SHARE

คัดลอกแล้ว

“มะเร็งลำไส้ใหญ่” ภัยร้ายที่มักพบเมื่อสาย…แพทย์ รพ.วิมุต ชี้ “ส่องกล้องลำไส้ใหญ่” จำเป็น ย้ำอายุ 45 ปีขึ้นไปควรตรวจคัดกรองแม้ไม่มีอาการ

ข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์  พบว่าทุกวันนี้มีคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่เฉลี่ย 15 คนต่อวันหรือปีละกว่า 5,476 คน และมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึงปีละ 15,000 คน ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงความอันตรายของ “มะเร็งลำไส้ใหญ่” โรคร้ายที่มักเจอตอนที่มีอาการหนักแล้ว เพราะบ่อยครั้งที่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว ก้อนเนื้อในลำไส้ก็ใหญ่มากจนทำให้ระบบขับถ่ายมีปัญหา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นอุจจาระเป็นเลือด วันนี้ พญ.สาวินี จิริยะสิน แพทย์ผู้ชำนาญการโรคระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ทางเดินอาหารและตับ รพ.วิมุต จะมาเล่าถึงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมแนะนำการปรับไลฟ์สไตล์เพื่อป้องกันโรคง่าย ๆ และย้ำเตือนถึงความสำคัญในการตรวจคัดกรองเพื่อหาสัญญาณของโรคก่อนพบเนื้อร้ายในวันที่สาย

ส่องปัจจัยเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติของเซลล์ในลำไส้ ทำให้เกิดติ่งเนื้อเล็ก ๆ ที่โตขึ้นจนทำให้ลำไส้ตีบ ส่งผลให้ระบบขับถ่ายผิดปกติ โดยมีหลายปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค ไม่ว่าจะเป็น พันธุกรรม เพราะหากคนในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อหรือแม่ มีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ เราจะเสี่ยงเป็นเช่นเดียวกัน ปัจจัยที่สองคืออายุ แน่นอนว่าเมื่ออายุมากขึ้น ความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้น ปัจจัยที่สามคืออาหารและไลฟ์สไตล์ เช่น ชอบกินอาหารแปรรูปบ่อย ๆ ไม่กินอาหารที่มีกากใย ไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ซึ่งเสี่ยงทำให้ท้องผูก รวมถึงพฤติกรรมอย่างการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ก็เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ปัจจัยสุดท้ายคือผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease – IBD) ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่เช่นกัน

ถ่ายเป็นเลือด สัญญาณของมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้ขับถ่ายผิดปกติ ดังนั้นอาการที่สังเกตได้ชัด ได้แก่ ท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระลำเล็กลงหรือเป็นเม็ดเล็กๆ คล้ายกระสุน ถ่ายเป็นเลือดเนื่องจากก้อนมะเร็งเกิดแผลและมีเลือดออก นอกจากนี้ยังมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คล้ายกับอาการของมะเร็งอื่น ๆ ร่วมด้วย พญ.สาวินี จิริยะสิน เล่าต่อว่า “สิ่งที่น่ากังวลคือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะแรกจะไม่แสดงอาการเลย กว่าเราจะรู้ตัวก็มักจะมีอาการหนัก เพราะก้อนเนื้อในลำไส้โตมากแล้ว หัวใจสำคัญในการป้องกันคือควรมาตรวจคัดกรองตั้งแต่ยังไม่มีอาการ โดยเฉพาะในผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไป”

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่ ตรวจคัดกรองมะเร็งได้แม่นยำที่สุด

ปัจจุบันมีวิธีตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่หลายวิธี ได้แก่ การตรวจเม็ดเลือดแดงแฝงในอุจจาระ (Fecal Occult Blood Test – FOBT) การตรวจเลือดหาค่าบ่งชี้มะเร็งลำไส้ CEA (Carcinoembryonic Antigen) และการตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography) แต่ทุกวิธีอาจมีความไวและความจำเพาะไม่มากพอที่จะตรวจหาติ่งเนื้อขนาดเล็กในลำไส้ใหญ่  หรือหากตรวจลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ พบติ่งเนื้อก็จำเป็นต้องส่องกล้องเพื่อตัดออกอยู่ดี

ดังนั้นการตรวจคัดกรองที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันคือการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ เพราะตรวจเจอติ่งเนื้อขนาดเล็กได้ และถ้าเจอติ่งเนื้อก็สามารถตัดออกได้ทันที พญ.สาวินี จิริยะสิน อธิบายเสริม “คนส่วนมากเวลาได้ยินถึงการส่องกล้องก็จะกังวลว่ามันจะเจ็บและอันตราย แต่จริง ๆ แล้วการส่องกล้องลำไส้ใหญ่นั้นปลอดภัยมาก ใช้เวลาไม่นาน ความเสี่ยงต่ำ และแม่นยำที่สุด การเตรียมตัวก่อนการส่องกล้องก็ไม่ยุ่งยาก แค่งดอาหารที่มีไฟเบอร์จำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช ทานยาระบาย และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อล้างลำไส้ใหญ่

เวลาตรวจก็มีการให้ยาระงับความรู้สึกทำให้ไม่เจ็บ และไม่รู้สึกตัวขณะที่ส่องกล้อง หลังส่องกล้องอาจมีอาการแน่นท้องได้ เนื่องจากมีการเป่าลมเข้าไประหว่างส่องกล้อง ซึ่งอาการจะหายเองภายใน 24 ชั่วโมง การตรวจใช้เวลาประมาณ 30 นาที ระหว่างการตรวจหากพบติ่งเนื้อระหว่างการตรวจ แพทย์สามารถตัดออกและนำไปวินิจฉัยต่อได้ทันที เครื่องมือทางการแพทย์ปัจจุบันมีความทันสมัย อยากให้ทุกคนเข้าใจว่าการส่องกล้องไม่น่ากลัว ไม่เจ็บ และช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง”

“มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคอันตรายที่สังเกตได้ยาก เพราะกว่าจะมีอาการก้อนเนื้อมะเร็งก็โตมากแล้ว ส่วนคนที่อยากลดความเสี่ยงของมะเร็งลำไส้ใหญ่ ก็ทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับไลฟ์สไตล์ เริ่มจากทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น งดอาหารแปรรูปซึ่งอาจมีสารก่อมะเร็ง หันมาออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่เพิ่มการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ที่สำคัญต้องมาตรวจสุขภาพอยู่เป็นประจำ ส่วนใครที่อายุ 45 ปีขึ้นไป ก็ควรมาตรวจคัดกรองด้วยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แม้จะยังไม่มีอาการ หากปกติแนะนำตรวจคัดกรองทุก 10 ปี

สำหรับคนที่มีญาติสายตรงลำดับหนึ่ง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคนี้ยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น โดยแนะนำมาส่องกล้องตั้งแต่อายุ 40 ปี หรือ 10 ปีก่อนหน้าที่ญาติอายุน้อยที่สุดได้รับการวินิจฉัย เช่น ถ้าพ่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุ 45 ปี ลูกควรส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ตอนอายุ 35 ปี  อยากย้ำว่าส่องกล้องไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด และการพบเจอโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ก็จะได้รักษาทันก่อนจะสายเกินแก้” พญ.สาวินี จิริยะสิน กล่าวทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า