิกัดที่ตั้งของฝ่ายไทย พร้อมรายงานให้กองบัญชาการกองทัพว้าโดยด่วน เช่นเดียวกับฝ่ายไทย ที่มีรายงานว่า กองพันปืนใหญ่ ในสังกัดกองทัพภาคที่ 3 สำรวจจุดวางปืนใหญ่สนาม เพื่อเตรียมสนับสนุนทหารราบ หากมีการเข้ายึดฐานที่มั่นของว้าแดงในเขตไทย

โฆษกกองทัพสหรัฐว้า ยืนยันในเวลาต่อมาว่า กองทัพไทยได้ออกคำสั่งให้ว้าแดงถอนทหารจริง แต่เรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องพูดคุยกันระหว่างผู้นำไทยและเมียนมา ขณะเดียวกันยังชี้ว่า ตามข้อมูลที่ทราบ ทหารไทยได้เสริมกำลังของตัวเอง ส่วนฝ่ายว้าแดงยังดำเนินการทุกอย่างตามปกติ

วันที่ 26 พ.ย. 2567 โฆษกกองทัพภาคที่ 3 ออกแถลงการณ์ชี้แจงข้อเท็จจริง โดยยืนยันว่าสถานการณ์ชายแดน จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน อยู่ในภาวะปกติ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งความสัมพันธ์ตามแนวชายแดนยังคงอยู่ในระดับที่ดีต่อกัน กองทัพภาคที่ 3 พร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติ และพี่น้องชาวไทยอย่างดีที่สุด

ความน่าสนใจคือ กองทัพภาคที่ 3 ยืนยันใช้ความร่วมมือทุกระดับ ตั้งแต่คณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่น ส่วนภูมิภาค และระดับสูง โดยย้ำแก้ปัญหาจะเริ่มจากเบาไปหาหนัก โดยการพูดคุยกับทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกันให้ปัญหายุติโดยเร็ว โดย กองทัพภาคที่ 3 มีความพร้อมในการปกป้องอธิปไตยในทุกพื้นที่

กองทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนในข้อ 2 ทุกระดับแล้ว ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการเจรจาระหว่างรัฐต่อรัฐ พร้อมให้ข้อมูลว่า บริเวณดังกล่าวยังไม่มีการสำรวจและปักปันเขตแดน

แม้จะเป็นความกังวลที่น่าห่วง เพราะอาจเป็นเรื่องรุกล้ำดินแดนไทย แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2566 กองทัพสหรัฐว้าปฏิเสธคำขอของฝ่ายไทยที่จะถอนกำลังออกจากพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา โดยฝ่ายว้ายืนยันว่า พื้นที่ตั้งกองกำลังว้าอยู่ในเขตของเมียนมา และฝ่ายไทยไม่มีสิทธิกดดันในเรื่องนี้

ถ้าดูจากท่าทีในอดีต จะเห็นได้ว่า การสั่งถอนกองกำลังว้าออกจากพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะฝ่ายว้าเคยปฏิเสธมาแล้ว ขณะเดียวกันพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นปัญหาสะสมมาตลอด ยิ่งทำให้เรื่องนี้ซับซ้อนมากขึ้น

ต้องอธิบายว่า ปัจจุบันว้ามีเขตปกครองอยู่ 2 พื้นที่หลักๆ คือ ‘เขตว้าเหนือ’ ซึ่งมีชายแดนติดกับจีน และ ‘เขตว้าใต้’ ซึ่งมีชายแดนติดกับไทย ตั้งแต่ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน

โดย ‘เขตว้าใต้’ ที่ติดกับไทย เดิมทีเป็นพื้นที่อิทธิพลของ ‘ขุนส่า’ ซึ่งถูกขนานนามว่าเป็นราชายาเสพติดรายใหญ่ จนกระทั่งในปี 2539 ขุนส่าประกาศวางมือ พื้นที่ดังกล่าวจึงตกมาอยู่ในการควบคุมของว้า

ที่ผ่านมา ว้ามีรายได้หลักจากการผลิตยาเสพติด โดยมีข้อมูลฐานการผลิตยาเสพติดอย่างเป็นระบบทั้งในเขตว้าเหนือและว้าใต้ นอกจากนี้ ว้ายังมีกองกำลังที่เรียกกันว่า ‘กองทัพสหรัฐว้า’ ที่เข้มแข็ง และมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลจีน จนทำให้ว้ากลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีบทบาทที่สุดในเมียนมา ที่แม้แต่รัฐบาลทหารเมียนมาก็แสดงท่าทีเกรงใจอยู่หลายครั้ง

ความเข้มแข็งของว้า และการมีฐานที่มั่นติดชายแดนไทย ทำให้มีรายงานการเผชิญหน้าระหว่างทหารไทยกับว้ามาตลอด เช่นในปี 2543 ทหารไทยกับกองกำลังว้าได้ปะทะกันบริเวณชายแดนไทยที่ จ.เชียงใหม่

ในปี 2559 ทางการไทยเคยร้องขอให้รัฐบาลเมียนมาเข้าช่วยโน้มน้าวให้กองทัพสหรัฐว้าถอนกำลังจากดินแดนของไทย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า ความพยายามของฝ่ายไทยล่าสุด โดยเฉพาะการหารือผ่านคณะกรรมการชายแดน ตามการเปิดเผยของกองทัพภาคที่ 3 จะมีส่วนช่วยคลี่คลายสถานการณ์ได้แค่ไหน เพราะอิทธิพลของว้าในพื้นที่ดูเป็นอิสระเหนือรัฐบาลทหารเมียนมา จนมีการตั้งข้อสังเกตว่า การเจรจาโดยตรงกับว้าหรือการขอความช่วยเหลือไปยังจีน ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญของว้า อาจมีความเป็นไปได้มากกว่า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า